โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของส้มโอ โรคส้มโอโรคแคงเกอร์สาเหตุ เชื้อแบคทีเรียอาการ จะพบได้ทั้งบนใบ กิ่งและผล ลักษณะแผลค่อนข้างกลม มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ต่อมาแผลจะนูนและขยายใหญ่ขึ้น ถ้าอาการรุนแรงอาจจะพบยางไหลออกมาจากบริเวณแผลได้การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยสารเคมีที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 45-60กรัม/น้ำ 20 ลิตรโรครากเน่าโคนเน่าสาเหตุ เชื้อรา ไฟทอฟธอราอาการ ใบเหลือง เหี่ยวคล้ายขาดน้ำ รากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะมีสีน้ำตาล เปื่อยยุ่ยและลามไปถึงโคนต้นการป้องกันกำจัด พื้นที่ปลูกควรมีการจัดการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง การใช้สารเคมีควรใช้สารเมทาแลคซิล หรือ โฟเซททิล อลูมินั่ม ราดหรือทาบริเวณโคนต้นและราก หรือใช้ต้นตอที่ต้านทานโรคนี้ เช่น ส้มโอพล เป็นต้นโรคทริสเตซ่าสาเหตุ เชื้อไวรัสทริสเตซ่าอาการ ใบจะมีอาการด่างเขียวเหมือนเป็นจ้ำ ใบบิดเบี้ยวมีอาการเส้นใบแตก เปลือกผลมีสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ลำต้นจะพบอาการเนื้อไม้เป็นแอ่งบุ๋มหรือหนามเล็กๆ ต้นส้มที่เป็นโรคจะทรุดโทรม ใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กและร่วง ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจทำให้ต้นส้มตายได้การป้องกันกำจัดใช้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงแรงและปลอดโรค กำจัดแมลงที่เป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนส้ม ตัดต้นส้มเป็นโรคทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคแมลงศัตรูส้มโอเพลี้ยไฟการระบาดของเพลี้ยไฟ จะทำให้ใบอ่อนไม่พัฒนา ดอกร่วงหล่น ผลอ่อนบิดเบี้ยว ผลที่ถูกทำลายจะปรากฏรอยแผลสีเทาเงินขยายตัวเป็นวงจากบริเวณขั้วลงส่วนล่างของผล ช่วงระบาดรุนแรงจะเกิดในช่วงอากาศแห้งและฝนตกน้อยการป้องกันกำจัด ใช้คาร์โบซัลแฟน อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ เพอร์มีธริน อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตรหนอนชอนใบทำลายส้มโอในระยะแตกใบอ่อน ตั้งแต่แรกปลูกจนถึงก่อนให้ผลผลิต ตัวหนอนจะชอนเข้าไปกัดกินในระหว่างชั้นของผิวใบและเคลื่อนย้ายภายในใบ ทำให้เกิดโพรงใต้ผิวใบคดเคี้ยวไปมาทั้งหน้าใบและหลังใบ ใบจะบิดเบี้ยวและร่วงหล่น ระบาดมากในช่วงแตกใบอ่อนการป้องกันกำจัด ตัดแต่งใบอ่อนที่ถูกหนอนทำลายนำไปเผาไฟ กำจัดวัชพืชซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลง การใช้สารเคมีให้ฉีดพ่นด้วย อิมิดาโคลพริค อัตรา 8-16 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หือ ฟลูเฟนนอกซูรอน อัตรา 6 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ชนิดของสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ชนิดของสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สมุนไพร ที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ หางไหลขาว (โล่ติ๊น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดงสมุนไพรที่มี ประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่างๆ ได้แก่ สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ๊น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูนแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด เปลือกใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาล เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยก พญาไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สามารถแยกตามชนิดของแมลงศัตรูพืชได้ดังนี้ 1. หนอนกระทู้-มันแกว สาบเสือ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน ข่า ขิง คูน น้อยหน่า 2. หนอนคืบกะหล่ำ-มันแกว สาบเสือ ยาสูบ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม 3. หนอนใยผัก-มันแกว ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม 4. หนอนกอข้าว-ยาสูบ บอระเพ็ด ใบมะเขือเทศ 5. หนอนห่อใบข้าว-ผกากรอง 6. หนอนชอนใบ-ยาสูบ ใบมะเขือเทศ 7. หนอนกระทู้กล้า-สะเดา 8. หนอนหลอดหอม-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ตะไคร้หอม 9. หนอนหนังเหนียว-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน 10. หนอนม้วนใบ-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม 11. หนอนกัดใบ-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม 12. หนอนเจาะยอดเจาะดอก-ยี่โถ สะเดา ขมิ้นชัน คูน 13. หนอนเจาะลำต้น-สะเดา ใบมะเขือเทศ คูน 14. หนอนแก้ว-ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม 15. หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก-ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง 16. หนอนผีเสื้อต่างๆ-มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน 17. ด้วงหมัดกระโดด-มันแกว ว่านน้ำ มะระขี้นก ยาสูบ กระเทียม 18. ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว-ขมิ้นชัน ด้วงกัดใบ มะระขี้นก คูน 19. ด้วงเต่าฟักทอง-สะเดา กระเทียม น้อยหน่า 20. ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์-ยี่โถ กระเทียม ขมิ้นชัน ข่า ขิง 21. มอดข้าวเปลือก-ว่านน้ำ 22. มวนเขียว-มันแกว ยาสูบ 23. มวนหวาน มันแกว ยาสูบ 24. แมลงสิงห์ข้าว-มะระขี้นก 25. เพลี้ยอ่อน-มันแกว ยาสูบ สะเดา หนอนตายหยาก ดาวเรือง กระเทียม น้อยหน่า 26. เพลี้ยไฟ-ยางมะละกอ สะเดา สาบเสือ ยาสูบ หนอนตายหยาก กระเทียม 27. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล-สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด 28. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว-สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด 29. เพลี้ยหอย-สาบเสือ 30. เพลี้ยแป้ง-ยาสูบ สะเดา ไรแดง ยาสูบ ขมิ้นชัน ไรขาว ยาสูบ ขมิ้นชัน 31. แมลงหวี่ขาว-ดาวเรือง กระเทียม 32. แมลงวันแดง-ว่านน้ำ น้อยหน่า สลอด ข่าเล็ก เงาะ บัวตอง ขิง พญาไร้ใบ 33. แมลงวันทอง-ว่านน้ำ หนอนตายหยาก บัวตอง มันแกว แสลงใจ34. แมลงปากกัดผัก-ว่านน้ำ 35. แมลงกัดกินรากและเมล็ดในหลุมปลูก-มะรุม 36. จิ้งหรีด-ละหุ่ง สบู่ดำ สลอด 37. ปลวก-ละหุ่ง 38. ตั๊กแตน-สะเดา สมุนไพร ไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผลทางตรง จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันทีผลทางอ้อม จะมีผลต่อระบบอื่นๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลงการใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ เลือกใช้ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนี้ ดอก ควรเก็บในระยะดอกตูมเพิ่งจะบานผล ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างำๆ ยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ดเมล็ด ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และจะมีสารต่างๆ สะสมอยู่ในปริมาณมากหัว และราก ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่างๆ ไว้ที่ราก และควรเก็บในฤดูหนาวปลายฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่กระบวนสังเคราะห์แสงหยุดทำงานเปลือก ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่ และควรเก็บในฤดูร้อนและฤดูฝนดังนั้น ก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาใช้ในการป้องกันกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่า จะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใด จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลงที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
พืชกำลังกินแมลง ดูกันชัดๆเลยครับ แปลกมาก ที่มา: youtube.com, Barcroft TV เรื่อง: Flesh Eaters: Carnivorous Plants Lure Insects Into Their Deadly Clutches ลิงค์: https://www.youtube.com/watch?v=MnY_cCRELvs