ค้นหาสินค้า

เตยทะเล

จำหน่ายต้นเตยทะเล กล้าและกิ่งพันธุ์เตยทะเล สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

เมล็ดพันธุ์เตยทะเล

เมล็ดพันธุ์ เตยทะเล
เมล็ดพันธุ์ เตยทะเล เมืองภูเก็ต ภูเก็ต

ราคา 2.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์เตยทะเล

ภูเก็ต (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์เตยทะเล ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยทะเล (3681)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus odoratissimus L.f.
ชื่อวงศ์:  Pandanaceae
ชื่อสามัญ:  Screw Pine
ชื่อพื้นเมือง:  ลำเจียก การะเกด ปะหนัน, ปาแนะ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีรากอากาศงอกออกมาจากลำต้น ลำต้นกลมเป็นข้อถี่ๆ
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับกระจุกอยู่ที่ปลายยอด รูปขอบขนานเรียวยาวผิวเรียบมัน ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นร่องตามยาว ขอบมีหนามแหลมคม ถี่ ๆ ตลอดใบ ใบประดับสีขาวเรียวยาว เป็นกาบหุ้ม
    ดอก  ช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล มีเฉพาะดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอกห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาวมีกลิ่นหอม  ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก สำหรับต้นที่เรียกว่าลำเจียกต้นจะมีเฉพาะดอกตัวผู้ไม่มีกลีบดอกเหมือนกัน
    ฝัก/ผล  ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุก มองดูคล้ายสับปะรดรูปรี เมื่อแก่ผลจะเป็นสีแสด
การปลูก:  ขึ้นตามที่ชุ่มน้ำหรือมีน้ำขัง
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ใบใช้ในการทำสาด (เสื่อ) ใช้ผสมอาหารหรือขนมให้น่ารับประทาน (สีเขียว) และมีกลิ่นหอม
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    รากอากาศ แก้กษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับนิ่ว แก้หนองใน แก้หมาดขาว(ระดูขาว) ขับเสมหะ ราก แก้พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ   
    -    ดอก แก้ลม บำรุงหัวใจ แก้ไข้
    -    ต้น ใช้เป็นยาแก้กษัยน้ำเบาพิการ หรือเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน
    -    ใบ มีรสเย็นสบาย เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น รักษาโรคผิวหนัง โรคหัด


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยหอม (3682)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อวงศ์:  PANDANACEAE
ชื่อสามัญ:  Pandanus
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ  มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
    ดอก  เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
    ฝัก/ผล  ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้
การปลูก:  ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะ หรือที่ดินชื้น
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดรำไร แต่ก็ทนต่อแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  ปักชำลำต้น  หรือกิ่งแขนง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ใบ
การใช้ประโยชน์:
     -    ไม้ประดับ
     -    สมุนไพร
     -    ใช้เป็นภาชนะห่อและใส่เพื่อปรุงกลิ่น อาหาร คาวหวาน  และยังเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกตัดใบออกจำหน่ายเป็นการค้า
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรพคุณทางยา:
     -    ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ
     -    รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน