ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะตังใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Leea indica
ชื่อวงศ์:    LEEACEAE
ชื่อสามัญ:    Leea
ชื่อพื้นเมือง:    คะนางใบ, บังบายต้น,ช้างเขิน, ตองจ้วม, ตองต้อม,เขืองแข้งม้า,กะตัง, เขือง, บังใบ, กะตังใบ, กะตังบาย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น สูง 3-5 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตรลักษณะลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ๘-๑๐ เหลี่ยมเกลี้ยง
    ใบ    ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3-5 ใบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือรูปรี ขนาด 7-10 x 8 - 22 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หรือเว้าเล็กน้อยขอบใบหยักซี่ฟัน
    ดอก    สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงยาว 0.2-0.3 เซนติเมตร เชื่อมติดกันที่โคน
    ฝัก/ผล    สดรูปกลมแป้นสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีแดงและเมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือม่วงดำ ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม มี ๓ พู   
ฤดูกาลออกดอกและออกผล:    ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การขยายพันธุ์:    เมล็ด และปักชำกิ่ง 
การดูแลรักษา:  ชอบแดดจัด  
การใช้ประโยชน์:    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ:    พบขึ้นได้ทั่วไป
สรรพคุณทางยา:  รากแก้ไข้ แก้บิด ขับเหงื่อ เป็นยาระงับความร้อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ระดูขาว แก้ฝีแดง และฝีกระตังบาย รักษาคุดทะราด   

คำสำคัญ: กระตังบาย