ค้นหาสินค้า

ทองพันชั่งดอกเหลือง

ร้าน วรากรสมุนไพร
ทองพันชั่งดอกเหลือง
ทองพันชั่งดอกเหลือง
ชื่อสินค้า:

ทองพันชั่งดอกเหลือง

รหัส:
184708
ราคา:
500.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นอังกาบหนูหรือทองพันชั่งดอกเหลือง ต้นใหญ่ใบเยอะ
ต้นอังกาบหนู
ชื่อพฤกษศาสตร์ Barleria prionitis L.
งศ์ Acanthaceae สกุลอังกาบ (Barleria) ที่มีประมาณ 230 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแอฟริกาและเอเชีย ในไทยมีพืชพื้นเมืองมากกว่า 5 ชนิด เป็นวัชพืชและไม้ประดับต่างประเทศ 3-4 ชนิด อังกาบหนูแยกเป็นหลายชนิดย่อย (subspecies) ตามลักษณะช่อดอก สิ่งปกคลุมบนกลีบดอกและผล ความยาวของหนาม ความยาวของอับเรณู และเขตการกระจายพันธุ์ โดยเฉพาะในแอฟริกามีหลายชนิดย่อย ในไทยที่พบเป็นชนิดย่อย subsp. prionitis ดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งคล้ายช่อเชิงลดสั้น ๆ กลีบดอกด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม และอับเรณูยาว 2-3.5 มม. พบครั้งแรกในอินเดีย มีชื่อสามัญว่า Porcupine flower เนื่องจากลำต้นมีหนายาวแข็งคล้ายขนเม่น หรือบางครั้งเรียกว่า Yellow hedge Barleria ตามความนิยมที่ใช้ปลูกทำรั้ว เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักกันแพร่หลายของการแพทย์อายุรเวทอินเดียโบราณ (Ayurveda) มีสรรพคุณมากมาย
ชื่อพื้นเมือง เขี้ยวแก้ว, เขี้ยวเนื้อ (ภาคกลาง); มันไก่ (ภาคเหนือ)
ถิ่นกำเนิด พบทั่วไปเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นวัชพืชที่คุกคามในหลายพื้นที่ในเขตร้อนรวมถึงออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก อาจมีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกาตะวันออก ขึ้นตามที่โล่งและแห้งแล้งโดยเฉพาะบนเขาหินปูนเตี้ย ๆ พบมากทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้ บางครั้งพบปลูกเป็นรั้วบ้าน เนื่องจากมีกิ่งหนาแน่นและมีหนามแหลมแข็ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. เกลี้ยง มีหนามรอบข้อ ยาว 1-2 ซม. ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม มีติ่งแหลม โคนสอบเรียว ขอบมีขนแข็ง แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 ซม. ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งคล้ายช่อเชิงลดสั้น ๆ ใบประดับรูปแถบ ยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับย่อยเป็นหนาม ติดทน ยาว 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงคู่นอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายมีติ่งหนาม กลีบคู่ในรูปไข่ ปลายแหลมยาว ดอกสีเหลืองอมส้ม หลอดกลีบดอกยาว 2-2.5 ซม. กลีบบนยาวเท่า ๆ หลอดกลีบดอก กลีบล่างขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 2 อัน ยื่นเลยปากหลอดกลีบเล็กน้อย เป็นหมัน 2 อัน ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้ ผลรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 ซม. ปลายมีจะงอย เมล็ดมี 2 เมล็ด แบน รูปไข่ ยาว 5-7 มม. มีขนคล้ายไหม
การใช้ประโยชน์ จากการศึกษาด้านเคมีของอังกาบหนูพบสารประกอบทางเคมีหลายอย่าง และมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส ฆ่าพยาธิ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ ลดการอักเสบ ความเจ็บปวด ลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบของตับ ช่วยขับปัสสาวะ และลดอาการแพ้ได้ดี ส่วนข้อมูลด้านความเป็นพิษ ยังไม่พบรายงานความเป็นพิษใด ๆ จากการใช้อังกาบหนู ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เนื่องจากมีสรรพคุณลดการระคายเคือง การติดเชื้อ และอาการแพ้ต่าง ๆ จึงมีการนำสารสกัดจากอังกาบหนูเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางสำหรับบำรุงผิวและเส้นผม และยังพบปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสีเหลืออมส้มขนาดใหญ่ ดอกออกตลอดทั้งปี
ข้อมูลจากการศึกษาด้านการใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นอังกาบหนูเป็นพืชสมุนไพร และสรรพคุณด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
ราก บดใช้ประคบอาการบวมต่าง ๆ เช่นฝีหนองหรือต่อมน้ำเหลืองบวม
เปลือก ต้มกินลดเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้บ้วนปากแก้ปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน
ลำต้น ใช้ลดอาการอักเสบ และโรคระบบทางเดินอาหาร
ใบ คั้น ผสมน้ำผึ้งกินแก้ไข้ ลดน้ำมูกในเด็ก ใช้ประคบแผล ส้นเท้าแตก และสิว ใบสดเคี้ยวแก้ปวดฟัน
ดอก ต้มกินแก้โรคไมเกรน ฝีหนอง อาการบวมน้ำ อาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะและท่ออสุจิขัด ทำให้เชื้ออสุจิลดจำนวนช่วยในการคุมกำเนิด
ทั้งต้นรวมราก ต้มกินมีสรรพคุณขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงตับ บรรเทาอาการดีซ่าน แก้โรคท้องมาน บรรเทาอาการแขนขาอ่อนแรง ไขข้ออักเสบ ให้อัณฑะขยายตัว ลดอาการปวดร้าวจากการกดทับรากประสาทไขสันหลัง ผสมน้ำผึ้งกินแก้หอบหืด
ในประเทศไทย มีการศึกษการใช้ประโยชน์จากต้นอังกาบหนูบ้าง แต่ไม่หลากหลายชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน คือเสลดพังพอน (Barleria lupulina Lindl.) และสังกรณี (B. strigosa Willd.) แต่ปรากฎการณ์ที่สร้างกระแสเมื่อเดือนสิงหาคมปีนี้ (2561) ที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งในจังหวัดสุโขทัยหลายคนใช้สมุนไพรอังกาบหนูแล้วหายหรืออาการดีขึ้น ทำให้มีการปั่นกระแสความต้องการ ทำให้ต้นอังกาบหนูที่ปลูกตามสถานที่ต่าง ๆ หรือที่ขึ้นเป็นวัชพืชในหลายจังหวัด ถูกประชาชนเข้าตัดและขุดเพื่อนำไปให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งในอนาคตอาจมีการนำไปจำหน่ายในราคาที่สูง อย่างรก็ตาม หน่วยงานรัฐหลายแห่งออกมาให้ข้อมูลว่ายังไม่มีผลการศึกาาวิจัยรองรับในการรักษาโรคมะเร็ง การที่ผู้ป่วยหลายรายมีอาการดีขึ้นจากการใช้พืชสมุนไพรอังกาบหนู อาจเป็นผลมาจากสรรพคุณที่หลากหลายตามรายงานข้างต้น โดยเฉพาะมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ ลดการอักเสบ บวม ความเจ็บปวด และบำรุงธาตุให้มีกำลัง แต่การรักษาโรคมะเร็งควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์แผนปัจจุบัน การบริโภคพืชสมุนไพรโดยไม่รู้วิธีที่ถูกต้อง หรือเป็นไปตามตำหรับแพทย์แผนโบราณอาจเกิดความเป็นพิษและไม่มีผลต่ออาการป่วยต่าง ๆ ตามสรรพคุณได้ และการบริโภคสมุนไพรเชิงเดี่ยวเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดพิษได้ แม้ว่ายังไม่มีรายงานความเป็นพิษจากการใช้อังกาบหนู
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ง่ายโดยใช้เมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอน โตเร็ว ชอบที่ค่อนข้างแห้งแล้ง จึงมักพบเป็นขึ้นวัชพืชหนาแน่น โดยเฉพาะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้แถบจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี แก้ไขข้อมูลเมื่อ 01 Mar 21 12:42