ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Burmese Padauk, Burma Padauk, Burmese ebony, Narva
ชื่ออื่นๆ : ดู่ป่า, ประดู่เสน,
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ทรงพุ่มไม่แผ่กว้าง ลำต้นตรง เปลือกลำต้นหนาสีน้ำตาลเทาถึงเทาเข้ม เปลือกในสีน้ำตาล เมื่อถากเปลือกจะมียางสีแดงไหลออกมา เนื้อไม้แข็งมีสีน้ำตาลอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแดง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบรูปค่อนข้างมน โคนใบมนปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ส่วนใบแก่จะเกลี้ยง
ดอก : ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นฝักกลมแบน มีขนปกคลุม ผลมีปีกคล้ายจานบิน ฝักอ่อนมีสีเขียวส่วนฝักแก่จะมีสีน้ำตาลแกมเทา
เมล็ด : ทรงรี หรือรูปคล้ายไตสีน้ำตาลแดง
เพาะเมล็ด
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง ชอบแดดจัด
- ใบ ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด ใช้พอกผี พอกบาดแผล พอกแก้ผดผื่น
- แก่น ใช้บำรุงเลือด บำรุงกำลัง แก้ไข้ แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ แก้พิษเบื่อเมา บำรุงร่างกาย แก้ท้องเสีย แก้ผื่นคัน โลหิตกำเดา
- ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง
- เปลือกต้น เป็นยาสมานบาดแผล เป็นยาบำรุงร่างกาย แก้ท้องเสีย
- ราก รักษาโรคบิด
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ใช้เป็นฟืนและถ่าน
- เปลือก นำมาย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำตาล และใช้ฟอกหนัง
- แก่น นำมาย้อมผ้า ให้สีแดงคล้ำ
- ใบ ใช้สระผมได้
- ช่วยป้องกันลมและคลุมดิน
- ช่วยยึดหน้าดินไม่ให้พังทลาย
- ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เนื่องจากรากต้นประดู่มีปมรากที่ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในรูปของไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์
- นิยมปลูกให้ร่มเงา