ค้นหาสินค้า ล้างข้อมูล

ต้นไผ่สีทอง : ลักษณะ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ และประโยชน์ของไผ่สีทอง


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่สีทอง

ต้นไผ่สีทอง
ต้นไผ่สีทอง

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa vulgaris Schrad
  2. ชื่อภาษาอังกฤษ : Common Bamboo, Golden Bamboo
  3. ชื่ออื่นๆ : ไผ่เหลือง ไผ่หลวง ไผ่ซางคำ จันคำ ไผ่จีน ไผ่รีไช
  4. ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก เป็นพุ่มกอ ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง สีเหลือง มีแถบริ้วเขียวตามความยาวของปล้อง 1 เส้น หรือไม่มี ผิวเรียบ มีข้อปล้องชัดเจน ไม่มีหนาม เนื้อแข็ง มีเหง้าใต้ดิน แตกกิ่งตั้งแต่บริเวณกลางลำต้นถึงปลายยอด
  5. ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง รูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวแซมด้วยลายสีขาว เป็นแถบ ผิวใบด้านล่างมีไข เส้นกลางใบสีเหลือง ก้านใบสีเขียว มีกาบสีเหลืองหุ้มบริเวณข้อก้านใบ
  6. ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก
  7. หน่อ : มีขนาดเล็ก หน่อชะลูดและเรียวยาว กาบหุ้มหน่อสีน้ำตาลอมเหลือง และมีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่สีทอง

โดยการแยกเหง้า และปักชำต้น

การดูแลต้นไผ่สีทอง

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลางถึงแดดจัด ทนแล้งได้ดี

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นไผ่สีทอง

ช่วยลดไข้ ละลายเสมหะ รักษาโรคบิด แก้ท้องเสีย ขับระดู ขับลม ขับปัสสาวะ

ไผ่สีทองตากแห้ง
ไผ่สีทองตากแห้ง
ไผ่สีทองผ่าตากแห้ง
ไผ่สีทองผ่าตากแห้ง

ความเชื่อของต้นไผ่สีทอง

ต้นไผ่สีทองเป็นไม้มงคล เชื่อว่าช่วยนำความผาสุกมาให้แก่ครอบครอบ รวมถึงช่วยให้โชคลาภ และเงินทองไหลมา เทมา

ต้นไผ่สีทองปลูกเป็นแนวรั้ว
ต้นไผ่สีทองปลูกเป็นแนวรั้ว

ประโยชน์ของต้นไผ่สีทอง

หน่อสามารถนำมารับประทาน เนื้อไม้ใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ หรือที่อยู่อาศัย นิยมปลูกประดับตกแต่งสวน ตกแต่งร้าน ปลูกเป็นแนวรั้ว ปลูกตามบ้านเรือน และสถานที่สาธารณะ

เมนูส่วนล่างของเว็บ