ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะบก

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Irvingia malayana
ชื่อวงศ์:    Irvingiaceae
ชื่อสามัญ:    Kayu
ชื่อพื้นเมือง:    กระบก, จะบก,ตระบก,จำเมาะ,ชะอัง,บก,หมากบก,มะมื่น,มื่น,มะลื่น,หมักลื่น,หลักกาย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ
    ใบ    เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ขนาดกว้าง 2.5-9 ซม. ยาว 8-20 ซม. แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม
    ดอก    ขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน มีขนนุ่ม ออกดอกรวมกันเป็นช่อโต ตามปลายกิ่งกลีบดอกจะยาวประมาณ 3 เท่าของกลีบฐานดอก
    ฝัก/ผล    ทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เนื้อในมีรสมัน
    เมล็ด    เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมาก
ฤดูกาลออกดอก:    มกราคม – มีนาคม ติดผลเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน ผลสุกเดือน สิงหาคม – กันยายน
การขยายพันธุ์:    เพาะเมล็ด
การดูแลรักษา:  สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การใช้ประโยชน์:    - เนื้อไม้ ใช้เผาถ่าน ได้ถ่านดีให้ความร้อนสูง เนื้อไม้เสี้ยนตรง แข็งมาก   ใช้ทำเครื่องมือกสิกรรม เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องแล้วใช้ในการก่อสร้างที่อยู่ในร่มที่ต้องการความ แข็งแรงได้
                             - เนื้อในเมล็ด ใช้รับประทานได้ น้ำมันที่ได้จากเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ เทียนไข 
                             - ผลสุก เป็นอาหารพวกเก้งกวางและนก
ถิ่นกำเนิด:    ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าดิบแล้งทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 150 - 300 เมตร
แหล่งที่พบ:    ทั่วทุกภาคของประเทศไทยตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง


คำสำคัญ: กะบก