ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกล้วยไข่

ชื่อวิทยาศาสตร์:     Musa ฺAA cv. Kluai Khai
ชื่อวงศ์:    MUSACEAE
ชื่อสามัญ:    Pisang Mas
ชื่อพื้นเมือง:    กล้วยกระ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง
    ใบ    ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู
    ดอก    ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็กน้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู
    ฝัก/ผล    เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีมอมส้ม รสหวาน    
การขยายพันธุ์:    ใช้หน่อปลูก
การดูแลรักษา:   ชอบดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี ชอบมีแสงแดดจัด  
การใช้ประโยชน์:    - รับประทานสดและแปรรูป 
แหล่งที่พบ:    ทุกภาคของประเทศไทย
การปรุงอาหาร:    ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี

คำสำคัญ: กล้วย