ค้นหาสินค้า

ต้นเหลียง

ร้าน สวนไม้ไซเบอร์
ต้นเหลียง
ต้นเหลียง
ชื่อสินค้า:

ต้นเหลียง

รหัส:
348527
ราคา:
149.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณเสน่หานานาพันธุ์ ติดต่อ คุณปัท
ที่อยู่ร้าน:
จ.สมุทรปราการ
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 2 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ราคาต้นละ 149 บาทค่าส่ง 65 บาท
ผักเหลียง (Baegu) จัดเป็นผักเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ นิยมใช้ใบอ่อนประกอบอาหาร อาทิ ผัดผัดเหลียง แกงเหลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด ห่อหมก ลวกจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดคู่กับกับข้าว มีราคาขายอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ 80-100 บาท
ลำต้น
ผักเหลียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นทรงพุ่มเตี้ยๆ ลำต้นมีขนาด 10-30 มิลลิเมตร สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้น และกิ่งมีลักษณะเป็นข้อๆ ลำต้นแตกกิ่งแขนงมาก และแตกไหลออกด้านข้าง จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีเขียวเข้ม แต่ละกิ่งไม่มีการสลัดทิ้งกิ่ง ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งเปราะหักง่ายใบ
ผักเหลียง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะใบคล้ายใบยางพารา ใบแตกออกที่ปลายกิ่งแขนง แตกออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะรี มีก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขนาดใบกว้างประมาณ 4 – 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบบาง แต่เหนียว ใบอ่อนมีสีแดงอมส้ม มีรสหวานมันดอก
ผักเหลียงออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกเป็นช่อดอกแบบเชิงลด มีความยาวช่อประมาณ 2-5 เซนติเมตร แยกออกเป็นต้นดอกช่อตัวผู้ และต้นดอกสมบูรณ์เพศแยกต้นกัน
ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ช่อดอกมีลักษณะเป็นข้อๆที่มีดอกตัวผู้เรียงล้อมข้อ ตัวดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอกสีขาว ส่วนต้นดอกสมบูรณ์เพศมีช่อดอกยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกต้นตัวผู้ ทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียเรียงล้อมบนข้อเหมือนต้นดอกตัวผู้ ประมาณ 7 – 10 ข้อ ทั้งนี้ ดอกผักเหลียงจะเริ่มออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมผล
ผลผักเหลียงออกรวมกันบนช่อ แต่ละช่อมีผลประมาณ 10-20 ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวย กว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร เปลือกผลค่อนข้างหนา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อผลมีรสหวาน ทั้งนี้ หลังออกดอก ดอกผักเหลียงจะเริ่มติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และผลสุกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และติดเริ่มติดผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี ขึ้นไป แต่การติดดอกออกผลจะไม่แน่นอน บางปีอาจไม่มีการติดดอกออกผล โดยเฉพาะปีที่ฝนตกชุกมากเมล็ด
เมล็ดผักเหลียงมีรูปไข่หรือรูปกระสวย เปลือกหุ้มเมล็ดบาง และหนาเฉพาะบริเวณขั้วเมล็ด ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างงอกยาก และงอกช้าประโยชน์ผักเหลียง
1. ยอดผักเหลียง กรอบเมื่อรับประทานสด นุ่มเมื่อปรุงสุก มีรสชาติอร่อย หวานมัน นิยมรับประทานสดหรือใช้ประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด แกงกะทิ และแกงไตปลา เป็นต้น
2. ผักเหลียง ใช้เคี้ยวหรือรับประทานสดแก้หิว แก้ท้องว่าง ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลังวังชา แก้อาการขาดน้ำ โดยเฉพาะเวลาเดินทางไกลหรือเดินป่า
3. เมล็ดใช้คั่วรับประทานเป็นของขบเคี้ยวคล้ายถั่ว ส่วนประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นิยมใช้เนื้อเมล็ดมาบด ก่อนรีดเป็นแผ่น และทอดใช้ทำข้าวเกรียบ
4. ผักเหลียงในบางครัวเรือนใช้ปลูกในกระถางเพื่อประดับในบ้านเรือน เพราะลำต้นแตกออกเป็นทรงพุ่ม มีใบเขียวสดตลอดทั้งปี
5. ทุกส่วนของผักเหลียงประยุกต์ใช้เป็นยาสมุนไพร อาทิ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา และแก้โรคซางในเด็ก เป็นต้น
6. ยางจากลำต้นใช้ทาลอกฝ้า ช่วยให้หน้าขาวใส
7. ผลเหลียงสุกมีรสหวานสามารถรับประทานได้ และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่า
8. ผักเหลียงช่วยในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ช่วยชะลอการไหลซึมของน้ำ ช่วยให้หน้าดินชุ่มชื้นนาน ช่วยป้องกันไฟป่า ช่วยบำรุงดิน ป้องกันหน้าดินแข็ง เอื้อต่อการเติบโต และให้ผลผลิตของพืชหลักในแปลง
9. ช่วยเพิ่มรายได้ อาทิ การปลูกเหลียงแซมในสวนยาง สวนปาล์ม นอกจากจะได้รายได้จากสวนยางหรือปาล์มแล้ว ยอดผักเหลียงยังช่วยสร้างรายได้อีกด้วย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 27 Jul 21 01:56