ค้นหาสินค้า

วิธีควบคุมหนอนห่อใบข้าว

หนอนห่อใบข้าวระบาดในช่วงที่ข้าวมีอายุ 30-60 วัน โดยหนอนจะกัดแทะผิวใบข้าว และดึงใบข้าวมาห่อตตัวไว้ ทำให้ใบข้าวเสียหาย และไม่สามารถปรุงอาหารได้ หากได้เข้ามำลายในระยะข้าวออกรวง หนอนจะทำลายใบธงซึ่งจะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง    
   
สำหรับการป้องกันกำจัด    
1) ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำควรปลูกข้าวสลับพันธุ์กันจะช่วยลดความรุนแรงการระบาด    
2) กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง    
3) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดและสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์หรือสารผสมสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์หลังหว่านข้าว 40 วัน เพราะศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลายส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงได้ในระยะข้าวตั้งท้อง ออกรวง    
4) เมื่อเริ่มมีการระบาดในแปลงข้าวไม่ควรใช้ปุ๋ยไนดตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรียเกินกว่า 10 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวกำลังเจริญเติบโตและลดปริมาณปุ๋ยที่ใส่โดยปุ๋ยสูตร 16-20-0 ใส่ไม่เกิน 30 กิโลกรัม/ไร่    
5) เมื่อตวจพบผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว 4-5 ตัว/ตารางเมตร หรือพบใบข้าวถูกทำลายมากกว่า 15% ในข้าวอายุ 15-40 วัน และระยะข้าวแตกกอพบใบข้างถูกทำลายเกิน 10% หรือช่วงข้าวตั้งท้องออกรวงพบใบข้าวถูกทำลายเกิน 5 % ให้ใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่ย พีโพรนิล เบนซัลแทป และสารคาร์โบซัลแฟน เฉพาะพื้นที่มีใบถูกทำลายจนเห็นรอยขาวๆ    
6) การป้องกันกำจัดโดยใช้ตัวห้ำ เช่น จิ้งหรีดหนวดยาว,ด้วงก้นกระดก    
7) การใช้สารสะเดาควบคุมหนอนหรือใช้แตนเบียนไข่ตริดคแกรมม่า หากเกษตรกรรายใดมีปัญหาด้านการเกษตร หรือต้องการเอกสารคำแนะนำด้านการเกษตรติดต่อขอรับได้สำนักงานเกษตรจังหวัด/สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านได้ในวันและเวลาราชการ    
   
ที่มา: จดหมายข่าวส่งเสริมเกษตรเขต2

คำสำคัญ: