ค้นหาสินค้า

มธุรดา

ขายต้นมธุรดา ราคาถูก การปลูกมธุรดา วิธีดูแล และการขยายพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะมธุรดา ดอกและสรรพคุณ

ต้นมธุรดา

มธุรดา
มธุรดา บางแพ ราชบุรี

ราคา 150.00 บาท /ต้น

มธุรดา (ไม้เลื้อย)
มธุรดา (ไม้เลื้อย) นครราชสีมา

ราคา 300.00 บาท

มธุรดา หรือรุ่งอรุณ สีส้มโอรส ดอกใหญ่ ดอกดก
มธุรดา หรือรุ่งอรุณ สีส้มโอรส ดอกใหญ่ ดอกดก บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ราคา 150.00 บาท

อรุณรุ่ง / มธุลดา
อรุณรุ่ง / มธุลดา วังน้อย พระนครศรีอยุธยา

ราคา 200.00 บาท /กระถาง 11นิ้ว

มธุรดา รุ่งอรุณ Red Trumpet Vine ไม้เลื้อย
มธุรดา รุ่งอรุณ Red Trumpet Vine ไม้เลื้อย เมืองราชบุรี ราชบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

มธุรดาไม้พุ่มเลื้อยดอกสวยราคาต้นละ390บาท
มธุรดาไม้พุ่มเลื้อยดอกสวยราคาต้นละ390บาท บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 390.00 บาท /ต้น?

มธุรส
มธุรส ชลบุรี

มธุรดา - Chinese trumpet vine (กทม)
มธุรดา - Chinese trumpet vine (กทม) บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ราคา 150.00 บาท /ตัน

มธุรดา
มธุรดา ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

ราคา 100.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นมธุรดา

กรุงเทพมหานคร (3 ร้าน)

ชลบุรี (1 ร้าน)

นครราชสีมา (1 ร้าน)

พระนครศรีอยุธยา (1 ร้าน)

ราชบุรี (2 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นมธุรดา ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้ามธุรดา

มธุรดา
มธุรดา องครักษ์ นครนายก

ราคา 60.00 บาท

มธุรดา Chinese Trumpet Vine
มธุรดา Chinese Trumpet Vine เมืองราชบุรี ราชบุรี

ราคา 7.00 บาท /ต้น

(1ต้น) ต้น มธุรดา รุ่งอรุณ
(1ต้น) ต้น มธุรดา รุ่งอรุณ เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 199.00 บาท /ต้น

มธุรดา
มธุรดา เมืองลำปาง ลำปาง

มธุรดา
มธุรดา ไทรน้อย นนทบุรี

จังหวัดที่ขายต้นกล้ามธุรดา

นครนายก (1 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ราชบุรี (1 ร้าน)

ลำปาง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้ามธุรดา ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมธุรดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Campsis grandiflora (Thunb.) K.Schum.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Morning calm, Chinese trumpet creeper, Chinese Trumpet Vine

ชื่ออื่นๆ : รุ่งอรุณ

ลำต้น : เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยผลัดใบ อายุหลายปี เลื้อยเกาะโดยรากพิเศษออกเป็นกระจุกรอบข้อ กิ่งแก่สีน้ำตาล เปลือกแตกเป็นลายทาง

ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว

ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีส้ม ออกดอกเกือบตลอดปี

ผล : ไม่ค่อยติดผล ผลเป็นฝักยาว ฝักอ่อนสีเขียว

เมล็ด : เมล็ดแบนและมีปีก

มธุรดา

การขยายพันธุ์ของต้นมธุรดา

ปักชำ

การดูแลต้นมธุรดา

ปลูกได้ในดินร่วน ระลบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมธุรดา

นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรขับเสมหะ

ประโยชน์ของต้นมธุรดา

ปลูกประดับซุ้มไม้เลื้อยให้ร่มเงา ปลูกประดับตามรั้ว หรือปลูกลงกระถาง


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมธุรดา (3833)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Campsis grandiflora
ชื่อวงศ์:    BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ:    Morning Calm, Chinese trumpet creeper
ชื่อพื้นเมือง:    -
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้โตเร็ว พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดกลาง บางครั้งอาจเลื้อยได้ไกลถึง 6 เมตร มันจะใช้รากพิเศษที่ออกเป็นกระจุกรอบกิ่งแก่สีน้ำตาลเกาะตามคาคบไม้ หรือซุ้มต้นไม้ที่เราจัดไว้ เปลือกของกิ่งจะแตกเป็นลายทาง
    ใบ    เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) มีใบย่อย 7-9 ใบ รูปไข่ ขนาด 3-5x5-7 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย (serrate)
    ดอก    ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกรูปแตร กลีบดอกมีสีส้มอมแดง หรือสีโอรส ส่วนปลายดอกแยก ออกเป็น 5 กลีบ รูปกลมซ้อนเกยกัน เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 4-6 ซม.
ฤดูกาลออกดอก:    ออกตลอดปี
การขยายพันธุ์:   ปักชำ
การดูแลรักษา:  ชอบดินระบายน้ำดี และชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด:    ญี่ปุ่นและจีน


ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของดาหลา (3571)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อวงศ์:  Zingiberales
ชื่อสามัญ:  Torch  Ginger
ชื่อพื้นเมือง:  กาหลา, กะลา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
    ใบ  มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
    ดอก  ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจริงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้  สามารถปลูกได้ทุกฤดู ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ แยกเง้า ปักชำหน่อแก่
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
    -    ไม้ตัดดอก
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ดอก
การปรุงอาหาร:  นำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้  หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือปรุงแบบยำ ใส่เนื้อหมูนึ่งสุกหั่นบางๆ และใส่แตงกวาจะช่วยให้มีรสหวาน
สรรพคุณทางยา:  ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ