ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lebbeck (L.) Benth.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Indian walnut, Siris tree
ชื่ออื่นๆ : จามจุรีสีทอง, มะขามโคก, มะรุมป่า
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกขรุขระ สีเทาเข้ม และแตกเป็นร่อง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายใบกลม โคนใบสอบเบี้ยว ใบดกหนา เวลาเย็นใบจะหุบลง พอตอนเช้าจะแผ่ออกตามเดิม
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกบริเวณซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นฝักแบนยาว บาง ผิวเกลี้ยง สีทอง
เมล็ด : แบนยาว
เพาะเมล็ด
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน เจริญเติบโตเร็ว
- ยอดอ่อน ช่วยเจริญอาหาร
- เปลือก รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือกอักเสบ ฟันผุ บำรุงกำลัง แก้บิด แก้ริดสีดวงทวาร
- ใบ ดับพิษร้อนทำให้เย็น
- เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ
- ราก แก้โรคผิวหนังเรื่อรัง แก้หิด กลากเกลื้อน
- ยอดอ่อน ช่อดอกอ่อน และฝักอ่อน กินเป็นผักสด ต้มกินกับน้ำพริก
- เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อนสร้าง ทำเครื่องมือทางการเกษตร
- เปลือก ใช้ฟอกหนัง
- นิยมนำมาปลูกในที่เสื่อมโทรมและแห้งแล้ง เพื่อใช้ปรับปรุงสภาพดินให้สมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงสามารถจับไนโตรเจนจากอากาศมาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยไนเตรดได้ดี