ค้นหาสินค้า

การคำนวณสูตรปุ๋ย

        3.2.3 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ที่ยังขาดจากแม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ดังนี้
       
ปริมาณธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย     = 100     กิโลกรัม
ปริมาณธาตุไนโตรเจน   1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย     = 100 x 1
                                                                                   46     กิโลกรัม
ปริมาณธาตุไนโตรเจน 9.7 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย     = 100 x 9.7
                                                                                    46     กิโลกรัม
                                                                           =21.09     กิโลกรัม
    เพราะฉะนั้นจะต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) = 22 กิโลกรัม

    3.3 คำนวณหาปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (K2O) < ปริมาณที่ต้องการใช้ = 8 กิโลกรัม > ดังนี้
       
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม 60 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP     = 100     กิโลกรัม
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม   1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP      =100 x 1
                                                                                        60     กิโลกรัม
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม   8 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP     = 100x8
                                                                                      60     กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP (0-0-60)      = 14      กิโลกรัม

    3.4 คำนวณหาน้ำหนักของสารตัวเติม (Filler) ที่ต้องใช้เพิ่มให้ได้ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 มีน้ำหนักครบจำนวน 100 กิโลกรัม ดังนี้
        ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม มีปริมาณน้ำหนักธาตุอาหารดังนี้
        แม่ปุ๋ยสูตร18-46-0 =35 กิโลกรัม+ แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 = 22 กิโลกรัม + แม่ปุ๋ยสูตร
0-0-60 = 14 กิโลกรัม รวมเป็น 71 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นจะต้องเพิ่มน้ำหนักสารตัวเติม (Filler) จำนวน 100-71 = 29 กิโลกรัม

3. การคำนวณสูตรปุ๋ย : ปุ๋ยที่จะใช้ผสมคำนวณมาจากเปอร์เซ็นต์ธาตุไนโตรเจน  ธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโพแทสเซียม ที่มีอยู่ในปุ๋ยผสมตามเกรดที่เราต้องการ เช่น

   ตัวอย่าง ต้องการปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องใช้แม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ อย่างละกี่กิโลกรัม
   ชนิดแม่ปุ๋ยที่เหมาะสม คือ
   - ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต<18-46-0 (DAP)>
   - ยูเรีย <46-0-0 (U)>
   - โพแทสเซียมคลอไรค์ <0-0-60 (MOP) >

วิธีการคำนวณ

   
3.1    
คำนวณหาธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P 2 O5 ) ก่อน    
เนื่องจากแม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)    
มีเปอร์เซ็นต์ธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์(P2 O5~)    
อยู่ในปุ๋ยสูงกว่าเปอร์เซ็นต์ธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (N) มีวิธีคำนวณ    
ดังนี้
   
ปริมาณ P2 O5 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP     = 100     กิโลกรัม
ปริมาณ P2 O5   1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP     = 100 x 1
                                                                         46     กิโลกรัม
ปริมาณ P2 O5  16 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP     = 100 x 16
                                                                           46     กิโลกรัม
                                                                   = 34.78     กิโลกรัม
   

เพราะฉะนั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย 18-46-0 (DAP)= 35 กิโลกรัม
   

3.2 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (N) < ปริมาณที่ต้องการ คือ 16 กิโลกรัม > มีวิธีการคำนวณ ดังนี้

        3.2.1 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ว่าติดมากับแม่ปุ๋ย DAP ,มีจำนวนเท่าไร ดังนี้
   
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 100 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N      = 18     กิโลกรัม
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 1 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N     = 18 X 1
                                                                       100     กิโลกรัม
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 35 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N     = 18 X 35
                                                                         100     กิโลกรัม
ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ติดมากับแม่ปุ๋ย DAP     = 6.30      กิโลกรัม

        3.2.2 คำนวณหาว่าปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ยังขาดอีกเท่าไรจากที่ต้องการ ดังนี้
       
ต้องการใช้ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์     = 16.00     กิโลกรัม
ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ติดมากับปุ๋ย DAP     =   6.30     กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นยังขาดปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์     =   9.70     กิโลกรัม

4. เตรียมเครื่องมือผสมปุ๋ยใช้เอง อุปกรณ์ที่ควรมีไว้ผสมปุ๋ย คือ
        4.1 พื้นที่สำหรับผสมปุ๋ย ควรเป็นที่ราบเรียบเสมอและแห้ง หากเป็นไปได้ควรเป็นพื้นซีเมนต์หรือดินแน่นเรียบ
        4.2 พลั่ว หรือจอบ สำหรับตักและคลุกเคล้าผสมปุ๋ย
        4.3 เครื่องชั่ง ขนาด 50 กิโลกรัม เพื่อชั่งน้ำหนักของแต่ละแม่ปุ๋ย
        4.4 กระสอบปุ๋ย เพื่อเอาไว้ใส่ปุ๋ยที่ผสมได้และขนไปใส่ในไร่นา
        4.5 แม่ปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เช่น
        - ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
        - ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
        - ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
       4.6 ตารางกำหนดน้ำหนักแม่ปุ๋ย กรณีที่ใช้ปุ๋ยสูตรทั่วๆไป

5. วิธีการผสมปุ๋ยใช้เอง: ควรปฏิบัติดังนี้
        5.1 เลือกสูตรและปริมาณที่ต้องการใช้ปุ๋ยนั้นๆ เช่น ต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 เพื่อปลูกข้าวในนาดินทราย จำนวน 100 กิโลกรัม เป็นต้น
        5.2 หาน้ำหนักแม่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับสูตรและปริมาณที่ต้องการ จากตารางกำหนดน้ำหนักแม่ปุ๋ย หรือจากการคำนวณไว้
        5.3 ชั่งน้ำหนักแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากข้อ 2 เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องใช้แม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 35 กิโลกรัม แม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 14 กิโลกรัม และแม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 22 กิโลกรัม มาผสมรวมกันเป็นต้น
        5.4 นำแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดที่ได้ชั่งน้ำหนักไว้แล้วเทลงพื้นที่เรียบและแห้ง โดยควรนำเอาแม่ปุ๋ยที่ต้องใช้ในปริมาณที่มากที่สุดเทไว้ชั้นล่างสุด ชั้นถัดมาใช้แม่ปุ๋ยที่ต้องการปริมาณปานกลางเทลงไป แล้วชั้นสุดท้ายควรเป็นแม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณต่ำสุด ตามลำดับ
        5.5 ใช้จอบและพลั่ว ผสมคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดในกองให้เข้ากันเป็นอย่างดี
        5.6 ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบ เพื่อขนย้ายไปใส่ในสวนต่อไป
        5.7 ใส่ปุ๋ยผสมเพาะปลูกพืชตามปกติ

ข้อดีของการผสมปุ๋ยใช้เอง
    1. ประหยัดค่าใช้จ่ายลง เช่น เกษตรกรต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1,000 กิโลกรัม
เมื่อผสมใช้เองจะมีต้นทุน ดังนี้ เป็นค่าแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 330 กิโลกรัม เป็นเงิน 2,640 บาท แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 200 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,400 บาท และแม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 250 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,290 บาท 

แต่ถ้าซื้อปุ๋ยเคมีสำเร็จรูปสูตร 15-15-15 จำนวน 1,000 กิโลกรัม ในท้องตลาด 8,000 บาท

 เพราะฉะนั้นการผสมปุ๋ยใช้เองจะประหยัดเงินได้ จำนวนเท่ากับ 8,000-5,290 =2,710 บาทต่อ 1,000 กิโลกรัม
    1. สามารถมีปุ๋ยสูตรต่างๆตามที่ต้องการใช้ได้เกือบทุกหลักสูตร
    2. ตัดปัญหาเรื่องการต้องการปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยด้อยมาตรฐานมาใช้
    3. เกษตรกรมีปุ๋ยสูตรตามที่ต้องการได้ทันเวลาใช้

ข้อจำกัดของการผสมปุ๋ยใช้เอง
    1. เมื่อนำแม่ปุ๋ยมาผสมรวมกันแล้วจะชื้นง่าย และควรใช้ให้หมดภายใน 15 วัน
    2. เกษตรกรต้องเสียเวลาและแรงงานเพิ่มขึ้น จาการศึกษาพบว่าการผสมปุ๋ยให้ได้สูตรต่างๆ จำนวน 500 กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
    3. แหล่งจำหน่ายแม่ปุ๋ยเคมียังมีจำนวนน้อยและหาซื้อได้ลำบาก นอกจากนี้การกำหนดราคาของแม่ปุ๋ยยังขึ้นอยู่กับพ่อค้านำเข้าส่วนใหญ่
    4. ความน่าใช้และความสวยงามของแม่ปุ๋ยผสมเอง มักจะด้อยกว่าปุ๋ยเคมีสำเร็จรูป

ข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร

คำสำคัญ: ปุ๋ยเคมี