ค้นหาสินค้า

มะกล่ำตาหนู

ร้าน เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย
มะกล่ำตาหนู
มะกล่ำตาหนู
ชื่อสินค้า:

มะกล่ำตาหนู

รหัส:
330564
ราคา:
1.00 บาท
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 0 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายเมล็ดพร้อมเพาะมะกล่ำตาหนูเมล็ดละ1บาทสนใจแจ้งจำนวนที่ต้องการและแจ้งที่อยู่จัดส่งได้เลยคะส่งเคอรี่เก็บปลายทางสนใจโทร0876069955ไอดีไลน์aungsara09.#สรรพคุณของมะกล่ำตาหนู
ใบมีรสหวานใช้ชงกับน้ำดื่มแทนน้ำชา จะช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ (ใบ) ส่วนเถาและรากก็เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำเช่นกัน (เถาและราก)
เถาและรากมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ เป็นยาขับพิษร้อน (เถาและราก)
ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการเจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ (ใบ)รากแก้เจ็บคอ ไอแห้ง (บ้างว่าใช้แก้เผื่อซางได้ด้วย)[9]) ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก) ส่วนเถาและรากแก้หลอดลมอักเสบ (เถาและราก)
รากมีรสเปรี้ยวขื่น เป็นยาแก้ไอ แก้หวัด แก้ไอแห้ง เสียงแห้ง กล่องเสียอักเสบ ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอและหวัด (ราก) ส่วนเถาและรากช่วยแก้ไอหวัด ไอแห้ง แก้คออักเสบ คอบวม คอเจ็บ แก้เสียงแห้ง ด้วยการใช้เถาและรากแห้งประมาณ 10-15 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา (เถาและราก)
ช่วยแก้อาเจียน (เถาและราก
เถาและรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หืด (เถาและราก)
ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยกระตุ้นน้ำลาย (ใบ)
ช่วยขับเสมหะ กัดเสมหะ (ราก, เถาและราก)
ช่วยแก้สะอึก (ราก)
ช่วยหล่อลื่นปอด (เถาและราก)
รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก, เถาและราก, ใบ)
ช่วยแก้ตับอักเสบ (เถาและราก, ใบ)
ช่วยแก้ดีซ่าน (เถาและราก)
เมล็ดมะกล่ําตาหนูมีพิษ ใช้ได้เฉพาะเป็นยาทาภายนอก โดยจะมีรสเผ็ดเมาเบื่อ ให้ใช้เมล็ดแห้งนำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช น้ำ น้ำมันมะพร้าว หรือเกลือ ใช้พอกหรือทาแก้โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง กลากเกลื้อน หิด ฝีมีหนอง ฆ่าพยาธิผิวหนัง และแก้อาการบวมอักเสบได้ (เมล็ด)
ใบใช้ตำพอกแก้ปวดบวม แก้อักเสบ หรือนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันพืชก่อนนำมาใช้พอก (ใบ)
ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดบวมตามข้อ ปวดตามแนวประสาท (ใบ)
หมายเหตุ : การใช้ตาม ในส่วนของใบใช้ภายในให้นำใบสดประมาณ 20-30 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนการใช้ตาม ราก เถา ใบ ให้ใช้ยาแห้งครั้งละ 10-18 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะกล่ำตาหนู
เมล็ดมะกล่ำตาหนูพบสาร Abrine, Abraline, Abrussic acid, Campesterol, Cycloartenol, Gallica acid, Glycyrrhizic acid, Hypaphorine, Precatorine, Squalene เป็นต้น[5]
รากมะกล่ําตาหนูพบสาร Abrol, Abrasine, Precasine, Precol เป็นต้น[5]
ราก เถา และใบพบสาร glycyrrhizic acid[5],[6] ส่วนราก เถา ใบ และเมล็ดพบสาร Trigonelline เป็นต้น
ใบมะกล่ำตาหนูมีสารหวานชื่อ abrusosides ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 30-100 เท่า มีความหวานสูงและไม่มีพิษ ส่วนเมล็ดมะกล่ำตาหนูพบสารโปรตีนที่มีพิษชื่อ Abrin
สารที่สกัดจากรากมะกล่ำตาหนูด้วยแอลกอฮอล์ มีประสิทธิภาพในการต่อต้านฮอร์โมนเพศหญิง
สารโปรตีน Abrin ที่เป็นพิษในเมล็ดมะกล่ำตาหนู จะมีการออกฤทธิ์คล้ายกับสาร Ricin ที่พบในเมล็ดละหุ่ง
สารที่สกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphelo coccus, เชื้อบิดอะมีบา, เชื้อในลำไส้ และเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังได้
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรมะกล่ำตาหนู
เมล็ดมะกล่ำตาหนูมีพิษมาก ห้ามนำมาเคี้ยวรับประทานเด็ดขาด หากนำมาเคี้ยวรับประทานเพียง 1-2 เมล็ดจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ตับและไตถูกทำลาย ทำให้ชักและเสียชีวิตได้ และควรปฐมพยาบาลโดยการทำให้อาเจียนและรีบนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้ากลืนไปทั้งเมล็ดจะไม่เป็นพิษ เพราะเปลือกแข็งไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร แต่ถ้าขบหรือเคี้ยวเมล็ดให้แตกและรับประทานเพียง 1-2 เมล็ดจะเป็นพิษถึงตาย ยิ่งถ้าเป็นเมล็ดอ่อนเปลือกจะยิ่งบางและมีอันตรายมากกว่า
เมล็ดในปริมาณเพียง 0.5 มิลลิกรัมก็สามารถทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้ หากได้รับพิษในช่วงแรกจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วจะลดลงอย่างรวดเร็ว และจะพบโปรตีนในปัสสาวะ หากได้รับพิษในปริมาณมากจะมีอาการชักจนเสียชีวิต การแก้พิษเบื้องต้นให้ใช้ชะเอม 10-20 กรัมและดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทานและรีบนำส่งโรงพยาบาล
สารพิษ Abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวได้ง่าย แต่จะคงทนเมื่ออยู่ในทางเดินอาหาร ในขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือรับประทานเพียง 1 เมล็ดก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน และหากเข้าตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงขั้นตาบอดได้
อาการเป็นพิษจากเมล็ดมะกล่ำตาหนู
สารเป็นพิษคือสารในกลุ่ม toxalbumin (abrin) ผู้ป่วยที่กลืนเมล็ดมะกล่ําตาหนูจะมีช่วงภาวะที่อาการพิษยังไม่แสดงในช่วงระหว่าง 2-3 ชั่วโมง ถึง 2-3 วัน จากนั้นพิษจะทำให้เกิดผลต่อระบบและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ความรุนแรงของพิษจะมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับขนาดที่รับประทาน สภาวะร่างกาย และอายุของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้เสียชีวิตได้ โดยผลของความเป็นพิษต่อระบบต่าง ๆ จะเป็นดังนี้

ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ สารพิษ Abrin จะทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะและลำไส้อย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย กลืนลำบาก และปวดเกร็งท้อง และยังอาจไปทำลายเยื่อบุเมือกของลำไส้เล็ก ทำให้อาเจียนเป็นเลือด และมีเลือดออกทางอุจจาระได้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด พิษจะไม่มีผลต่อหัวใจโดยตรง แต่อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการช็อก และหัวใจเต้นเร็ว หลังจากที่ผู้ป่วยอาเจียนและท้องเสียอยู่นาน สารพิษจะมีฤทธิ์โดยตรงต่อเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดตกตะกอนและแตกตัว จนอาจทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหารได้
ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดการขาดเลือดหรือออกซิเจนจนทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำและช็อก
ระบบประสาทส่วนกลาง อาจพบว่ามีอาการเซื่องซึม ประสาทหลอน มือสั่น ชักกระตุกมีอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น เลื่อนลอย เพ้อ จนกระทั่งไม่รู้สึกตัว
ระบบทางเดินปัสสาวะ จะมีปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน แต่ก็อาจมีสาเหตุมาจากภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน การอุดตันของท่อปัสสาวะด้วยฮีโมโกลบินที่มาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลาย ซึ่งมีผลส่งเสริมทำให้ไตวาย[8] ทำให้มีเลือดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะน้อยเนื่องจากเซลล์ไตถูกทำลาย
ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหดเกร็ง มือสั่น และผิวหนังแดง
ผลต่อตา หู คอ จมูก อาจมีอาการเลือดออกในเรตินา ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกที่ได้รับสารพิษ ทำให้การมองเห็นลดลง และหากตาโดนสารพิษจะทำให้เยื่อบุตาบวมและแดงมาก นอกจากนี้การกลืนลงไปอาจทำให้ระคายเคืองที่คอได้
ผลต่อตับ สารพิษจะมีฤทธิ์ไปทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อของตับ
ผลต่อเมแทบอลิซึม การอาเจียน ท้องเสีย และมีเลือดออก จะนำไปสู่ภาวะสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย หัวใจเกิดการเต้นผิดปกติ และกล้ามเนื้อเป็นตะคริว โดยผลของการอาเจียนเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะด่างในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยเกิดอาการช็อกและไตวาย อาจทำให้เกิดภาวะกรดเพิ่มขึ้นแทน ซึ่งเป็นผลมาจากการรบกวนสมดุลของสภาวะกรดเบสในร่างกาย การที่ร่างกายสูญเสียน้ำจะส่งผลโดยตรงต่อไต ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้น้อยลง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตเนื่องจากเกิดภาวะยูรีเมียตามมาได้
ตัวอย่างผู้ได้รับพิษจากเมล็ดมะกล่ำตาหนู
เด็กเคี้ยวเมล็ดมะกล่ำตาหนูแล้วเกิดพิษ มีอาการชัก รูม่านตาขยายกว้าง ประสาทหลอน และผิวหนังแดงเพราะเลือดสูบฉีด
เด็กหญิงอายุ 2 ปีรับประทานเมล็ดมะกล่ําตาหนู แล้วทำให้เกิดอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหารนาน 4 วัน และภายหลังได้เสียชีวิตลงเนื่องจาก acidosis
เด็กชาย 9 ปีรับประทานเมล็ดมะกล่ำตาหนู แล้วมีอาการอาเจียนบ่อยครั้ง ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการชัก และหมดสติ
เด็กชายอายุ 9 และ 12 ปี รับประทานเมล็ดมะกล่ำตาหนู 1 เมล็ดหรือมากกว่า พบว่ามีอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง และมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดเกิดขึ้นตามมา 1 สัปดาห์ ในขณะที่เด็กอีกคนยังคงมีเลือดออกทางทวารหนักนานต่อเนื่องไปอีก 2-3 เดือน
ผู้ใหญ่เคี้ยวเมล็ดมะกล่ำตาหนูแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ภายใน 1 ชั่วโมง และอาเจียนติดต่อกันอีกหลายครั้งภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นมีอาการท้องเสีย เสียดท้อง เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว มือสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และยืนไม่ได้
วิธีแก้พิษมะกล่ำตาหนู
การช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่รับประทานไปไม่เกิน 30 นาที ให้รีบทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเพื่อเอาเมล็ดออก โดยรับประทานน้ำเชื่อม ipecac (แต่ผู้ป่วยจะต้องไม่อยู่ในสภาวะที่ห้ามทำให้อาเจียนหรือมีอาการบวมของคอหอย) และให้เก็บเมล็ดที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป และหากเป็นไปได้ให้เอาของเหลวที่ผู้ป่วยอาเจียนออกมาใส่ขวดสะอาด แล้วนำไปตรวจสอบว่าเป็นพืชพิษชนิดใด ถ้าไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยอาเจียนได้ ก็ให้ใช้วิธีการล้างท้องแทน (แต่การล้างท้องอาจใช้ไม่ได้ผลหากผู้ป่วยกลืนเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ลงไป) จากนั้นจึงให้ทำการรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ โดยนำผลวิเคราะห์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการ (เช่น ปริมาณเลือด ระดับอิเล็กโทรไลต์ในกระแสเลือด ปริมาณยูเรีย ควีอะดินินในเลือด ข้อมูลตับ และผลวิเคราะห์ปัสสาวะ) มาใช้ประกอบการรักษาด้วย
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับพิษทางการรับประทาน ให้ลดปริมาณของสารพิษในกระเพาะอาหารโดยการใช้ activated charcoal เพื่อดูดซับสารพิษ (ล้างกระเพาะ) แล้วตามด้วยการให้ยาถ่ายจำพวก magnesium citrate และให้สา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 17 Apr 20 07:29