ค้นหาสินค้า

ผักปัง

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ผักปัง

รหัส:
305150
ราคา:
100.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 7 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นผักปัง
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
โทร 0629246459
มีบริการส่งทางไปรษณีย์ ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
สรรพคุณของผักปลัง
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
- ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน มีสารเบตาแคโรทีนที่ช่วยบำรุงดวงตา และยังมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย (ใบ)
- ดอกใช้เป็นยาดับพิษในเลือด (ดอก)
- ทั้งต้นมีรสเย็น เป็นขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยยาลดไข้ แก้อาการร้อนใน ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
- น้ำคั้นจากดอกใช้เป็นยาทาแก้หัวนมแตกเจ็บ (ดอก)
- ต้นและใบมีรสหวานเอียน เป็นยาช่วยระบายท้อง (ต้น, ใบ)
- ช่วยแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วรับประทาน (ต้น)
- ต้น ราก ใบ และทั้งต้นช่วยแก้อาการท้องผูก ยอดอ่อนหรือใบยอดอ่อนสดจะมีเส้นใย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ ที่เหมาะสำหรับเด็กและสตรีตั้งครรภ์ เมื่อนำมาต้มรับประทานเป็นอาหารจะช่วยแก้อาการท้องผูกได้ และเมือกที่อยู่ในผักปลังจะมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยทำให้ท้องไม่ผูกได้ (ต้น, ราก, ใบ, ทั้งต้น)
- รากมีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาแก้พรรดึก (หรืออุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม) (ราก)
- ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
- ใช้ต้นสด 60-120 กรัมนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไส้ติ่งอักเสบ (ต้น)
- ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ขัดเบา ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น) ตำรายาแก้ปัสสาวะขัดระบุให้ใช้ใบสด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มแบบชาต่อหนึ่งครั้ง (ใบ)
- รากและใบช่วยขับปัสสาวะ (ราก, ใบ)
- หมอตำแยทางภาคเหนือมักจะใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอดของสตรี เพื่อช่วยให้สตรีมีครรภ์คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานผักปลังด้วย เพราะจะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น โดยนำมาทำเป็นแกงผักปลังให้รับประทานทุกวันเดือนดับเดือนเต็ม เชื่อว่าจะช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย ทำให้ไหลลื่นเหมือนผักปลัง (จากความเชื่อนี้เองจึงทำให้ผู้มีคาถาอาคมไม่กล้ารับประทาน เพราะกลัวคาถาเสื่อม) (ใบ)
- ตกเลือดเรื้อรัง ให้ใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ใบ)
- หมอเมืองบางท่านจะใช้ใบผักปลังนำมาตำกับข้าวสารเจ้า ใช้เป็นยาพอกแก้โรคมะเร็งไข่ปลา (เริม) (ใบ)
- ใช้เป็นยาใส่แผลสด ใช้ห้ามเลือด หรือใช้แก้อาการฟกช้ำ ให้นำใบมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายหรือเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ) ทั้งต้นใช้เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ทั้งต้น)
- ใช้ใบและผลนำมาขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้ จะช่วยบรรเทาอาการและทำให้รู้สึกเย็นขึ้นได้ (ใบและผล)
- ช่วยแก้อักเสบ (ใบ, ทั้งต้น) แก้อักเสบบวม (ต้น)
- ช่วยแก้อีสุกอีใส (ดอก)
- รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้รังแค (ราก)
- ดอกมีรสหวานเอียน น้ำคั้นจากดอกใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน แก้เกลื้อน (ดอก)
- ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกแก้กลากเกลื้อน แก้ผื่นคัน ผื่นแดง และฝี (ใบ) ใช้แก้ฝีหรือแผลสด ให้ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น หรือขยี้ทาก็ได้เช่นกัน (ใบ)บ้างว่าใช้ผลนำมาต้มรับประทานแก้ฝี (ผล)
- ช่วยดับพิษ ดับพิษฝีดาษ แก้พิษฝีดาษ ด้วยการใช้น้ำคั้นจากดอกสด นำมาทาบริเวณที่เป็น (ต้น, ดอก, ทั้งต้น)
- ช่วยแก้พิษฝี (ต้น)
- ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 1-2 ครั้ง (ใบ)
- รากนำมาต้มรับประทานเป็นยาแก้มือเท้าด่าง (ราก)
- ช่วยแก้อาการช้ำใน กระดูกร้าว (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดแขนขา ด้วยการใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
- รากใช้เป็นยาทาถูนวดให้ร้อนเพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ทามากขึ้น ส่วนน้ำคั้นจากรากก็เป็นยาหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี (ราก)
- ยอดอ่อนนำมาแกงหรือใส่ต้มไก่รับประทานเป็นยาบำรุงเลือดลม สำหรับคนหน้าซีด เลือดลมไม่ดี (ใบ)
- ยอดอ่อนใช้ใส่แกงหรือต้มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทานเป็นยาบำรุง (ใบ)
หมายเหตุ : ผักปลังแดงและผักปลังขาวมีลักษณะและคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้
วิธีใช้สมุนไพรผักปลัง
การใช้ทั้งต้นตาม ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าเป็นต้นสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หากใช้ภายนอกให้นำต้นสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น
การใช้ดอกตาม ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ครั้งละ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นดอกสดให้ใช้ครั้งละ 35 กรัม นำมาตำพอกหรือตำคั้นเอาแต่น้ำใช้ใส่แผล
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักปลัง
ทั้งต้นพบสาร Glucan, Glucolin, Saponin, โปรตีน, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, แร่ธาตุ, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก
ใบผักปลังมีกรดอะมิโน ที่ประกอบไปด้วย Lysine, Leucine, Isoleucine และสารจำพวก Glucan, Polysaccharide ประกอบไปด้วย D-galactose, L-arabinose, L-rhamnose, Uronic acid และยังมีสาร Saponin และ Carotene
จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Yaounde ในประเทศแคเมอรูน เมื่อปี พ.ศ.2555 พบว่าสารสกัดเมทานอลจากผักปลังสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของเพศชายได้ แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองกับเซลล์สืบพันธุ์ของหนูเท่านั้น ยังไม่ได้ทำการศึกษากับมนุษย์โดยตรง และจากผลการวิจัยดังกล่าวจึงได้มีการนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสรรพคุณส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สำหรับลดการเป็นหมัน และในงานวิจัยเดียวกันนี้ยังพบว่าสารสกัดเมทานอลของผักปลังที่ความเข้มข้น 10-100 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม จะไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการศึกษาความปลอดภัยโดยให้หนูทดลองกินสารสกัดเอทานอลของผักปลังในขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว นาน 2 เดือน ก็ไม่ความเป็นพิษต่อตับและไตของหนูทดลอง
และในปีเดียวกันนี้เองที่นักวิจัยอินเดียได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผลของสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอลและน้ำในหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการกรอกสารสกัดน้ำของใบในขนาด 100-200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวให้หนูทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยา และสำหรับหนูขาวทดลองที่กินสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอล น้ำ และเฮกเซน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ พบว่าหนูขาวที่ได้รับสารสกัดด้วยเอทานอลและเฮกเซนจากใบผักปลัง จะมีปริมาณน้ำย่อยอะไมเลสเพิ่มขึ้น (น้ำย่อยที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งในปากให้เป็นน้ำตาลมอลโทส) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยลดภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้
ประโยชน์ของผักปลัง
ผักปลังเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหาร มีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูง และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี นิยมใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุก ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก เช่น น้ำพริกอ่อง พริกตาแดง น้ำพริกดำ เป็นต้น หรือจะใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนนำไปประกอบอาหาร เมนูผักปลัง เช่น แกงจืดหมูสับ แกงแค แกงเลียง แกงส้ม แกงใส่อ่อมหอย แกงปลา แกงผักปลัง ผัดกับแหนม ผัดน้ำมัน ผัดใส่ไข่ ส่วนช่อดอก ต้นและ ใบ นำมาทำแกงส้ม เป็นต้น ส่วนผลอ่อนก็ใช้รับประทานได้เช่นกัน ส่วนชาวล้านนาจะนิยมนำยอดอ่อนและดอกอ่อนมาใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารประเภท จอ ที่เรียกว่า “จอผักปลัง” หรือ “จอผักปั๋ง”
คุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนและใบอ่อนของผักปลังต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วยโปรตีน 1.2%, วิตามินเอ 3,250 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 40 หน่วยสากล, วิตามินบี , Sherman U., แคลเซียม 0.15%, และธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม% ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าคุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ต่อ 100 กรัม (ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน) ประกอบไปด้วย พลังงาน 20 แคลอรี, น้ำ 93.4%, โปรตีน 2 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 2.6 กรัม, ใยอาหาร 0.8 กรัม, เถ้า 0.9 กรัม, วิตามินเอ 9,316 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 22 มิลลิกรัม, แคลเซียม 4 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
ผลใช้สำหรับแต่งสีอาหารทั้งคาวและหวานให้น่ารับประทาน โดยนำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำจะได้สีม่วงแดงที่ประกอบด้วยสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) แล้วจึงนำไปใช้เป็นสีผสมในอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ขนมบัวลอย ขนมเปียกปูน ขนมซ่าหริ่ม ขนมน้ำดอกไม้ เป็นต้น
เด็ก ๆ ยังนิยมนำน้ำสีแดงในผลมาเล่นกันได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทาหน้า ทาปากก็ติดทนดี เมื่อเล่นลิเกหรือเล่นละครต่าง ๆ จะนิยมใช้กันมาก หรือเล่นขายของหรือทำครัวก็จะนำไปย้อมสี หรือนำไปผสมน้ำใช้แทนหมึกสีแดง เขียนหนังสือได้ดี[6]
นิยมปลูกเป็นผักริมรั้วหรือขึ้นร้านเป็นประดับได้ โดยเฉพาะถ้าปลูกทั้งผักปลังแดงและผักปลังขาวด้วยกันก็จะให้สีสันยิ่งขึ้นไปอีก อีกทั้งพืชชนิดนี้ยังดูแลได้ง่าย และสามารถออกยอดได้ตลอดทั้งปี
ทั้งห้าส่วนมีรสหวาน (ต้น, ราก, ใบ, ดอก, ผล) ใช้แต่งรสอาหาร
รากนำมาต้มน้ำใช้สระผมจะช่วยแก้รังแคได้
นอกจากนี้ชาวเหนือยังใช้ผักปลังในพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อป้องกันผีตายโหง และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว
มีการนำเครือมาทำเป็น “บ่วงเครือผักปลัง” โดยใช้เครือมาพันเกี้ยวกันทำเป็นบ่วงขนาดที่หญิงมีครรภ์ลอดได้ แล้วเอาบ่วงผักปลังนี้ไปแช่กับน้ำอาบในวันเดือนดับเดือนเต็ม เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้นำบ่วงผักปลังมาสวมหัวลงไป แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 May 20 05:21
คำสำคัญ: ต้นสมุนไพร