ค้นหาสินค้า

ลักษณะผ้าไหมไทย

ผ้าไหมไทยมีรูปแบบการทอและลวดลายที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น ผ้าไหมที่เป็นที่รู้จักและนิมใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

ผ้าไหมพื้น เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช่เส้นยืนและเส้นพุ่งธรรมดาสีเดียวตลอดทั้งผืน หรืออาจใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งต่างสีกัน ซึ่งทำให้ได้สีที่งดงามอีกแบบหนึ่ง

ผ้าไหมจก เป็นการทอผ้าที่เพิ่มลวดลายโดยเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป้นช่วงๆ สลับสีสันลวดลายต่างๆ กันลักษณะผ้าจะมีสีสันและลวดลายคล้ายกับการปักลางลงบนผืนผ้า

ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นผ้าไหมที่ทำให้เกิดลวดลายด้วยวิธีการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืน หรือทั้งสองเส้น แล้วนำไปย้อมสีทีละชั้นตอนตามลวดลายที่มัดไว้เพื่อให้ได้สีและลวดลายตามความต้องการ แล้วจึงนำเส้นไหมที่มัดมาทอให้ผืนผ้าเกิดลวดลายตามที่มัดไว้ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด

ผ้าไหมขิด เป็นผ้าไหมแบบทอยกลายในตัวเรียกว่า "เก็บขิด" เป็นการยกเส้นยืนแต่ละแถว ให้เส้นพุ่งพิเศษสอดผ่านจากริมผ้าด้านหนึ่งไปสู่ริมผ้าอีกด้านหนึ่งเกิดเป็นลวดลายขิด ผ้าทอลายขิด สังเกตดูจากลายซ้ำของเส้นพุ่งที่ขึ้นเป็นแนวสีเดียวกันตลอด เป็นที่นิยมทอทั่วไปในภาคอีสานบางจังหวัด ในภาคกลางและภาคเหนือ

ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างขิดและจกบนผืนผาเดียวกัน คำว่า"แพรวา" มาจากความยาวของผ้าที่ยาวประมาณ 1 วา (2เมตร) แต่ดั้งเดิมเป็นผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ ตามวัฒนธรรมของชาวภูไท โดยเอกลักษณ์ดั้งเดิมจะมีสีแดงเป็นพื้น ซึ่งต่อมาได้มีการดัดแปลงลักษณะของผืนผ้าและการใช้สีสันเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นตามสมัยนิยม แหล่งผลิตใหญ่และมีชื่อเสียงอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์

ผ้าไหมยกดอก เป็นผ้าทอที่ยกเส้นยืนเพื่อสอดเส้นพุ่งที่เป็นไหมสีอื่น เพื่อทำให้เกิดลวดลายขึ้นหรืออาจใช้ดิ้นเงินดิ้นทองก็ได้ บางแห่งหรือบางครั้งอาจเรียกว่าผ้ายกเท่านั้นการทอผ้าไหมยกดอกนิยมทอกัรมากในภาคเหนือ ที่จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ และที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ผ้ายกดอกลำพูน ในภาคอีสาน ที่จังหวัดสุรินทร์ และภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ: ผ้าฝ้าย