ค้นหาสินค้า

ต้นเล็บครุฑลังกา เล็บครุฑถ้วย ตานี

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นเล็บครุฑลังกา เล็บครุฑถ้วย ตานี

รหัส:
298060
ราคา:
300.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นเล็บครุฑลังกา เล็บครุฑถ้วย ตานี
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ของมันต้องมี
ต้นไม้ต้นหนึ่งที่ปลุกกระแสรักษ์โลกขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ
เล็บครุฑลังกา เล็บครุฑถ้วย ตานี ฯลฯ
ไม้เก่าที่ใบเป็นรูปถ้วยสามารถนำมาใช้ใส่อาหารแทนโฟม หรือใช้รองห่อหมกแทนใบยอ
ก็นะ...อีกหนึ่งสิ่งที่โลกต้องการ
เล็บครุฑ
จัดเป็นไม้ประดับต้นที่นิยมปลูกทั้งในกระถาง และแปลงจัดสวน เนื่องจากมีลำต้น และทรงพุ่มไม่สูง ใบมีลักษณะแปลก มีลวดลายสวยงาม รวมถึงเป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าจะคอยคุ้มครองภยันตรายไม่ให้กล้ำกลาย ทั้งภูตผี วิญญาณชั่วร้าย เวทมนต์ดำ และสิ่งอัปมงคลต่างๆ
• วงศ์ : Arallaceae
• สกุล : Dizygotheca และ Polyscias
• ชนิด : มีหลายชนิด
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : มีชื่อวิทยาศาสตร์ตามชนิดต่างๆ
• ถิ่นกำเนิด : อินเดีย แอฟริกา และหมู่เกาะแปซิฟิก
ชนิดเล็บครุฑที่ปลูกในไทย
1. Polyscias balfouriana : ครุฑอีแปะ, ครุฑเขียวใบใหญ่ หรือ ครุฑจาน
2. P. Balfouriana (marginata) : ครุฑกระจก หรือ ครุฑตีนกบ
3. P. Scutellaria : ครุฑเกล็ดปลากะโห้, ครฑตีนตะพาบน้ำ หรือ ครุฑพุฒาจารย์
4. P. Scutellaria (pennockii) : ครุฑบริพัตร
5. P. Paniculata (variegata) : ครุฑใบกุหลาบ
6. P. Guilfoylei (quinquefolia) : ครุฑก้านดำ
7. P. Filicifolia : ครุฑใบเฟิร์น หรือ ครุฑกนก
8. P. Fruticosa : ครุฑทอดมัน หรือ ครุฑตรี
9. Polyscias sp. ครุฑกระทง
เล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyscias fruticosa (L.) Harms
• ชื่ออื่นๆ :
– เล็บครุฑ
– ครุฑเท้าเต่
– ครุฑใบเทศ
– ครุฑผักชี
– เล็บครุฑใบฝอย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
เล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีเทา ผิวลำต้นสากมือ ลำต้นแตกกิ่งตั้งตรงรวมกันเป็นทรงพุ่ม และมีปุ่มนูนบริเวณกาบใบที่ร่วงไป
เล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyscias fruticosa (L.) Harms
• ชื่ออื่นๆ :
– เล็บครุฑ
– ครุฑเท้าเต่
– ครุฑใบเทศ
– ครุฑผักชี
– เล็บครุฑใบฝอย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีเทา ผิวลำต้นสากมือ ลำต้นแตกกิ่งตั้งตรงรวมกันเป็นทรงพุ่ม และมีปุ่มนูนบริเวณกาบใบที่ร่วงไป
ดอก ดอกเล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี แทงออกปลายยอดของลำต้น ช่อดอกมีขนาดใหญ่ และแตกแขนงช่อย่อยจำนวนมาก แต่ละช่อมีดอกรวมกันเป็นกระจุก 20-40 ดอก
ผล และเมล็ด ผลเล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี มีลักษณะค่อนข้างกลม รวมกับหลายผลเป็นกระจุก
เล็บครุฑเกล็ดปลากะโห้ ( P. Scutellaria)
เป็นพันธุ์เล็บครุฑที่มีลำต้นสูง ทรงพุ่มใหญ่ สูงได้ประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียวอมเทา เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา ก้านใบมีใบย่อย 3 ใบ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม รูปใบค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยาวมากกว่าส่วนกว้าง กว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ขอบใบหยัก และมีหนามที่ขอบใบ ทั้งนี้ ใบย่อยคู่แรกจะมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่จะเล็กกว่าตรงกลางที่เป็นใบสุดท้ายซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทุกใบ
เล็บครุฑกระทง (Polyscias sp.)
เป็นเล๊บครุฑที่มีความสูงใกล้เคียงกับครุฑเกล็ดปลากะโห้ แต่ลำต้นแตกกิ่งมาก และใบดก ทำให้มีทรงพุ่มขนาดใหญ่กว่า ลำต้นมีสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มนูนเป็นข้อ ตามก้านใบที่แตกออก ใบมีลักษณะทรงกลม ทำให้คล้ายกระทงหรือถ้วย ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ส่วนโคนใบบริเวณก้านใบมีลักษณะเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ ขนาดใบประมาณ 8-10 เซนติเมตร
สาระสำคัญที่พบในใบ (เล็บครุฑกระทง)
ใบประกอบน้ำมันหอมระเหยในกลุ่มของสารเทอร์พีน (terpene) หลายชนิด ได้แก่
-elemene40%
-cubebene 4%
-Humulene 2%
- Caryophyllene 0.5%
-bergamotene 0.4%
-cupaene 0.3%
-Bulnesene 0.3%
-cubebene 0.2%
-bourbonene 0.1%
-Calamenene 0.01%
ประโยชน์เล็บครุฑ
1. เล็บครุฑมีลักษณะใบแปลก มีลายประ ขอบใบหยักคล้ายกรงเล็บ ทรงพุ่มหนา และเตี้ย จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับใบ โดยส่วนมากจะนิยมปลูกในกระถางประดับตามหน้าบ้านหรือในอาคาร
2. ยอดอ่อน และใบอ่อนมีกลิ่นหอม สามารถนำมาทอดเป็นผักหรือใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียง
3. ใบเล็บครุฑมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม สามารถนำสกัดสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม หรือนำมันสำหรับประโยชน์ในด้านความสวยความงาม
4. ใบนำมาขยำ และใช้ทาเนื้อสัตว์ ก่อนนำไปย่าง ซึ่งช่วยให้เนื้อมีกลิ่นหอม น่ารับประทานมากขึ้น
5. ขอบใบเล็บครุฑมีหยักเป็นฟันเลื่อยจำนวนมาก บางชนิดหยักตื้น บางชนิดหยักลึก ทำให้แลดูคล้ายกรงเล็บครุฑ ซึ่งเชื่อว่า หากปลูกแล้วจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ทั้งภูตผี มนต์ดำ และสิ่งอัปมงคลไม่ให้มากล้ำกรายผู้ปลูกหรือสมาชิกในครอบครัว
สรรพคุณเล็บครุฑ
ใบ (มีกลิ่นหอม ให้รสเผ็ดร้อน)
– ใบนำมาต้มดื่มแก้อาการปวดหัว แก้ไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว
– น้ำต้มจากใบมีกลิ่นหอม ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
– น้ำต้มจากใบใช้ดื่ม แก้อาการปวดตามข้อต่างๆ
– นำใบมาตำบด สำหรับพอกรักษาแผล แก้แผลอักเสบ
– นำมาพอกทารักษาผื่นคัน
– นำมาพอกทารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
– ใบนำมาขยำแล้วอุดรูจมูก สำหรับแก้เลือดกำเดาออก

ลำต้น (รสฝาด)
– นำมาต้มดื่มช่วยดับพิษร้อน
– น้ำต้มช่วยรักษาท้องร่วง
– น้ำต้มดื่ม แก้อาการปวดหัว ช่วยลดไข้
– แก่นลำต้นนำมาฝนใช้ทาสมานแผล
ราก (รสร้อน)
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยให้ผ่อนคลาย
– แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 May 20 12:05