ค้นหาสินค้า

โรคไรกำมะหยี่ลิ้นจี่

โรคลิ้นจี่ระบาดมาก 2 ระยะ คือ ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ และช่วงเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม ซึ่งเป็นระยะลิ้นจี่เริ่มแตกใบอ่อน พื้นที่ระบาดได้แก่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน    
   
ลักษณะการระบาด ดูดทำลายตาดอก ใบอ่อนและผลอ่อน ทำให้ตาดอกไม่เจริญ ใบที่ถูกทำลายจะมีอาการหงิกงอและโป่งพองขึ้นเป็นกระเปาะ ผิวใบบริเวณที่ถูกดูดกินจะสร้างขนสีน้ำตาลขึ้นสานกันแน่นเป็นแผ่นติดต่อกัน มีลักษณะนุ่มหนาคล้ายพรม เมื่อเริ่มเกิดจะมีสีเหลืองอ่อน และสีจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลแดง ใบและยอดที่ถูกทำลายจะแห้งและร่วงในที่สุด    
   
สามารถลดการเกิดโรคนี้ได้โดย ตัดแต่งกิ่งที่ไรกำมะหยี่ทำลาย และควรเผากิ่งดังกล่าวเสีย แล้วพ่นสารฆ่าไร อามีทราซ (ไมแทค ๒๐% อีซี) อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือเวตเตเบิล ซัลเฟอร์(กำมะถันผง ไบเออร์ ๘๐%ดับบลิวพี) อัตรา ๔๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือไดโคโฟล (เคลเทน ๑๘.๕% อีซี) อัตรา ๖๐ มล. ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ควรพ่นสารฆ่าไรทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและเริ่มแตกใบอ่อน พ่นซ้ำอีก ๒ ครั้ง ทุก ๔ วัน    
   
ที่มา : ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

คำสำคัญ: