ค้นหาสินค้า

โรคตายพรายของกล้วย

สาเหตุของโรค    
เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม ออกซี่สปอรัมคูเมนซี่ ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินได้เป็นเวลานานหลายปีเข้าทำลายกล้วยโดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าส่วนกล้วยพันธุ์อื่น ๆ ยังไม่พบว่าแสดงอาการของโรคนี้โดยเชื้อราจะเข้าทำลาย รากเหง้าและส่วนของกาบใบที่อยู่ใต้ดินทำให้ส่วนของพืชแสดงอาการเน่าส่งผลให้ส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน ได้แก่ ใบ แสดงอาการเหลืองตั้งแต่ใบล่างขึ้นไปต้นบน ต่อมาใบจะหักพับ เมื่อผ่าดูด้านในของกาบใบบริเวณโคนต้นซึ่งอยู่สูงขึ้นเหนือจากพื้นดิน ประมาณ ๓๐-๕๐ ซม. จะพบเนื้อเยื่อกาบใบมีลักษณะเป็นแถบสีน้ำตาลแดงยาวไปตามความยาวของกาบใบ โรคตายพรายมักเกิดกับต้นกล้วยที่กำลังตกปลีและติดผล นี่คือสาเหตุการเรียกโรคชนิดนี้ของกล้วย ในที่สุดต้นกล้วยที่เป็นโรคตายพรายจะแสดงอาการใบไหม้สีน้ำตาลดำ และก้านใบหักพับทั้งต้น    
   
การป้องกันกำจัด    
1. ขุดต้นที่เป็นโรคออกเผาทำลาย และบำบัดดินด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย    
หมัก และราดดินบริเวณนั้นด้วยปุ๋ยยูเรียเพื่อกระตุ้นกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน    
2.ไม่ขยายพันธุ์หน่อกล้วยจากกอที่แสดงอาการโรคตายพรายดังกล่าว    
   
ที่มา : ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

คำสำคัญ: