ค้นหาสินค้า

มะเกลือ

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

มะเกลือ

รหัส:
265893
ราคา:
200.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ช่องทางการติดต่อร้านวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0616498997
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
มะเกลือ (Ebony tree) เป็นจัดเป็นไม้ป่ายืนต้น ที่ในอดีตนิยมนำผลมาคั้นน้ำดื่มเพื่อใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และนำผลสุก รวมถึงเปลือกมาใช้ย้อมผ้าซึ่งให้สีดำ นอกจากนั้น เนื้อไม้ที่มีสำดำ ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นเครื่องเรือนได้อีกด้วย
ไม่แนะนำให้ใช้มะเกลือเป็นยาถ่ายพยาธิถ้าไม่มีความรู้อย่างพอเพียงอาจทำให้ตาบอดถาวรได้ค่ะ

• วงศ์ : Ebenaceae
• ถิ่นกำเนิด : ไทย และประเทศเพื่อนบ้าน
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
• ชื่อสามัญ :
– Ebony tree
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– มะเกลือ (ทุกภาค)
ภาคเหนือ และอีสาน
– หมากเกลือ
– หมากเกีย
– มะเกีย
– ผีเผา (เหนือ)
ภาคใต้
– เกลือ
การแพร่กระจาย
มะเกลือ เป็นพืชท้องถิ่นไทย โดยมีมะเกลือเลือดที่จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย พบได้ในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ และพบมากในภาคกลาง
ต้นมะเกลือในปัจจุบันเป็นไม้ที่หายาก ส่วนมากมักพบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือตามที่สาธารณะ หรือริมคลองต่างๆ อาจเนื่องด้วยผลมีรสขมฝาด ซึ่งเป็นผลไม้ที่สัตว์ต่างๆไม่กินกัน จึงไม่มีการแพร่กระจายมากเหมือนไม้ผลชนิดอื่น อีกทั้ง เป็นไม้ที่คนไม่นิยมปลูก ซึ่งอาจเนื่องจากผลสุก และเนื้อไม้มีสีดำ ซึ่งเป็นสีที่ไม่เป็นมงคล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะเกลือจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร มีทรงพุ่มใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งสูงใกล้เรือนยอด เปลือกลำต้นมีสีดำอมเทา แตกเป็นแผ่นสะเก็ด ส่วนเนื้อไม้ดิบมีสีดำสนิท เมื่อแห้งจะมีสีดำอมเทาหรือสีดำเงิน
ใบ
ต้นมะเกลือเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แทงออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณปลายกิ่งแขนง โดยออกเรียงสลับข้างกัน ใบมะเกลือมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีเขียวสด มีก้านใบยาว 0.55-1 เซนติเมตร โคนใบ และปลายใบมน แผ่นใบเรียบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง และใบด้านบนเป็นมัน ใบมีขนาด 2.5-4.5 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีเขียวสด และมีขนปกคลุม เมื่อแก่จนร่วงจะมีสีดำ ใบมีเส้นใบ 10-15 คู่
ดอก
ดอกมะเกลือออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อมีดอก 3-5 ดอก ในช่อดอกมีดอกเพศผู้ และเพศเมียแยกดอกกัน ดอกมีรูปถ้วยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน มีกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแผ่นเป็นรูปจาน และยาวเท่ากัน โดยดอกเพศผู้มีช่อดอกสั้นๆ ดอกมีก้านยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม ภายในมีเกสรตัวผู้ 14 – 24 อัน มีรังไข่เป็นหมัน ส่วนดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 1-3 มิลลิเมตร มีกลีบรอง และกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่มีขนาดดอกใหญ่กว่า ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน แต่จะฝ่อ ไม่สมบูรณ์ แต่มีรังไข่สมบูรณ์ ไม่ฝ่อ รังไข่แบ่งเป็น 8 ช่อง โดยมะเกลือจะเริ่มออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ผล และเมล็ด
ผลมะเกลือมีรูปทรงกลม คล้ายผลมังคุด แต่เล็กกว่ามาก มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียวสด และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง และสุกมีสีเหลืองอมดำ และสุกจัดเป็นสีดำสนิท ถัดมาด้านในเป็นเนื้อผล โดยเนื้อผลอ่อนมีสีขาว หากบีบหรือผ่าจะมียางสีขาวขุ่นไหลออกมา และเมื่อสุกผลจะมีสำดำ ถัดมาในสุดเป็นเมล็ด 6-8 เมล็ด โดยเมล็ดจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดที่มีสีขาวนวล คล้ายเนื้อของลูกชิด เนื้อนี้มีรสหวานอมฝาด แต่นุ่ม สามารถรับประทานได้ ส่วนด้านในเนื้อหุ้มจะเป็นเมล็ดที่มี ทั้งนี้ ผลมะเกลือ 1 ปี จะออกผลครั้งเดียว และผลจะสุกเป็นสีดำในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 4-8 กรัม ซึ่งหากเก็บผลห่ามมาจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีดำภายใน 5-7 วัน
ประโยชน์มะเกลือ
1. ผลมะเกลือนำมาต้มน้ำดื่มหรือตากแห้งก่อนนำมาบดรับประทาน ช่วยในการขับพยาธิชนิดต่างๆได้ดี ทั้งใช้ในคน และสัตว์เลี้ยง
2. เนื้อหุ้มเมล็ดภายใน มีลักษณะคล้ายวุ้นใส หรือ คล้ายลูกชิด สามารถรับประทานได้ มีรสหวาน และนุ่ม
3. ทุกส่วนใช้เป็นสมุนไพร โดยเฉพาะผลที่นิยมใช้ถ่ายพยาธิ และเป็นยาระบาย
4. มะเกลือเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีสีดำทั่วแก่น นิยมใช้ทำเครื่องเรือนตกแต่งบ้าน เครื่องดินตรี หรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โดยมักทำเป็นชิ้นฝังลงไม้อื่นเพื่อให้เกิดลวดลายที่ต่างกัน
5. เปลือกลำต้น และผลมะเกลือนำมาต้มย้อมผ้า ย้อมแห ซึ่งให้สีดำอมเทาหรือสีดำอ่อน ส่วนใบนำมาย้อมผ้าได้เช่นกันให้สีเขียวขี้ม้า
6. เนื้อไม้ผ่าเป็นซีกเล็กๆ คนโบราณนิยมใช้ใส่ในถังน้ำตาลสด น้ำตาลสดจากมะพร้าวเพื่อป้องกันน้ำตาลบูด ป้องกันกลิ่นบูดเน่า ช่วยรักษาความสดของน้ำตาลได้นานขึ้น
7. เปลือกต้น นำมาย่างไฟอ่อนๆจนออกเหลือง ก่อนใส่ในถังน้ำตาลสด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการหมักเป็นแอลกอฮอล์ภายใน 1 วัน เรียกว่าน้ำตาลสดชนิดนี้ว่า นํ้าตาลเมา
8. ผลมะเกลือนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้า สกัดเป็นสีผสมอาหาร
9. ผลมะเกลือนำมาตากแห้งหรือใช้ผลสุกบีบผสมกับยาสระผมสำหรับสระผม หรือ ใช้นวดผมโดยตรง ซึ่งช่วยให้ผมดก และมีสีดำขึ้น
10. ผลมะเกลือดิบนำมาบีบให้แตก ก่อนนำมาขัดโลหะ ทำให้โลหะมันเงา
11. ใบมะเกลือตัดจากกิ่งเป็นกำใหญ่นำมาขัดถูพื้น ช่วยให้พื้นไม้มันเงา
12. กิ่งนำมาทำฟืนหรือก่อกองไฟ
13. ต้นมะเกลือตามป่ามีประโยชน์ในการเป็นอาหารต่อสัตว์ป่า
สาระสำคัญที่พบ
ผลมะเกลือ
– Tannin
– Diospyrol (C22H18O4 เป็นสารที่ถูกออกซิไดซ์ง่าย และเมื่อถูกออกซิไดซ์จะเปลี่ยนเป็นสีดำ)
– Diospyroquinone
– Sterols
– Organic acids
– Aphrogenic principle
– Hydroquinone principle
– Invertine
– Emulsine
สรรพคุณมะเกลือ
สรรพคุณเด่น และเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ การใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ซึ่งสามารถถ่ายพยาธิได้หลายชนิด ได้แก่
– พยาธิเส้นด้าย
– พยาธิไส้เดือน
– พยาธิใบไม้ในลำไส้
– พยาธิตัวตืด
– พยาธิปากขอ
– พยาธิแส้ม้า
– ฯลฯ
สรรพคุณทั่วไป
ผล
– ผลดิบหรือผลสุกนำมาตากแห้ง แล้วบดเป็นผงชงน้ำดื่มหรือนำผลดิบมาคั้นน้ำดื่ม สำหรับใช้ถ่ายพยาธิ ซึ่งได้ผลดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ควรใช้ประมาณ 3-5 ผล เท่านั้น
– ใช้เป็นยาระบาย ช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น
– ผลสุกช่วยเพิ่มความดก และทำให้ผมดำขึ้น
– รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
– รักษาโรคผิวหนังบนศรีษะ ใช้สระร่วมกับยาสระผม
ใบ
– ใช้ขับพยาธิ
– แก้ริดสีดวง
– แก้ซานตานขโมยในเด็ก
– แก้กษัย ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ ลดอาการเจ็บคอ
– รักษาโรคเบาหวาน
– รักษาโรคท้องร่วง
– ช่วยรักษาแผลด้วยการนำมาบดประคบแผล
เปลือกลำต้น และแก่น
– แก้อาการของเด็กเป็นซางตานขโมย
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
– แก้โรคกระษัย
– ช่วยถ่ายพยาธิ
– ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ
– ช่วยขับลมในระบบทางเดินอาหาร
– รักษาโรคฝีในท้อง
ราก
– นำมาต้มดื่ม แก้อาการท้องเสีย
– ช่วยในการขับลม
– ช่วยแก้อาการอาเจียน
– แก้ปวดศรีษะ หน้ามืดตาลาย
– รักษาโรริดสีดวง
ความเป็นพิษของมะเกลือ
การศึกษาให้ผลมะเกลือกับหนู และกระต่าย ขนาด 20 เท่า ของ 40 กรัม/น้ำหนัก 1 พบว่า สัตว์ทดลองทั้งสองมีการตายเกิดขึ้น
การศึกษาให้น้ำคั้นผลมะเกลือต่อหนูทดลอง พบว่า ค่าความเข้มข้นที่ทำให้สัตว์ตายมากกว่าครึ่งมีค่าเท่ากับ 22-22.5 เท่าของน้ำหนักตัว และหลังจากผ่าซาก พบว่า อวัยวะบางส่วน ได้แก่ ท่อไต ผนังลำไส้ และเซลล์ตับบาง มีคราบสีน้ำตาลตกค้างอยู่
ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะสำหรับผลมะเกลือ
ผลมะเกลือมีสาร diospyrol diglucoside ที่นอกจากจะออกฤทธิ์กำจัดพยาธิได้แล้ว ยังออกฤทธิ์ทำให้ประสาทตาอักเสบ และตาบอดได้ ดังนั้น การรับประทานผลมะเกลือ จึงต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้ ควรใช้ผลมะเกลือดิบสำหรับใช้เป็นยาแทนผลมะเกลือสุกที่มีสำดำ เพราะมีปริมาณ diospyrol น้อยกว่า แต่การออกฤทธิ์กำจัดพยาธิ และออกฤทธิ์ทางยาด้านอื่นยังคงมีอยู่ เพราะฤทธิ์กำจัดพยาธิไม่ได้มาจากสาร diospyrol เพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานผลข้างเคียงจากมะเกลือที่มีหญิงรายหนึ่งรับประทานน้ำคั้นจากผลมะเกลือจำนวน 20 ผล ร่วมกับน้ำกะทิ ผลปรากฏว่า ตาทั้งสองข้างเกิดบอด ภายหลังการรับประทานภายใน 6 สัปดาห์
ผลข้างเคียงอื่นๆ จากการรับประทานผลมะเกลือ คือ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ ท้องเดิน คลื่นไส้ และอาเจียน แต่อาการไม่รุนแรง
การใช้ผลมะเกลือสดเพื่อถ่ายพยาธิในสัตว์เลี้ยง ไม่ควรใช้เกิน 20 เท่า ของน้ำหนักตัว เพราะอาจทำให้สัตว์ตาบอดได้ และควรให้กินน้ำมันพืชหรือผสมน้ำมันพืชร่วมด้วย เพื่อช่วยการขับถ่ายให้สะดวกขึ้น
สำหรับการใช้มะเกลือในคนเช่นกัน ควรรับประทานน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว ในปริมาณ 1-2 ช้อน ตามหลังในเวลา 3-5 ชั่วโมง ที่รับประทานมะเกลือไปแล้ว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
ห้ามใช้ในตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้แท้งหรือทารกตายในครรภ์ได้
การใช้ในเด็ก ควรใช้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7-13 ปี หากอายุต่ำกว่านี้ ห้ามใช้ และให้ใช้ไม่เกิน ครึ่งผล หรือ 1 ผล เท่านั้น หากอายุมากกว่า 13 ปี จนถึงผู้ใหญ่ ให้ใช้ 2-5 ผล ลดลั่นตามอายุ
ผลมะเกลือ ควรใช้ผลดิบเท่านั้น ไม่ควรใช้ผลสุก เพราะผลดิบมีสารที่ทำให้เยื่อตาอักเสบน้อยกว่าผลสุก
หากรับประทานในจำนวนมากเกินไป 10-20 ด้วยความตั้งใจหรือไม่รู้ จนรู้สึกได้ถึงอาการปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะให้รีบทำอาเจียนทันที และหากรู้สึกตาพร่ามัว มีอาการแสบตา ให้รีบไปหาแพทย์ทันที
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาใช้สมุนไพรแห้งในไก่พื้นเมือง ที่อัตราส่วน 1:1:1:1 ของมะเกลือผสมกับสมุนไพรอีก 3 ชนิด และใช้ยาปิเปอราซินขนาด 30 กรัม เป็นกลุ่มค แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:52