ค้นหาสินค้า

ต้นผักหวาน

จำหน่ายต้นผักหวาน กล้าและกิ่งพันธุ์ผักหวาน สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ผู้ให้การสนันสนุน

กิ่งผักหวาน

ต้นกล้าต้นผักหวาน

ผักหวานสายน้ำผึ้ง พันธุ์ผักหวานสายน้ำผึ้ง
ผักหวานสายน้ำผึ้ง พันธุ์ผักหวานสายน้ำผึ้ง องครักษ์ นครนายก

ราคา 10.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าต้นผักหวาน

นครนายก (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าต้นผักหวาน ทั้งหมดในเว็บ

กิ่งพันธุ์ต้นผักหวาน

กิ่งผักหวาน
กิ่งผักหวาน เมืองตรัง ตรัง

ราคา 3.00 บาท /กิ่ง

จังหวัดที่ขายกิ่งพันธุ์ต้นผักหวาน

ตรัง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด กิ่งพันธุ์ต้นผักหวาน ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นผักหวานป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melientha suavis Pierre

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เปลือกต้นเรียบ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ กิ่งก้านเปราะ หักง่าย

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ก้านใบสั้น

ดอก : ออกเป็นช่อยาวตามกิ่งแก่หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ใบประดับดอกเป็นรูปไข่ปลายแหลม ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนก้านดอกเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะมีกลีบสีเขียวอ่อน ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบดอกเป็นสีเขียวเข้ม และก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้

ผล : เป็นผลเดี่ยวติดกันเป็นพวง ผลเป็นรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้มเมื่อผลสุก

ต้นผักหวาน

การขยายพันธุ์ของต้นผักหวานป่า

เพาะเมล็ด เพาะชำราก และตอนกิ่ง

การดูแลต้นผักหวานป่า

ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ชอบแดดรำไร

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักหวานป่า

- ใบ แก้อาการปวดหัว ปวดท้อง ปวดในข้อ รักษาแผล

- ราก แก้อาการปวดหัว แก้ไข้ แก้อาการร้อนใน แก้ปวดท้อง แก้อาการปวดมดลูก แก้น้ำดีพิการ รักษาแผล แก้อาการปวดในข้อ

- ยอด ลดไข้ แก้อาการร้อนใน

- ยาง แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว

- แก่น แก้อาการปวดตามข้อ

- ลำต้น เพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตร

ความเชื่อของต้นผักหวานป่า

ชาวกะเหรี่ยงไม่นิยมปลูกในบ้านเพราะเชื่อว่าทำให้คนในบ้านป่วย

ประโยชน์ของต้นผักหวานป่า

- ยอดและใบอ่อน มาปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งต้ม ผัด แกง

- ผลสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้ และเป็นอาหารของนกและสัตว์ต่างๆ

- นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เช่น น้ำผักหวานป่า ไวน์ คุกกี้ ขนมถ้วย ข้าวเกรียบ ทองม้วน เป็นต้น

- มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

- มีเบตาแคโรทีนสูง ช่วยในการบำรุงสายตา

- มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อหรือเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายจากมลพิษทางอากาศ ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังจากรังสีแสงแดด ช่วยทำให้ผิวหนังไม่เหี่ยวย่นหรือแก่ก่อนวัย

- มีวิตามินบี 2 ที่ช่วยป้องกันโรคปากเปื่อยหรือโรคปากนกกระจอก

- มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยในการขับถ่ายและเป็นยาระบายอ่อน ๆ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์ ของต้นผักหวานบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นผักหวานบ้าน : Sauropus androgynous(L.) Merr.

ชื่อภาษาอังกฤษของต้นผักหวานบ้าน : Star gooseberry

ชื่ออื่นๆ : ผักหวาน , ผักหวานก้านตง, จ๊าผักหวาน, ผักหลน, มะยมป่า, ผักหสานใต้ใบ, นานาเซียม

ลำต้นของต้นผักหวานบ้าน : ลำต้นกลมหรือค่อนข้างเป็นเหลี่ยมตั้งตรงมีความแข็ง เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีเขียวเข้มผิวเรียบ

ใบของต้นผักหวานบ้าน : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ใบมีสีเขียวเข้มปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นสีขาวตรงกลางใบหลังใบเป็นสีเขียวเข้มส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน

ดอกของต้นผักหวานบ้าน : เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้สีน้ำตาลแดง ดอกเพศเมียสีเขียวอมเหลือง

ผลของต้นผักหวานบ้าน : เป็นผลเดี่ยวห้อยลง มีลักษณะกลมแป้นคล้ายผลมะยม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกหรือแก่จัดมีสีขาวสีชมพูหรือสีขาวอมเหลือง เปลือกผลเรียบ ที่ขั้วผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่

เมล็ดของต้นผักหวานบ้าน : เป็นรูปครึ่งวงกลม เปลือกเมล็ดหนาและแข็งเป็นสีน้ำตาลเข้ม

ต้นผักหวาน

การขยายพันธุ์ของต้นผักหวานบ้าน

การเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง

การดูแลต้นผักหวานบ้าน

ปลูกได้ในดินร่วนที่มีความชุ่มชื้นและระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักหวานบ้าน

- ใบอ่อน และยอดอ่อน กระตุ้นการหลั่งน้ำนมและเพิ่มน้ำนมหลังคลอดบุตร ช่วยต้านอนุทูลอิสระ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคภูมิแพ้อากาศ กระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น รักษาแผลในจมูก พอกรักษาฝี

- น้ำยาง ใช้หยอดรักษาตาอักเสบ

- ดอก ช่วยขับเลือดเสีย

- ราก ลดไข้ รักษาโรคคางหมู ทารักษาแผล พอกรักษาฝี

ประโยชน์ของต้นผักหวานบ้าน

- ปลูกเป็นไม้ประดับ หรือปลูกเป็นผักสวนครัวก็ได้

- ใบและยอดอ่อน สามารถรับประทานสด และใช้ประกอบอาหาร

- ใบ สามารถแปรรูปเป็นชา หรือเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ

- นิยมใช้ใบเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคนม เพื่อให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น


การเพาะผักหวานป่า (3727)

เมล็ดผักหวานป่าไม่สามารถเก็บไว้ได้นานเหมือนเมล็ดพืชชนิดอื่น หากได้เมล็ดสุกมาแล้วต้องรีบขยี้เอาเนื้อในออกให้หมด นำไปล้างน้ำเอาเฉพาะเมล็ดที่จมน้ำเท่านั้น นำเมล็ดที่คัดแล้วมาผึ่งในร่มให้แห้ง นำคลุกยากันเชื้อรานำลงเพาะ วัสดุเพาะจะเป็นแกลบดำ ทรายหยาบ ใบไม้ผุ หรือแม้แต่กระสอบป่านคลุมเมล็ดก็ได้ ประมาณ 10 วัน จะเริ่มแทงราก ให้นำลงปลูกได้ หรือหากจะนำลงถุงเพาะก่อนก็ได้ แต่ถุงที่จะลงเพาะต้องใช้ถุงขนาดยาวไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้รากแก้วผักหวานป่าขดเป็นวง ลงถุงเพาะแล้วไม่เกิน 2 เดือน ต้องนำลงปลูกในดิน หากปล่อยไว้นานรากจะขดซึ่งเป็นปัญหาเมื่อนำลงปลูก ส่วนเมล็ดที่ไม่งอกก็ให้สังเกตที่เมล็ดว่าเมื่อเราเพาะไปแล้ว 5-6 วัน หากเปลือกนอกไม่แตกให้เห็นเนื้อในของเมล็ด ให้สันนิษฐานไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องเน่า

   

การขุดหลุมปลูกก็ไม่ต้องลึก มากนัก แต่ถ้าเพาะลงถุงต้องให้ลึกเท่ากับถุงเพาะ ปลูกแล้วประมาณ 1-2 เดือน ยอดจะโผล่ รดน้ำทำบังแดดให้ การเติบโตอยู่ที่การดูแลรักษา ส่วนปุ๋ยควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าหรือหากนำไปหมักก่อนยิ่งดี โรคก็พวกรากเน่า หากแฉะมากเกินไป ควรปลูกให้สูงจากพื้นเดิม พวกหนอนกินใบ เจาะลำต้น ตอนโตขึ้นก็พวกแมงกินูนกัดกินใบ ท่านที่พลาดโอกาสปีนี้ก็ให้รอปีหน้า กลางมีนาคมให้เริ่มสอบถามผู้มีแหล่งเมล็ดพันธุ์