ค้นหาสินค้า

มะเกลือ (Ebony tree)

ร้าน วรากรสมุนไพร
ต้นกาจะ มะเกลือกา | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ต้นกาจะหรือมะเกลือกา ใบอ่อนสวยมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros gracilis Fletcher
เป็นพืชในวงศ์ EBENACEAE
ชื่ออื่นๆ คือ กาจะ น้ำจ้อน มะหวีด, มะเกียกา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
กาจะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กที่มีใบสวยงามมาก เปลือกลำต้นมีสีเทาค่อนข้างเรียบ แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่มทึบรูปกรวย มีความสูงของลำต้นประมาณ 5 เมตร ปลายกิ่งมักลู่ลงมา
ใบ
ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันตามกิ่งก้านที่ปลายยอด ลักษณะใบเป็นรูปใบหอกแกมขอบขนาน แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเป็นมัน ขอบใบเรียบ โคนใบสอบแคบ ปลายใบเรียวทู่ มีขนาดความกว้างของใบประมาณ 1-3 ซม. ยาวประมาณ 3-10 ซม. ก้านใบสั้น
ดอก
เป็นดอกสีแดงขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น โดยดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อขนาดเล็กตามซอกใบ มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 4 กลีบ มีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกประมาณ 14-18 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ให้ดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ผล
เป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลประมาณ 2-2.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง และกลายเป็นผลแห้งเมื่อแก่
ผลสุกใช้รับประทานได้
พบในป่าดิบแล้ง ใกล้ภูเขาหินปูน ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย เป็นพืชหายากและเป็นพืชเฉพาะถิ่น

ราคาต้นละ 300.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน

แอดไลน์

ต้นมะเกลือ | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ต้นมะเกลือ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ใครมีที่เยอะๆต้นนี้น่าปลูกไว้ ญี่ปุ่นรับซื้อผลไปย้อมผ้าเป็นจำนวนมาก
*ไม่สนับสนุนให้นำไปใช้ถ่ายพยาธิ เนื่องจากในยุคปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง อาจทำให้ตาบอดถาวรตลอดชีวิต
มะเกลือ
ชื่ออื่น เกลือ มักเกลือ หมักเกลือ ผีเผา ผีผา มะเกีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
ชื่อวงศ์ Ebenaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง เมื่อแห้งสีออกดำเงิน เส้นใบข้าง 10-15 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน แยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกรวมเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ ประมาณ 3 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำปลายแยก 4 กลีบ โค้งไปข้างหลัง หลอดกลีบดอกกลม 6-8 มิลลิเมตร แยกลึกทั้งสองด้าน ของหลอดกลีบ เกสรตัวผู้มี 14-24 อัน เป็นหมัน 8-10 อัน ไม่มีขน ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยวคล้ายดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีขนนุ่มปกคลุม สีเหลือง ก้านดอกยาว 1-3 มิลลิเมตร ก้านเกสรตัวเมีย 4 แฉก รังไข่มีขน ผลสด รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง กลีบจุกผลมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดที่ขั้วของผล ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมดำ มีเมล็ด 2-3 เมล็ด ชั้นกลีบเลี้ยงขนาด 5 มิลลิเมตร โค้งไปด้านหลัง พบทั่วไปในที่กึ่งโล่งแจ้ง ในป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคม
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ผลสดสีเขียว รสขื่นเฝื่อนเบื่อฝาด ขับพยาธิในไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัย ให้นำ ผลดิบ สด ไม้ช้ำ ไม่ดำ กรณีใช้ถ่ายพยาธิ ใช้เท่าจำนวนอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล โดยนำผลมะเกลือมะโขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำมาผสมกับหัวกะทิสด ดื่มก่อนอาหารเช้าทันที เตรียมใหม่ๆดื่ม ห้ามเก็บไว้จะเกิดพิษ หาก 3 ชั่วโมง ยังไม่ถ่าย ให้ใช้ยาถ่ายตาม (แต่ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี, สตรีตั้งครรภ์, ผู้ป่วย, อย่าใช้มากเกินขนาด, คนที่มีอาการแพ้อาจทำให้ท้องเสีย, มีอาการตามัว ถ้ารุนแรงทำให้ตาบอดได้ ควรนำส่งแพทย์ทันที) ผลสุกสีดำ ใช้ย้อมผ้า ย้อมแห ไม่นำมารับประทาน เพราะมีพิษ ทำให้ตาบอดได้ ราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ ลำต้น แก้ซางตานขโมย แก้กระษัย ถ่ายพยาธิไส้เดือน ต้มน้ำอาบรักษาโรคดีซ่าน เมล็ด รสเมามัน ขับพยาธิในท้อง เปลือกต้น รสฝาดเมา เป็นยากันบูด แก้กระษัย ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง แก้เบื่ออาหาร ขับเสมหะ แก้พิษ ทั้งต้น รสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย แก่น รสฝาดเค็มขม เมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้ลม แก้ฝีในท้อง แก้ซางตานขโมย
องค์ประกอบทางเคมี
พบสาร diospyrol diglucoside ซึ่งเป็นสารฟีนอลิค ในกลุ่ม naphthalene เนื่องจากโครงสร้างของ diospyrol คล้ายคลึงกับสาร napthol ซึ่งเป็นสารมีพิษต่อประสาทตา การกินมะเกลือมากเกินไป หรือหากสารถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการอักเสบของเรตินาได้
ประโยชน์
ใช้ย้อมผ้า ส่วนที่ใช้เตรียมสี ผลแก่
สารสำคัญ
ในผลมะเกลือมีสารชื่อ ไดออสไพรอลไดกลูโคไซด์ (diospyrol-diglucoside) ซึ่งจะถูกอ๊อกซิไดซ์ได้ง่าย กลายเป็นสารไดออสไพรอล (diospyrol) ซึ่งมีสีดำย้อมผ้าติดทนดี
สีดำจากลูกมะเกลือใช้ย้อมผ้าและแพรให้มีสีดำสนิท
เมื่อย้อมหลายหนจนสีติดดีแล้ว สีจะไม่ตก ยิ่งถูกแดดยิ่งดำ ผ้าที่ย้อมจะมีคุณภาพดี นอกจากนั้นยังทำให้เนื้อผ้าหนาขึ้น เพราะในผลมะเกลือมีสารรสฝาด ผ้าแพรที่ย้อมด้วยมะเกลือจะได้เนื้อแพรที่ดำเป็นมัน
วิธีย้อม
นำผลมะเกลือที่แก่จัดมาตำ เทลงในภาชนะที่จะใช้ย้อม ต้มกับ นํ้าให้เดือด นำผ้าที่จะย้อมชุบน้ำบิดให้แห้งใส่ลงไปต้มนาน 10-15 นาที นำผ้าขึ้นผึ่งให้แห้ง บางคนนิยมใช้ต้นกระเม็งตำรวมกับผลมะเกลือ ใช้ย้อมผ้าจะทำให้ผ้าที่ย้อมได้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ราคาต้นละ 150.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน

แอดไลน์

มะเกลือ | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ช่องทางการติดต่อร้านวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0616498997
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
มะเกลือ (Ebony tree) เป็นจัดเป็นไม้ป่ายืนต้น ที่ในอดีตนิยมนำผลมาคั้นน้ำดื่มเพื่อใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และนำผลสุก รวมถึงเปลือกมาใช้ย้อมผ้าซึ่งให้สีดำ นอกจากนั้น เนื้อไม้ที่มีสำดำ ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นเครื่องเรือนได้อีกด้วย
ไม่แนะนำให้ใช้มะเกลือเป็นยาถ่ายพยาธิถ้าไม่มีความรู้อย่างพอเพียงอาจทำให้ตาบอดถาวรได้ค่ะ

• วงศ์ : Ebenaceae
• ถิ่นกำเนิด : ไทย และประเทศเพื่อนบ้าน
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
• ชื่อสามัญ :
– Ebony tree
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– มะเกลือ (ทุกภาค)
ภาคเหนือ และอีสาน
– หมากเกลือ
– หมากเกีย
– มะเกีย
– ผีเผา (เหนือ)
ภาคใต้
– เกลือ
การแพร่กระจาย
มะเกลือ เป็นพืชท้องถิ่นไทย โดยมีมะเกลือเลือดที่จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย พบได้ในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ และพบมากในภาคกลาง
ต้นมะเกลือในปัจจุบันเป็นไม้ที่หายาก ส่วนมากมักพบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือตามที่สาธารณะ หรือริมคลองต่างๆ อาจเนื่องด้วยผลมีรสขมฝาด ซึ่งเป็นผลไม้ที่สัตว์ต่างๆไม่กินกัน จึงไม่มีการแพร่กระจายมากเหมือนไม้ผลชนิดอื่น อีกทั้ง เป็นไม้ที่คนไม่นิยมปลูก ซึ่งอาจเนื่องจากผลสุก และเนื้อไม้มีสีดำ ซึ่งเป็นสีที่ไม่เป็นมงคล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะเกลือจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร มีทรงพุ่มใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งสูงใกล้เรือนยอด เปลือกลำต้นมีสีดำอมเทา แตกเป็นแผ่นสะเก็ด ส่วนเนื้อไม้ดิบมีสีดำสนิท เมื่อแห้งจะมีสีดำอมเทาหรือสีดำเงิน
ใบ
ต้นมะเกลือเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แทงออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณปลายกิ่งแขนง โดยออกเรียงสลับข้างกัน ใบมะเกลือมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีเขียวสด มีก้านใบยาว 0.55-1 เซนติเมตร โคนใบ และปลายใบมน แผ่นใบเรียบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง และใบด้านบนเป็นมัน ใบมีขนาด 2.5-4.5 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีเขียวสด และมีขนปกคลุม เมื่อแก่จนร่วงจะมีสีดำ ใบมีเส้นใบ 10-15 คู่
ดอก
ดอกมะเกลือออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อมีดอก 3-5 ดอก ในช่อดอกมีดอกเพศผู้ และเพศเมียแยกดอกกัน ดอกมีรูปถ้วยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน มีกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแผ่นเป็นรูปจาน และยาวเท่ากัน โดยดอกเพศผู้มีช่อดอกสั้นๆ ดอกมีก้านยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม ภายในมีเกสรตัวผู้ 14 – 24 อัน มีรังไข่เป็นหมัน ส่วนดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 1-3 มิลลิเมตร มีกลีบรอง และกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่มีขนาดดอกใหญ่กว่า ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน แต่จะฝ่อ ไม่สมบูรณ์ แต่มีรังไข่สมบูรณ์ ไม่ฝ่อ รังไข่แบ่งเป็น 8 ช่อง โดยมะเกลือจะเริ่มออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ผล และเมล็ด
ผลมะเกลือมีรูปทรงกลม คล้ายผลมังคุด แต่เล็กกว่ามาก มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียวสด และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง และสุกมีสีเหลืองอมดำ และสุกจัดเป็นสีดำสนิท ถัดมาด้านในเป็นเนื้อผล โดยเนื้อผลอ่อนมีสีขาว หากบีบหรือผ่าจะมียางสีขาวขุ่นไหลออกมา และเมื่อสุกผลจะมีสำดำ ถัดมาในสุดเป็นเมล็ด 6-8 เมล็ด โดยเมล็ดจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดที่มีสีขาวนวล คล้ายเนื้อของลูกชิด เนื้อนี้มีรสหวานอมฝาด แต่นุ่ม สามารถรับประทานได้ ส่วนด้านในเนื้อหุ้มจะเป็นเมล็ดที่มี ทั้งนี้ ผลมะเกลือ 1 ปี จะออกผลครั้งเดียว และผลจะสุกเป็นสีดำในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 4-8 กรัม ซึ่งหากเก็บผลห่ามมาจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีดำภายใน 5-7 วัน
ประโยชน์มะเกลือ
1. ผลมะเกลือนำมาต้มน้ำดื่มหรือตากแห้งก่อนนำมาบดรับประทาน ช่วยในการขับพยาธิชนิดต่างๆได้ดี ทั้งใช้ในคน และสัตว์เลี้ยง
2. เนื้อหุ้มเมล็ดภายใน มีลักษณะคล้ายวุ้นใส หรือ คล้ายลูกชิด สามารถรับประทานได้ มีรสหวาน และนุ่ม
3. ทุกส่วนใช้เป็นสมุนไพร โดยเฉพาะผลที่นิยมใช้ถ่ายพยาธิ และเป็นยาระบาย
4. มะเกลือเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีสีดำทั่วแก่น นิยมใช้ทำเครื่องเรือนตกแต่งบ้าน เครื่องดินตรี หรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โดยมักทำเป็นชิ้นฝังลงไม้อื่นเพื่อให้เกิดลวดลายที่ต่างกัน
5. เปลือกลำต้น และผลมะเกลือนำมาต้มย้อมผ้า ย้อมแห ซึ่งให้สีดำอมเทาหรือสีดำอ่อน ส่วนใบนำมาย้อมผ้าได้เช่นกันให้สีเขียวขี้ม้า
6. เนื้อไม้ผ่าเป็นซีกเล็กๆ คนโบราณนิยมใช้ใส่ในถังน้ำตาลสด น้ำตาลสดจากมะพร้าวเพื่อป้องกันน้ำตาลบูด ป้องกันกลิ่นบูดเน่า ช่วยรักษาความสดของน้ำตาลได้นานขึ้น
7. เปลือกต้น นำมาย่างไฟอ่อนๆจนออกเหลือง ก่อนใส่ในถังน้ำตาลสด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการหมักเป็นแอลกอฮอล์ภายใน 1 วัน เรียกว่าน้ำตาลสดชนิดนี้ว่า นํ้าตาลเมา
8. ผลมะเกลือนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้า สกัดเป็นสีผสมอาหาร
9. ผลมะเกลือนำมาตากแห้งหรือใช้ผลสุกบีบผสมกับยาสระผมสำหรับสระผม หรือ ใช้นวดผมโดยตรง ซึ่งช่วยให้ผมดก และมีสีดำขึ้น
10. ผลมะเกลือดิบนำมาบีบให้แตก ก่อนนำมาขัดโลหะ ทำให้โลหะมันเงา
11. ใบมะเกลือตัดจากกิ่งเป็นกำใหญ่นำมาขัดถูพื้น ช่วยให้พื้นไม้มันเงา
12. กิ่งนำมาทำฟืนหรือก่อกองไฟ
13. ต้นมะเกลือตามป่ามีประโยชน์ในการเป็นอาหารต่อสัตว์ป่า
สาระสำคัญที่พบ
ผลมะเกลือ
– Tannin
– Diospyrol (C22H18O4 เป็นสารที่ถูกออกซิไดซ์ง่าย และเมื่อถูกออกซิไดซ์จะเปลี่ยนเป็นสีดำ)
– Diospyroquinone
– Sterols
– Organic acids
– Aphrogenic principle
– Hydroquinone principle
– Invertine
– Emulsine
สรรพคุณมะเกลือ
สรรพคุณเด่น และเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ การใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ซึ่งสามารถถ่ายพยาธิได้หลายชนิด ได้แก่
– พยาธิเส้นด้าย
– พยาธิไส้เดือน
– พยาธิใบไม้ในลำไส้
– พยาธิตัวตืด
– พยาธิปากขอ
– พยาธิแส้ม้า
– ฯลฯ
สรรพคุณทั่วไป
ผล
– ผลดิบหรือผลสุกนำมาตากแห้ง แล้วบดเป็นผงชงน้ำดื่มหรือนำผลดิบมาคั้นน้ำดื่ม สำหรับใช้ถ่ายพยาธิ ซึ่งได้ผลดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ควรใช้ประมาณ 3-5 ผล เท่านั้น
– ใช้เป็นยาระบาย ช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น
– ผลสุกช่วยเพิ่มความดก และทำให้ผมดำขึ้น
– รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
– รักษาโรคผิวหนังบนศรีษะ ใช้สระร่วมกับยาสระผม
ใบ
– ใช้ขับพยาธิ
– แก้ริดสีดวง
– แก้ซานตานขโมยในเด็ก
– แก้กษัย ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ ลดอาการเจ็บคอ
– รักษาโรคเบาหวาน
– รักษาโรคท้องร่วง
– ช่วยรักษาแผลด้วยการนำมาบดประคบแผล
เปลือกลำต้น และแก่น
– แก้อาการของเด็กเป็นซางตานขโมย
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
– แก้โรคกระษัย
– ช่วยถ่ายพยาธิ
– ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ
– ช่วยขับลมในระบบทางเดินอาหาร
– รักษาโรคฝีในท้อง
ราก
– นำมาต้มดื่ม แก้อาการท้องเสีย
– ช่วยในการขับลม
– ช่วยแก้อาการอาเจียน
– แก้ปวดศรีษะ หน้ามืดตาลาย
– รักษาโรริดสีดวง
ความเป็นพิษของมะเกลือ
การศึกษาให้ผลมะเกลือกับหนู และกระต่าย ขนาด 20 เท่า ของ 40 กรัม/น้ำหนัก 1 พบว่า สัตว์ทดลองทั้งสองมีการตายเกิดขึ้น
การศึกษาให้น้ำคั้นผลมะเกลือต่อหนูทดลอง พบว่า ค่าความเข้มข้นที่ทำให้สัตว์ตายมากกว่าครึ่งมีค่าเท่ากับ 22-22.5 เท่าของน้ำหนักตัว และหลังจากผ่าซาก พบว่า อวัยวะบางส่วน ได้แก่ ท่อไต ผนังลำไส้ และเซลล์ตับบาง มีคราบสีน้ำตาลตกค้างอยู่
ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะสำหรับผลมะเกลือ
ผลมะเกลือมีสาร diospyrol diglucoside ที่นอกจากจะออกฤทธิ์กำจัดพยาธิได้แล้ว ยังออกฤทธิ์ทำให้ประสาทตาอักเสบ และตาบอดได้ ดังนั้น การรับประทานผลมะเกลือ จึงต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้ ควรใช้ผลมะเกลือดิบสำหรับใช้เป็นยาแทนผลมะเกลือสุกที่มีสำดำ เพราะมีปริมาณ diospyrol น้อยกว่า แต่การออกฤทธิ์กำจัดพยาธิ และออกฤทธิ์ทางยาด้านอื่นยังคงมีอยู่ เพราะฤทธิ์กำจัดพยาธิไม่ได้มาจากสาร diospyrol เพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานผลข้างเคียงจากมะเกลือที่มีหญิงรายหนึ่งรับประทานน้ำคั้นจากผลมะเกลือจำนวน 20 ผล ร่วมกับน้ำกะทิ ผลปรากฏว่า ตาทั้งสองข้างเกิดบอด ภายหลังการรับประทานภายใน 6 สัปดาห์
ผลข้างเคียงอื่นๆ จากการรับประทานผลมะเกลือ คือ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ ท้องเดิน คลื่นไส้ และอาเจียน แต่อาการไม่รุนแรง
การใช้ผลมะเกลือสดเพื่อถ่ายพยาธิในสัตว์เลี้ยง ไม่ควรใช้เกิน 20 เท่า ของน้ำหนักตัว เพราะอาจทำให้สัตว์ตาบอดได้ และควรให้กินน้ำมันพืชหรือผสมน้ำมันพืชร่วมด้วย เพื่อช่วยการขับถ่ายให้สะดวกขึ้น
สำหรับการใช้มะเกลือในคนเช่นกัน ควรรับประทานน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว ในปริมาณ 1-2 ช้อน ตามหลังในเวลา 3-5 ชั่วโมง ที่รับประทานมะเกลือไปแล้ว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
ห้ามใช้ในตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้แท้งหรือทารกตายในครรภ์ได้
การใช้ในเด็ก ควรใช้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7-13 ปี หากอายุต่ำกว่านี้ ห้ามใช้ และให้ใช้ไม่เกิน ครึ่งผล หรือ 1 ผล เท่านั้น หากอายุมากกว่า 13 ปี จนถึงผู้ใหญ่ ให้ใช้ 2-5 ผล ลดลั่นตามอายุ
ผลมะเกลือ ควรใช้ผลดิบเท่านั้น ไม่ควรใช้ผลสุก เพราะผลดิบมีสารที่ทำให้เยื่อตาอักเสบน้อยกว่าผลสุก
หากรับประทานในจำนวนมากเกินไป 10-20 ด้วยความตั้งใจหรือไม่รู้ จนรู้สึกได้ถึงอาการปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะให้รีบทำอาเจียนทันที และหากรู้สึกตาพร่ามัว มีอาการแสบตา ให้รีบไปหาแพทย์ทันที
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาใช้สมุนไพรแห้งในไก่พื้นเมือง ที่อัตราส่วน 1:1:1:1 ของมะเกลือผสมกับสมุนไพรอีก 3 ชนิด และใช้ยาปิเปอราซินขนาด 30 กรัม เป็นกลุ่มค

ราคาต้นละ 200.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน

แอดไลน์