ค้นหาสินค้า

ต้นท้าวยายม่อมหัว

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นท้าวยายม่อมหัว

รหัส:
194149
ราคา:
100.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นท้าวยายม่อม ขายเป็นหัว ค่าส่งอีเอมเอส 50 บาท
ขายต้นท้าวยายม่อมหัว หรือว่านพญาหอกหล่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze
ชื่อวงศ์ TACCACEAE
ชื่ออื่นๆ ไม้เท้าฤาษี บุกรอ สิงโตดำ
ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปฝ่ามือแยกเป็น ๓ แฉกขอบเว้าลึก ดอกช่อซี่ร่มออกที่ปลายยอด ดอกสีเขียวแกมเหลือง หรือสีม่วงเข้ม ผลทรงกลม สีเขียว
การขยายพันธุ์ ใช้หัว

ยาบำรุงคนฟื้นไข้ ทำให้จิตใจเป็นปกติ
ใช้หัวทำแป้งหัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow กินเป็นอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะคนแก่ที่ฟื้นไข้ ควรรับประทานแป้งเท้ายายม่อมร่วมกับน้ำอ้อย หรือน้ำตาลกรวด จะทำให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ได้ดีอีกด้วย สำหรับคนทั่วไป การรับประทานแป้งเท้ายายม่อมจะช่วยให้หายอ่อนเพลีย จิตใจชุ่มชื่น แก้ร้อนใน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร และบำรุงกำลังได้อย่างดี
แม้แต่นักโภชนาบำบัดสมัยใหม่ก็ยืนยันว่า แป้งเท้ายายม่อมมีคุณสมบัติเหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่นๆ ทั้งยังเชื่อว่าการบริโภคแป้งเท้ายายม่อมทำให้อารมณ์และจิตใจมีความสมดุล ไม่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าจนเกินไป ที่เรียกว่า mood stabilizer นั่นเอง

เท้ายายม่อม ยาบำรุงร่างกาย รักษาบาดแผล แก้พิษ
เท้ายายท่อมเป็นพืชตระกูลเดียวกับค้างคาวดำ(Tacca chantrieri Andre) สมุนไพรในตระกูลนี้ส่วนใหญ่ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย โดยขุดเหง้ามาต้มน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรในวงศ์เดียวกันอีกชนิดหนึ่งคือ หนวดเสือ[Tacca plantaginea (Hence Drenth)] ที่มีสรรพคุณคล้ายกันคือ ใบและดอกกินเป็นผักสดได้เช่นเดียวกับค้างคาวดำ มีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย เช่นเดียวกัน
เท้ายายม่อมยังมีสรรพคุณในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พิษผึ้ง กระพรุนไฟ โดยใช้หัวหรือรากฝนกับน้ำมะนาวทา นอกจากนี้แป้งเท้ายายม่อมยังใช้โรยปากแผลเพื่อห้ามเลือด นอกจากนี้ใช้โรยในถุงเท้าเพื่อป้องกันเชื้อราที่เท้าได้อย่างดี
ตำรับยา
ยาใช้พอกฝี แผล ช้ำ ถอนพิษ
ใช้แป้งเท้ายายม่อมนวดกับน้ำอุ่นพอเป็นยางเหนียวๆ พอกบริเวณที่เป็น
ยาแก้ผดผื่นคัน
ใช้แป้งเท้ายายม่อมละลายน้ำทา
เครื่องประทินผิว ลดสิวฝ้าทำให้หน้าขาว
ใช้แป้งเท้ายายม่อมผสมน้ำผึ้งพอกหน้า ทิ้งไว้สักครู่แล้วล้างออก หรือใช้ผัดหน้าแทนแป้งฝุ่น

นิทานเรื่องแป้งเท้ายายม่อม ของคนชายฝั่งภาคตะวันออก
เรื่องมีอยู่ว่าที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีผัวเมียคู่หนึ่ง เมียชื่อ ยายม่อม มีอาชีพทำขนมขายที่ตลาด ส่วนตาแม้นผู้เป็นผัว มีอาชีพหาปลาหากุ้งตามชายฝั่งพอประทังชีวิต ทั้งคู่ต้องเลี้ยงดูลูกชายพิการ วันหนึ่งขณะที่ยายม่อมกำลังกลับบ้าน ก็ถูกโจรปล้นแล้วฆ่าตาย ร่างถูกสับเป็นชิ้นๆ นิ้วเท้าเหลืออยู่เพียงหกนิ้ว หลังจากนำร่างของเมียไปฝังด้วยความเศร้าโศกอาลัย ตาแม้นก็กินไม่ได้นอนไม่หลับจนผ่ายผอม และกลับมาที่หลุมศพของยายม่อม ร้องไห้รำพึงรำพันจนสลบไป ยายม่อมจึงมาเข้าฝันปลอบตาแม้นว่า อย่าได้โศกเศร้าไปเลย ให้เอาเท้าของตัวเองไปทำมาหากินเลี้ยงลูก พร้อมกับสอนวีธีทำแป้ง พอตาแม้นตื่นขึ้นมาก็พบว่ามีต้นไม้งอกขึ้นมา ขุดลงไปพบหัวกลมๆ ของต้นไม้นั้นอยู่หกหัว จึงได้เลือกหัวใหญ่ที่สุดไปทำแป้ง ที่เหลือทิ้งไว้ให้งอกเป็นต้นใหม่ เมื่อตาแม้นกลับมาบ้านก็ทำแป้งจากหัวกลมๆ ตามที่ยายม่อมสอน สองพ่อลูกก็เพาะพันธุ์ต้นเท้ายายม่อม เพื่อนำมาทำขนมหาเลี้ยงชีพอย่างมีความสุข ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต่อมา

วิธีทำแป้งเท้ายายม่อมแบบโบราณ
(สูตรของคุณศิริรัตน์ ลดหวั่น )
วิธีทำ
๑. นำหัวของต้นเท้ายายม่อมมาปอกเปลือก ล้างให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้
๒. นำหัวมาฝนกับแผ่นสังกะสีที่ตอกตะปูไว้ให้เป็นรู คล้ายกับก้นของกระชอน ขึงกับโครงไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม พาดบนอ่างที่ใช้รองเท้ายายม่อมที่ขูดแล้ว ซึ่งมีลักษณะเหมือนมะพร้าวขูด ขณะขูดจะใช้น้ำชะเท้ายายม่อมลงในอ่าง(หลังขูดเสร็จในอ่างจะมีทั้งน้ำและเนื้อของเท้ายายม่อมอยู่ในนั้น )
๓. ใช้มือขยี้จนแป้งแยกจากกาก นำแป้งที่แยกจากกากวางทิ้งไว้ ๑ คืน ให้ตกตะกอน เทน้ำสีเหลืองที่ลอยอยู่ข้างบนทิ้ง เพราะเป็นยางของหัวเท้ายายม่อม ใส่น้ำใหม่ลงไปกวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ ๑ คืน ทำเช่นนี้ประมาณ ๓-๔ ครั้ง จนน้ำที่ลอยอยู่ด้านบนแป้งเป็นสีใส
๕. นำแป้งสีขาวขุ่นที่นอนก้อนอยู่ข้างล่างออกจากอ่าง โดยใช้ไม้พายงัดออกมาวางบนถาดที่เตรียมสำหรับตาก ใช้มือเกลี่ย และบี้ให้ขนาดของก้อนแป้งเล็กลง ตากแดดจนกว่าจะแห้ง
๖. เมื่อแห้งแล้วจะได้แป้งที่มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ เก็บใส่ภาชนะที่ปิดสนิท สามารถใช้ได้นาน หัวสด ๕ กก. เมื่อทำแล้วจะได้แป้งหนักกว่า ๑ กก.
คุณศิริรัตน์ ลดหวั่น ปัจจุบันอายุ ๖๔ ปี ท่านสืบสกุลมาจากตระกูลที่ผลิตแป้งเท้ายายม่อมที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดชลบุรี ในสมัยก่อนเมืองทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทยเป็นแหล่งผลิตแป้งเท้ายายม่อมที่สำคัญของประเทศ ทั้งยังมีการปลูกเท้ายายม่อมเพื่อทำแป้งโดยเฉพาะ แต่ค่อยๆ เลิกกิจการกันไปจากการเติบโตของเมือง และมีแป้งอย่างอื่นที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และมีราคาถูกกว่าเข้ามาแทนที่
ตอนคุณศิริรัตน์ยังเด็ก ก๋ง หรือหมอเนตร เสียงสังข์ หมอยาผู้มีชื่อเสียงในแถบตำบลแสนสุข อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้สอนวิธีการทำแป้งเท้ายายม่อมให้คุณศิริรัตน์ แต่กลัวว่าสังกะสีจะบาดมือหลาน จึงให้ใช้หนังปลากระเบนซึ่งมีลักษณะสาก แทนแผ่นสังกะสีในการขูดหัวเท้ายายม่อม เป็นการปลูกฝังศิลปะในการทำแป้งเท้ายายม่อมให้แก่ลูกหลาน ก๋งของคุณศิริรัตน์ ยังใช้แป้งเท้ายายม่อมเป็นยาในการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยในช่วงพักฟื้นจากไข้ ให้ร่างกายกลับมาสดชื่นได้เร็ว รวมทั้งใช้ทำอาหารทั้งคาวหวาน

เรื่องน่ารู้
• ยอดอ่อนของเท้ายายม่อมนำมาต้มจิ้มน้ำพริกรับประทานได้ หรือผัดกับน้ำกะทิสด ที่ชาวบ้านเรียกว่า ผัดกะทิเท้ายายม่อม จะเพิ่มความอร่อยขึ้น โดยนำน้ำกะทิสดไปเคี่ยวไฟอ่อนๆ จนกะทิข้น จากนั้นนำยอดอ่อนเท้ายายม่อมใส่ลงไปผัดจนสุก รสชาติจะขมเล็กน้อย มีความหอมมันของกะทิ รับประทานกับน้ำพริกกะปิอร่อยที่สุด (ข้อมูลจาก คุณลุงสะอาด กล่อมสกุล ๑๑๖ ม. ๓ ต. หัวสำโรง อ. ท่าวุ้ง จ. ลพบุรี ๑๕๑๕๐)
• แป้งเท้ายายม่อมสกัดมาจากหัวมันเท้ายายม่อม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงา เวลาใช้ต้องบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความข้นเหนียวหนืดและใส เมื่อทำให้เย็นจะมีความเหนียวมากกว่าแป้งมันสำปะหลัง คุณสมบัติอีกอย่างที่แตกต่างจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวโพด คือ เมื่อนำมาอุ่นจะมีความข้นและไม่คืนตัว สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด ได้แก่ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน เต้าส่วน ขนมกรวย ขนมช่อม่วง ครองแครงกะทิ ขนมดอกลำเจียก ทับทิมกรอบ กะละแมเสวย ข้าวเกรียบปากหม้อ บัวลอย อีกทั้งสามารถนำมาผสมกับแป้งเผือกและแป้งสาลีทำขนมพุดดิ้ง เค้ก และขนมปัง สำหรับอาหารคาว ใช้เป็นส่วนผสมในซุปเห็ดเจ หอยทอด ราดหน้า กระเพาะปลา เป็นต้น
• แป้งเท้ายายม่อมแท้ๆ ในท้องตลาดปัจจุบันแทบหาซื้อไม่ได้แล้ว โดยมากทำมาจากมันสำปะหลัง แต่ติดป้ายเป็นแป้งเท้ายายม่อม
• ต้นเท้ายายม่อมจะยุบตัวเมื่อเข้าหน้าหนาว ใบจะเหลือง ในช่วงนี้จะเก็บหัวเท้ายายม่อมเอาไปทำแป้ง และเก็บหัวเล็กๆ ไว้ปลูกตอนเข้าหน้าฝน
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Mar 22 07:56