ค้นหาสินค้า

ขายขมิ้นอ้อย ราคาถูก ส่งฟรี เก็บเงินปลายทาง

ขายขมิ้นอ้อย ราคาถูก ขมิ้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองอ่อนบ้างว่าเป็นสีเหลืองเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแคบดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกจะยาวและพุ่งออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกเป็นรูปทรงแท่งกระบอก มีใบประดับ ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าผลของขมิ้นชัน ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า มีสรรพคุณทางสมุนไพร เหง้าใช้เป็นเครื่องเทศ
ผู้ขายขมิ้นอ้อย 9 ร้าน/สวน จำนวนขมิ้นอ้อย 9 รายการ
ขมิ้นอ้อย ขมิ้นขึ้น หรือแฮ้วดำ | สวน นายกระจอก - เขาค้อ เพชรบูรณ์

1
รายการ

สวน นายกระจอก | เขาค้อ เพชรบูรณ์
ขมิ้นอ้อย
เป็นสมุนไพรที่หลายคนรู้จักกันดี โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามแต่ละภาค คือถ้าเป็นภาคกลางจะเรียก "ว่านเหลือง" ถ้าเป็นภาษาละว้าจะเรียก "สากเบือ" ภาษาเหนือเรียก "ขมิ้นขึ้น" เชียงใหม่เรียก "แฮ้วดำ" ภาษาเขมรเรียก "ละเมียด"
วันนี้กระปุกดอทคอม นำสรรพคุณของขมิ้นอ้อยมาบอกให้ทราบกัน ขอบอกว่าประโยชน์ครอบจักรวาลจริง ๆ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe
ชื่อสามัญ : Zedoary, Luya-Luyahan
วงศ์ : Zingiberaceae
#ลักษณะของขมิ้นอ้อย
ต้น : ขมิ้นอ้อย เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. ลักษณะคล้ายขมิ้นชัน แต่ต้นสูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยเหง้าใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย มีเนื้อในสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกสีนวล มีกลิ่นหอม
ใบ : ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. ท้องใบจะมีขนนิ่ม ๆ ในหน้าแล้งใบจะแห้งลงหัว บางครั้งเราก็เรียกว่าขมิ้นหัวขึ้น
ดอก : ขมิ้นอ้อยจะออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกยาวพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกจะมีใบประดับ ดอกมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพู ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน และจะบานครั้งละ 2-3 ดอก
ขมิ้นอ้อย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เหง้ามาปลูก การปลูกขมิ้นอ้อยที่ดีที่สุด ควรปลูกราว ๆ เดือนพฤษภาคม ย่างเข้าฤดูฝน และไม่ควรให้น้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่าเสีย ในหน้าหนาวขมิ้นอ้อยจะมีต้นโทรมหัวใหญ่
#ส่วนที่ใช้ทำยา
ใบ มีรสเฝื่อน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ช้ำบวม
เหง้า มีรสเฝื่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แก้อักเสบ แก้ลม แก้เลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก
#สรรพคุณของขมิ้นอ้อย
รักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) โดยใช้หัวขมิ้นอ้อยสด ๆ ประมาณ 2 แว่น มาบดผสมกับน้ำปูนใส กินแก้ท้องร่วงได้
รักษาแผล โดยนำขมิ้นอ้อยไปหุงในน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยให้แผลหายเร็ว เนื่องจากหัวขมิ้นอ้อยเป็นยาฝาดสมานด้วย
รักษาฝี ถ้าเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่มาเผ่าไฟให้ไหม้ แล้วนำหัวขมิ้นอ้อยมาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา และใช้ได้ทั้งกินและทา หรือพอก
แก้ฝีในมดลูก โดยใช้ขมิ้นอ้อย 3 ท่อน บอระเพ็ด 3 ท่อน ลูกขี้กาแดง 1 ลูก (ผ่าเป็น 4 ซีกแต่ใช้แค่ 3) นำมาต้มรวมกับสุรา กินแก้ฝีในมดลูกได้
รักษาอาการเสี้ยนหนามตำ โดยนำขมิ้นอ้อยมา 5 แว่น ข้าวเหนียวสุก ประมาณ 1 กำมือ ดอกชบา 5 ดอก ใช้ตำพอก จะดูดเสี้ยนและหนองออกจากแผลได้
รักษาอาการปวดบวม ฟกช้ำ โดยนำขมิ้นสด ๆ มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณปวดบวม ฟกช้ำ
แก้หวัด โดยนำหัวขมิ้นอ้อย พริกหาง อบเชยเทศ มาต้มและเติมน้ำผึ้งลงไปผสม นำมารับประทานแก้หวัดได้
แก้ริดสีดวงทวาร นำขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน เปลือกยางแดง มาผสมกันทำยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยางใส ปั้นทั้งหมดเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ รับประทานเช้า-เย็น
แก้หัดหลบใน นำต้นต่อไส้ 1 กำมือ ขมิ้นอ้อย 5 แว่นมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารเช้าเย็น
ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝี หนองที่แผล เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อย จะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี
ฆ่าเชื้อรา มีผลวิจัยพบว่า ขมิ้นอ้อย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อราอีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่เล็บ ผิวหนัง ซอกนิ้วเท้า นอกจากนี้ ขมิ้นชัน ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้เหมือนขมิ้นอ้อย
ขับลม น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อย สามารถช่วยขับลมในท้องได้
บำรุงผิว นำขมิ้นอ้อย กระชาก พริกไทย หัวแห้วหมู มาทุบรวมกันแล้วดองด้วยน้ำผึ้ง รับประทานก่อนนอนทุกคืน จะช่วยให้ผิวสวย
ทั้งนี้ นอกจากจะนำขมิ้นอ้อยมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ขนมเบื้องญวน ได้ แถมยังนำมาย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีก
เห็นไหมว่า ประโยชน์ใช้สอยของ "ขมิ้นอ้อย" มีมากมายเลยทีเดียว ทีนี้ใครมีอาการอะไรที่กล่าวมาข้างต้น ก็ปลูกขมิ้นอ้อยไว้ใช้รักษาด้วยตัวเองได้เลย
สนใจติดต่อ : 08-9206-6080, 08-5158-5953
line : tahandaonz และ 0851585953
facebook : www.facebook.com/kaempferia

ราคากิโลกรัมละ 50.00 บาท ติดต่อ ราเมศ ฤทธิ์เนติกุล โทร. 0892066080 0892066080

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 10 เดือน

โทรศัพท์

ว่านขมิ้นอ้อย | สวนศรีชาวนา - เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

1
รายการ

สวนศรีชาวนา | เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี
ว่านขมิ้นอ้อย สนใจสั่งได้นะคะ โลละ50บาท
1.ใช้เป็นยาสุขุม บำรุงตับและม้าม ช่วยกระจายโลหิต แก้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดอุดตัน
2.ใช้เป็นยาฟอกเลือด ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ
3.ใช้เป็นยาแก้โรคความดันโลหิตสูง
4.เป็นยาบำรุงกำลัง
5.ใช้เป็นยาแก้ไข้ รักษาอาการหวัด ครั่นเนื้อครั่นตัว
6.แก้อาเจียน ขับเสมหะ
7.ใช้เป็นยากระตุ้นลำไส้และกระเพาะให้เกิดการบีบตัว ช่วยขับลม ลดอาการจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
8.ใช้เป็นยาภายนอก รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย กลากเกลื้อน ฝีหนอง
9.ช่วยรักษาอาการปวดบวม แก้ฟกช้ำ
10.ใช้เป็นส่วนผสมกับตัวยาอื่น ๆ แก้โรคนอนไม่หลับ
การใช้ประโยชน์จากขมิ้นอ้อย
ในทางเภสัชวิทยา ขมิ้นอ้อยประกอบด้วยสารพฤกษเคมีหลายชนิด เช่น Curcumin, Curdione, Curzerene, Furanodiene, Furanodienone, Zederone, Zedoarone ซึ่งมีฤทธิ์ต่อร่างกายหลากหลาย ได้แก่
1. มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ จากการทดลองนำสารสกัดจากขมิ้นอ้อยมาทดสอบกับเชื้อจุลชีพที่เป็นเชื้อรา 8 ชนิด เชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 3 ชนิด และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ 3 ชนิด พบว่าสารสกัดจากขมิ้นอ้อยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพได้ทุกชนิด ยกเว้นเชื้อ S. aureus และ E. coli ทำให้ขมิ้นอ้อยสามารถนำไปรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อจุลชีพ และใช้ถนอมอาหารได้
2. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จากการทดลองป้อนสารสกัดจากขมิ้นอ้อยให้กับหนูทดลองพร้อมกับกลูโคสพบว่า สารสกัดจากขมิ้นอ้อยช่วยลดรดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างสำคัญ ซึ่งการลดระดับน้ำตาลในเลือดมีส่วนช่วยลดโอกาสนในการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไตเสื่อม โรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดอุดตันได้
3. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ การใช้น้ำมันหอมระเหยที่แยกได้จากเหง้าของขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ระดับปานกลางถึงดีมากในการต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมและเสียหายของเซลล์ในร่างกาย จนนำไปสู่โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะแก่ก่อนวัย ต้อกระจก ฯลฯ
4. มีฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบ จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากขมิ้นอ้อยที่ชื่อ curcumenol ออกฤทธิ์ระงับความเจ็บปวดของหนูถีบจักร และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดที่สัมพันธ์กับการอักเสบในร่างกาย ที่จะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ
5. มีฤทธิ์ทำให้สงบระงับ สารสกัดจากเหง้าของขมิ้นอ้อยสามารถลดพฤติกรรมการสำรวจของหนูถีบจักรได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งยังสามารถช่วยยืดเวลาการนอนหลับได้ ทำให้ขมิ้นอ้อยยังมีคุณสมบัติในการทำให้สงบระงับ และสามารถนำมาผสมส่วนประกอบอื่นเพื่อใช้เป็นยาที่ช่วยให้นอนหลับดีขึ้นได้

ราคากกละ 50.00 บาท ติดต่อ คุณ ยุ้ย โทร. 0871217127 0871217127 ไอดีไลน์ yuitomss2

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 7 เดือน

โทรศัพท์ แอดไลน์

ขมิ้นอ้อย | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

1
รายการ

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ขายขมิ้นอ้อย สมุนไพรรักษามดลูก ต้านอนุมูลอิสระ
อาจารย์แพทย์แผนไทยเคยบอกว่า ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณเหมือนว่านชักมดลูกแต่จะทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยงช่องคลอดเยอะ น่าจะเหมาะกับสตรีวัยทอง
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0610236156
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ขมิ้นอ้อย
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เหง้า รสฝาดเฝื่อน แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เสมหะ แก้อาเจียน แก้หนองใน สมานลำไส้ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ใช้ภายนอกเอาเหง้าโขลกละเอียด พอกแก้ฟกช้ำบวม แก้เคล็ด อักเสบ แก้พิษโลหิต และบรรเทาอาการปวด รักษาอาการเลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ แก้ระดูขาว ขับประจำเดือน เหง้าผสมใบเทียนกิ่ง และเกลือเล็กน้อยตำละเอียด พอกหุ้มเล็บ เป็นยากันเล็บถอด
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ขมิ้นอ้อย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง” มีสรรพคุณของตำรับคือใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของขมิ้นอ้อยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา ตำรับ "ยาประสะไพล" มีส่วนประกอบของเหง้าขมิ้นอ้อยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ขนาดยาทั่วไป 4.5-9 กรัม
องค์ประกอบทางเคมี:
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), bisdemethoxycurcumin, demethoxycurcumin, dihydrocurcumin, tetrahydrodemethoxycurcumin, tetrahydrobisdemethoxycurcumin น้ำมันระเหยง่าย สารหลักคือสารกลุ่ม sesquiterpene ได้แก่ epicurzerenone 46.6%, curdione 13.7%
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
การศึกษาฤทธิ์ในการต้านจุลชีพที่พบในช่องปากของขมิ้นอ้อย โดยการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์บ้วนปากในท้องตลาด 5 ชนิด ทำการศึกษาในหลอดทดลอง โดยใช้สารสกัดเอทานอล 70% ของเหง้าขมิ้นอ้อย ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Streptococcus mutans, Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus และ Candida albicans โดยใช้สมการการถดถอยแบบเส้นตรง (linear regression method) ในการวัดการลดลงของเชื้อได้ 99.999% ภายใน 60 วินาที ผลการทดลองพบว่า สารสกัดของขมิ้นอ้อย มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อได้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ ในท้องตลาด ได้แก่ สูตร CP+EO(cetylpyridinium chloride (0.5 mg/mL), chamomile, myrrh tinctures, oils of Salvia melaleuca และ eucalyptus) และสูตร EO (thymol (0.6 mg/mL), eucalyptol (0.92 mg/mL), menthol (0.42 mg/mL) และ methyl salicylate (0.6 mg/mL) (Bugno, et al., 2007)
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
การศึกษาส่วนประกอบ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันระเหยง่าย ที่แยกได้จากเหง้าแห้งของขมิ้นอ้อย โดยใช้วิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ และสกัดด้วยตัวทำละลาย และทำการสกัดแยกส่วนสกัดย่อยของน้ำมันระเหยง่าย โดยใช้เทคนิค silica gel column chromatography พบสารประกอบ 36ชนิด ได้แก่ terpenes 17 ชนิด, alcohols 13 ชนิด และ ketones 6 ชนิด โดยพบว่าองค์ประกอบหลักที่พบคือ สาร epicurzerenone และ curzerene ปริมาณ 24.1 และ 10.4% ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันด้วยวิธีทางเคมี พบว่าน้ำมันระเหยง่ายขนาด 20 mg/ml ออกฤทธิ์ในระดับปานกลางถึงระดับดีมากในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ออกฤทธิ์ดีในการเป็น reducing power (เป็นการวัดความสามารถในการรีดิวซ์สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กซึ่งเป็นคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ) และออกฤทธิ์ระดับต่ำในการจับเหล็ก (เนื่องจากเหล็กอิสระที่มีอยู่ทั่วร่างกายสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ) และได้ทำการแยกส่วนสกัดย่อยของน้ำมันระเหยง่ายออกมา พบว่าส่วนสกัดย่อยที่ 4 มีองค์ประกอบหลักคือ สารบริสุทธิ์ 5-isopropylidene-3,8-dimethyl-1(5H)-azulenone แสดงฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าน้ำมันระเหยง่าย (Mau, et al., 2003)
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบ
การศึกษาสารบริสุทธิ์ curcumenol ที่แยกได้จากสารสกัด dichloromethane จากเหง้าแห้งขมิ้นอ้อย พบว่าออกฤทธิ์แรงในการลดอาการปวดในหนูถีบจักร ในหลายการทดสอบ ได้แก่ Writhing Test , Formalin และ Capsaicin โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน diclofenac, aspirin และ dipyrone ในการทดสอบ Writhing Test ใช้กรดอะซิติกฉีดเข้าช่องท้องของหนู เพื่อให้เกิดอาการเจ็บปวด หลังจากให้สารทดสอบขนาด 1-10 mg/kg เข้าทางช่องท้องแล้ว 30 นาที และนับจำนวนครั้งที่หนูเกิดการหดตัวของช่องท้องตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อ ภายในเวลา 20 นาที หลังฉีดกรดอะซิติก ผลการทดสอบพบว่าสาร curcumenol สามารถลดจำนวนการเกร็งของการเกิด writhingได้ดีกว่าสารมาตรฐานทั้ง 3 ชนิด โดยมีค่า ID50 ของสาร curcumenol, diclofenac, aspirin และ dipyrone เท่ากับ 22, 38, 133และ 162 ไมโครโมล/กิโลกรัม ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์ระงับปวดที่สัมพันธ์กับการอักเสบ (Inflammatory analgesia) โดยการฉีด formalin และ capsaicin การทดลอง formalin ทำโดยการฉีดสารทดสอบในขนาด 3-15 mg/kg เข้าทางช่องท้องหนู หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ฉีด formalin เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าหลังด้านซ้าย แล้วสังเกตพฤติกรรมการยกเท้าขึ้นเลียของหนู ใน 2 ช่วงคือ first phase (0-5 นาที หลังจากฉีด formalin) ซึ่งแสดงถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain) อีกช่วงหนึ่งคือ second phase (15-30 นาที หลังจากฉีด formalin) ซึ่งแสดงถึงการอักเสบ (inflammation phase) พบว่าสาร curcumenol สามารถลดการอักเสบระยะ second phase ได้ดีกว่าสารมาตรฐานทั้ง 3 ชนิด โดยมีค่า ID50 ของสาร curcumenol, diclofenac, aspirin และ dipyrone เท่ากับ 29, 34.5, 123 และ 264 ไมโครโมล/กิโลกรัม ตามลำดับ การทดสอบด้วย capsaicin ทำโดยการฉีดสารทดสอบในขนาด 1-10 mg/kg เข้าทางช่องท้องหนู หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ฉีด capsaicin เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าหลังด้านขวา แล้วสังเกตพฤติกรรมการยกเท้าขึ้นเลียของหนู เป็นเวลา 5 นาที พบว่าสาร curcumenol สามารถลดการปวดเฉียบพลัน ได้ดีกว่ายามาตรฐาน diclofenac โดยมีค่า ID50 ของสาร curcumenol, diclofenac และ dipyrone เท่ากับ 12, 47 และ 208 ไมโครโมล/กิโลกรัม ตามลำดับ กลไกการออกฤทธิ์ลดปวด และลดการอักเสบของสาร curcumenol นี้ไม่ได้ผ่าน opioid system เนื่องจากไม่ให้ผลการทดสอบด้วยวิธี hot plate (Navarro, et al., 2002)
ศึกษาสาร sesquiterpenoides 2 ชนิด ที่สกัดได้จากเหง้า เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในหลอดทดลอง ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX-2 และ nitric oxide synthase (iNOS) (หากเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดถูกกระตุ้น จะมีการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ พรอสตาแกลนดิน และไนตริกออกไซด์ ตามลำดับ) โดยทำการทดสอบกับเซลล์แมคโครฟาจ ชนิด raw 264.7 ของหนูถีบจักร ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่า สารทั้ง 2 ชนิด คือ beta-turmerone และ ar-turmerone มีฤทธิ์แรงในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทั้งสองชนิด โดยยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.6 และ 5.2 microg/mL ตามลำดับ และยับยั้ง iNOS โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.6 และ 3.2 microg/mLตามลำดับ (Lee, et al, 2002)
ฤทธิ์ทำให้สงบระงับ
สารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยที่สกัดด้วย 80% เอทานอล โดยวิธีการหมัก นำมาทดสอบโดยการวัดระยะเวลาการนอนหลับ และพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (locomotor activity)ในหนูถีบจักรเพศผู้ พบว่าสารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยขนาด 1 และ 2 กรัม/กิโลกรม ของน้ำหนักหนู โดยการป้อนทางปาก สามารถยืดระยะเวลาการนอนหลับของหนุถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้นอนหลับด้วยยา pentobarbital ขนาด 50 มก./กก. (ฉีดเข้าทางช่องท้อง) นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยขนาด 1 ก./กก. เมื่อป้อนทางปากสามารถลดพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ในหนูถีบจักรที่กระตุ้นด้วย methamphetamine ขนาด 3 มก./กก. (ฉีดเข้าทางช่องท้อง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)(พัฒนชัย และสัจจา, 2541)
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,250 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)
การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ในหลอดทดลองของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขมิ้นอ้อย นำมาทดสอบความปลอดภัยต่อเซลล์เยื่อบุผนังในช่องปาก โดยทำการทดลองกับ LMF cell line ที่ได้จากเยื่อบุผนังช่องปาก (oral mucosa) โดยใช้เทคนิค Trypan blue dye exclusion assay โดยทำการฉีดสารสกัดเข้าไปในเซลล์ และวัดความมีชีวิตรอดของเซลล์(Cell viability) ทั้งแบบระยะสั้น (short-term assay) ที่เวลา 0, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง หลังได้รับสารสกัด และวัดการเจริญเติบโตของเซลล์ (Cell growth) ระยะยาว (long-term assay) ที่ 1, 3, 5 และ 7 วัน ผลการทดลองพบว่า การทดสอบที่ระยะสั้น เซลล์ยังคงมีชีวิตอยู่ และในระยะยาว พบว่าเ

ราคา 100.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน

แอดไลน์

ขมิ้นอ้อย | ชฎา - เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช

1
รายการ

ชฎา | เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
จำหน่าย***ขมิ้นอ้อย***ราคากก.ละ60บ. สั่ง5กก.คิดค่าส่ง70บ.//สั่ง10กก.คิดค่าส่ง100บ.(ส่งขั้นต่ำ5กก.)...โทร.081-1882332

ราคากก.ละ 60.00 บาท โทร. 0811882332 0811882332 ไอดีไลน์ http://line.me/ti/p/qSaXYdpkIZ

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 9 เดือน

โทรศัพท์ แอดไลน์

 ขมิ้นอ้อย | สวนเกษตรชัญญ์ยมล - คอนสวรรค์ ชัยภูมิ

1
รายการ

สวนเกษตรชัญญ์ยมล | คอนสวรรค์ ชัยภูมิ
ขมิ้นอ้อยหรือขมิ้นขึ้น เป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญใช้ประกอบในส่วนสมุนไพรต่างๆได้หลายชนิด เช่นรักษาโรคผิวหนัง แผลสดหรือเครื่องสำอาง ขายเป็นกิโลกรัมๆละ 380 บาทรวมค่าจัดส่ง EMS หรือเคอรี่ทั่วไทย

ราคากิโลกรัมละ 380.00 บาท ติดต่อ บุรณ์รัตน์ ไชยรัตน์ โทร. 0902651484 0874540246 ไอดีไลน์ phelp89

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 11 เดือน

โทรศัพท์ แอดไลน์

ขายพันธุ์ขมิ้นอ้อย | เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย - เมืองระยอง ระยอง

1
รายการ

เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย | เมืองระยอง ระยอง
สรรพคุณของขมิ้นอ้อย
เหง้าขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่ง หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน (เหง้า)[3],[4]
ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ใช้เป็นเป็นยาชำระโลหิต (เหง้า)[3],[4],[9]
ช่วยลดความดันโลหิต (เหง้า)[5]
ในเหง้าหรือในหัวสดของขมิ้นอ้อย มีสารหอมชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)[9]
ช่วยแก้อาการหืดหอบหายใจไม่เป็นปกติ (เหง้า)[5]
เหง้าสดนำมาตำผสมกับการบูรเล็กน้อย นำมาดอง (ไม่แน่ใจว่าดองหรือผสม) กับน้ำฝนกลางหาว ใช้รินเอาแต่น้ำเป็นยาหยอดตา แก้อาการตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาพิการ (เหง้าสด)[4]
ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)[2],[5] ช่วยแก้ไข้ทั้งปวง (เหง้า)[9]
ใช้รักษาอาการหวัด ด้วยการใช้หัวขมิ้นอ้อย อบเชยเทศ และพริกหาง นำมาต้มแล้วเติมน้ำผึ้งใช้รับประทานเป็นยาแก้หวัด (เหง้า)[1],[9]
ช่วยแก้อาเจียน (เหง้า)[2],[5]
ช่วยแก้เสมหะ (เหง้า)[9]

เหง้าใช้เป็นยาแก้ลม (เหง้า)[4],[9]
ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้เกิดการบีบตัว จึงช่วยในการขับลม ช่วยแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้ (เหง้า)[3],[9]
เหง้าใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค)[2],[5],[7] เหง้าสดประมาณ 2 แว่น เมื่อนำมาบดผสมกับน้ำปูนใส สามารถนำมาใช้ดื่มเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้ (เหง้าสด)[1],[7]
เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น ๆ จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ โดยนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้โรคกระเพาะ (เหง้า)[5]
ช่วยสมานลำไส้ (เหง้า)[3],[4]
น้ำคั้นจากใบของต้นขมิ้นอ้อย ใช้เป็นยาแก้ท้องมาน โดยขับออกทางปัสสาวะ (ใบ)[9]
ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน และเปลือกยางแดง นำมาผสมกันทำเป็นยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยางใส ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ ใช้กินเช้าและเย็น (เหง้า)[7]
เหง้าและใบมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เหง้า, ใบ)[4],[9]
ช่วยแก้หนองใน (เหง้า)[9]
ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้าหนักประมาณ 12 กรัม, ขมิ้นชัน 10 กรัม, คำฝอย 6 กรัม, ฝางเสน 8 กรัม, เม็ดลูกท้อ 8 กรัม, หง่วงโอ้ว 8 กรัม และโกฐเชียง 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือใช้ดองกับเหง้าเป็นยารับประทาน (เหง้า)[3]
ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)[3],[4]
ช่วยแก้ระดูขาวของสตรี (เหง้า)[4],[9]
เหง้าใช้เป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี (เหง้า)[10]
ช่วยรักษาซีสต์ในรังไข่ของสตรี (เหง้า)[3]
ช่วยแก้อาการตับและม้ามโต (เหง้า)[3]
แก้หัดหลบใน ด้วยการใช้เหง้า 5 แว่น และต้นต่อไส้ 1 กำมือ นำมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยาก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ถ้วยชา (เหง้า)[7]
เหง้าใช้เป็นยาสมานแผล (เหง้า)[2],[4]
เหง้านำมาหุงกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวหรือเหง้าของขมิ้นอ้อยนั้นมีรสฝาด (สาร Tannin) อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำบวมได้อีกด้วย (เหง้า)[1]
เหง้าใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้กลากเกลื้อน แก้ผิวหนังอักเสบ (เหง้า)[6]
ใช้เป็นยารักษาฝี ฝีหนองบวม ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยสด, ต้นและเมล็ดของเหงือกปลาหมอ อย่างละเท่ากันมากน้อยตามต้องการ นำมาตำรวมกันจนละเอียดแล้วใช้พอกเช้าเย็น หรือหากเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่เผาไฟให้ไหม้ ส่วนหัวขมิ้นอ้อยนั้น ให้เอามาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา สามารถใช้ได้ทั้งกิน ทาหรือพอก (เหง้า)[1],[9]

ช่วยแก้ฝีในมดลูกของสตรี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 3 ท่อน, บอระเพ็ด 3 ท่อน, ลูกขี้กาแดง 1 ลูก (นำมาผ่าเป็น 4 ซีก แล้วใช้เพียง 3 ซีก) แล้วนำมาต้มรวมกับสุรา ใช้กินเป็นยาแก้ฝีในมดลูกได้ (เหง้า)[7]
ช่วยแก้เสี้ยน ถูกหนามตำ ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 5 แว่น ดอกชบา 5 ดอก และข้าวเหนียวสุกประมาณ 1 กำมือ นำมาตำแล้วใช้พอก จะสามารถช่วยดูดเสี้ยนและหนองที่ออกจากแผลได้ (เหง้า)[1]
ใช้รักษาอาการปวด ปวดบวม แก้บวม ฟกช้ำ แก้ช้ำใน แก้อักเสบ แก้อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ดอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ดี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นสด ๆ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาพอกบริเวณที่มีอาการบวม จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ฟกชกช้ำบวมได้ (เหง้า)[1],[3],[4],[9] ส่วนใบก็ช่วยแก้ฟกช้ำบวมได้เช่นกัน (ใบ)[4]
ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (เหง้า)[4]
น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ยับยั้งและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝีหนองที่แผล เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น[7]
เหง้านำมาใช้เข้าตำรับยาจู้ (ยานวดประคบ) ใช้แก้อาการปวดเมื่อย เจ็บตามร่างกาย (เหง้า)[5]
เหง้าใช้ผสมในยาระบายเพื่อทำให้ยาระบายมีฤทธิ์น้อยลง (เหง้า)[2],[9]
เหง้าใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง[5] รักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก (เหง้า)[4]
ขมิ้นอ้อย เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรายาไทยแผนโบราณเพื่อใช้รักษารักษาอาการนอนไม่หลับ ซึ่งมีหลักฐานงานวิจัยที่พอระบุได้ว่าเมื่อใช้สารสกัดจากเหง้าขมิ้นอ้อยด้วย 80% ethanol กับหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยยืดระยะเวลาการนอนหลับของหนูถีบจักรได้[8]
ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณทางยาเหมือนกับขมิ้นชัน[6] ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน 55 ข้อ !
วิธีใช้ขมิ้นอ้อย
ใช้ภายใน ให้นำเหง้ามาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยา โดยใช้ครั้งละประมาณ 5-10 กรัม หากใช้เป็นยารักษาภายนอก ให้นำมาบดเป็นผงหรือทำเป็นยาเม็ดตามตำรายาที่ต้องการ[3]
หัวขมิ้นอ้อยว่านเหลือง
ข้อควรระวังระวังในการใช้ขมิ้นอ้อน
สำหรับผู้ที่เลือดน้อยหรือพลังหย่อนและสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานขมิ้นอ้อย[3] และมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่าการรับประทานขมิ้นอ้อยในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และในบางรายนั้นมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ หากใช้แล้วมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้ทันที (ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่ยืนยัน เพราะขาดแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นอ้อย
สารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย ได้แก่ Curcumin, Curdione, Curzerene, Furanodiene, Furanodienone, Zederone, Zedoarone, แป้ง และน้ำมันระเหยประมาณ 1-1.5% เป็นต้น[3]
เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าในสัตว์ทดลอง จะพบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูก และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกไม่ให้มีการเติบโตหรือขยายตัวได้อีกด้วย[3]
ในกรณีเมื่อนำขมิ้นอ้อยมาให้สัตว์ทดลองกินจะพบว่า ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกระเพาะและลำไส้ของสัตว์ทดลองให้เกิดการบีบตัว (คล้ายกับฤทธิ์ของขิง) ดังนั้น จึงสามารนำมาใช้เพื่อช่วยในการขับลม แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้[3]
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากขมิ้นอ้อยสามารต่อต้านเชื้อ Staphylococcus หรือเชื้อในลำไส้ใหญ่ Columbacillus หรือเชื้ออหิวาต์ได้[3]
ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่ผิวหนัง ที่เล็บ ที่ซอกนิ้วเท้า[7]
มีรายงานทางคลินิกที่ได้นำสารที่สกัดจากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าบริเวณปากมดลูกหรือบริเวณเส้นเลือดดำของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าเนื้องอกมีขนาดเล็กลงหรือมีอาการเกือบจะเป็นปกติ และเมื่อได้ทำการรักษาต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าในจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจำนวน 80 คน หายขาดจากโรค 30 คน มีอาการที่ดีขึ้นมากจำนวน 30 คน และอีก 20 คนพบว่ามีอาการดีขึ้น[3]
สารสกัดจากเหง้าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์สงบประสาทโดยไปเพิ่มฤทธิ์ของ pentobarbital ต่อการนอนหลับ และลด locomotor activity ของหนูทดลองโดยอาจออกฤทธิ์ผ่าน muscarinic receptor และ opiate receptor ในการกดสมองส่วนกลาง[8]
ประโยชน์ของขมิ้นอ้อย
นอกจากจะใช้เหง้าเป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อใช้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น การนำมาตำใส่แกงต่าง ๆ ร่วมกับจ๊ะไค เป็นต้น[5],[6]
สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีเหลืองให้กับอาหารบางชนิดได้ เช่น ขนมเบื้องญวน ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง แกงเหลือง แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ เนย มัสตาร์ด ผักดอง เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีกด้วย[1],[6]
เหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้งโชติ ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายและเหมาะสำหรับทารก[10]
ในอินโดนีเซียจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานเป็นผัก[10]
ในอินเดียใช้เหง้าทำเป็นเครื่องหอม[10]
เหง้าใช้เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปากได้[10]
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สวยงาม ด้วยการเหง้าขมิ้นอ้อย หัวแห้วหมู พริกไทย และกระชาก (ไม่แน่ใจว่าคืออะไร) นำมาทุบรวมกันแล้วนำมาดองด้วยน้ำผึ้ง ใช้รับประทานก่อนเข้านอนทุกคืน[7]
มีข้อมูลระบุว่าขมิ้นอ้อยถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางสมุนไพร ที่นำมาใช้มาการขัดหน้า ขัดผิว ช่วยแก้สิว แก้ฝ้า ช่วยลบเลือนจุดด่างดำ แก้โรคผดผื่นคัน และทำให้ผิวพรรณดูผุดผ่องงดงาม ผิวนุ่มและเรียบเนียน

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ขมิ้นอ้อย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 90-91.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “ขมิ้นอ้อย Zedoary”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 95.

ราคา 20.00 บาท ติดต่อ อังศรา ไพฑูรย์ โทร. 0876069955 0876069955 ไอดีไลน์ @395twood

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 0 เดือน

โทรศัพท์ แอดไลน์

ขมิ้นอ้อย | รินพฤกษาโอสถ - พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี

1
รายการ

รินพฤกษาโอสถ | พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี
เหง้าขมิ้นอ้อย ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่ง หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ช่วยในการขับลม ช่วยแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้
ต้นเหง้าสำหรับปลูก 80 แบบกิโลกรัมละ 120 บาท สนใจติดต่อได้ที่ 081-5652248 line id: ppgolden

ราคากิโลกรัมละ 120.00 บาท ติดต่อ ไพริน ทองคูณ โทร. 0815652248 0815652248

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 5 ปี 5 เดือน

โทรศัพท์

ขมิ้นอ้อย | โบตั๋นพันธุ์ไม้ - เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช

1
รายการ

โบตั๋นพันธุ์ไม้ | เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
จำหน่าย
ไพล/ขมิ้นชัน/ขมิ้นอ้อย/มะกรูด
ราคากก.ละ 60บ.
สั่งขั้นต่ำ 5กก. คละได้
สั่ง5-8กก. ค่าส่ง80บาท
9-12กก.ค่าส่ง150บาท
#ไพล #ไพลสด #หัวไพล #ไพลเหลือง #ไพลทำยา #มะกรูด #ขมิ้น #ขมิ้นชัน #ขมิ้นอ้อย
สนใจติดต่อ idline : ploylulla

ราคากิโลกรัมละ 60.00 บาท ติดต่อ โบตั๋น โทร. 0822780281

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 4 ปี 1 เดือน

ต้นขมิ้นแดงเวียดนามโลละ1000บาทพันธุ์ไม้หายาก | สายทองพืชสมุนไพร - บางพลี สมุทรปราการ

1
รายการ

สายทองพืชสมุนไพร | บางพลี สมุทรปราการ
ขมิ้นแดงโลละ1000สินค้านำเข้าจากเวียดนาม
ขมิ้นเวียดนาม

ราคากิโลกรัมละ 1,000.00 บาท ติดต่อ สายทอง พิลัยพงษ์ โทร. 0992935651 0992935651 ไอดีไลน์ @saithong99

ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว เปิดร้านมาแล้ว 5 ปี 7 เดือน

โทรศัพท์ แอดไลน์