1.ต้นไม้มงคลที่เกิดจากชื่อที่มีคำพ้องเสียงกับคำที่เป็นมงคลต่างๆ เช่นของไทยก็มีต้นยอ ต้นมะยม เป็นต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ หากมอบให้แก่กันถือเป็นการอวยพร ซึ่งต่อมาได้ยึดถือปฏิบัติกันจนกลายเป็นประเพณีที่ดี งามขึ้นมา ต้นไม้มงคลกลุ่มนี้ที่นิยมปลูกและมอบให้แก่กันมากได้ แก่“ต้นส้มและลูกส้ม” ส้มนั้นพ้องเสียงกับคำที่ให้ความหมายว่า ผาสุก,ดีงาม,เป็นมงคล ในงานตรุษจีน หรือเทศกาลสำคัญๆ ของจีน จึงนิยมให้ส้มแก่กัน ซึ่งเป็นการอวยพรให้มีความสุขดีงาม“ดอกกุ้ยฮวา” หรือ หอมหมื่นลี้ ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นมีขนาดใหญ่ คำว่ากุ้ยพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า ดี,วิเศษ,สูงศักดิ์,สูงส่ง ซึ่งนิยมมอบให้แก่กันเพื่อแทนความหมายให้ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน2.ต้นไม้มงคลที่เกิดจากการตีความของปราชญ์ชาวจีน โดยนำคุณลักษณะของต้นไม้ประเภทนั้นๆ มาตีความ ได้แก่“ต้นสน” สนเป็นต้นไม้เมืองหนาว มีความทนทาน ทนแล้ง และมีลำต้นที่สูงสง่า ซึ่งมีความหมายถึง ความสง่างาม ความกล้าหาญ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็งทางจิตใจ และได้ชัยชนะในการต่อสู้ รวมถึงความมีอายุมั่นขวัญยืนด้วย“ต้นไผ่” มีลักษณะเด่นอยู่ที่มีความเขียวชอุ่มอยู่ตลอด จึงมีความหมายถึงความสดชื่น ความรื่นรมย์ และด้วยลักษณะที่พลิ้วไหว มีลักษณะอ่อน คือข้างในกลวง แต่เมื่อมีพายุมา ไผ่ก็สามารถอยู่ได้ ไม่ถูกพายุทำลายไป ซึ่งเหมือนคนดีที่มีความถ่อมตัว อยู่ด้วยความดีงาม“ดอกบ๊วย” ลักษณะเด่นจะบานตอนมีหิมะตก ยิ่งหิมะตกหนัก ดอกบ๊วยยิ่งบานสวยงามมาก จึงมีความหมายถึงความเข้มแข็งในอุดมคติ3.ความหมายของต้นไม้มงคลที่เกิดจากนักกวีหรือนักปราชญ์จีนได้เขียนกวี หรือบทประพันธ์เปรียบเทียบไว้ ซึ่งเมื่อบทกวีได้รับความนิยม ต้นไม้เหล่านั้นก็กลายเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมใน ความหมายตามบทกวีนั้นๆ ด้วย ได้แก่“ดอกเบญจมาศ” (ดอกฉุยฮัว) นักกวีชาวจีนชื่อ เผาหยวนหมิง บทกวีเอกของจีน ได้เขียนกวีบทหนึ่ง โดยเปรียบเทียบดอกเบญจมาศว่าเป็นนักปราชญ์ ผู้มีจริยวรรตงดงาม ซึ่งบทกวีนี้ได้รับความยกย่องว่าเป็นบทกวีที่ไพเราะง ดงามมาก“ต้นหลานฮวา” หรือคนไทยรู้จักกันในนามว่ากล้วยไม้ดิน กวีเอก เผาหยวนหมิง เขียนกวีไว้อีกบทว่า ต้นหลานฮัวเหมือนกับวิญญูชน ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความดีที่บริสุทธิ์ ไม่โกงกิน ไม่ทำร้ายใคร จึงนิยมมอบให้กับคนที่ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต4.มาจากความเชื่อต่อๆ กันมา โดยมากเป็นไม้มงคลประเภทขับไล่ ภูติผีปีศาจ ขับไล่ความอัปมงคลทั้งหลาย ได้แก่“ท้อ” สมัยโบราณในเทศกาลปีใหม่ คนจีนจะนิยมเขียนคำอวยพรให้แก่กัน ซึ่งนิยมเขียนคำขวัญ คำมงคลต่างๆ บนแผ่นไม้ติดหน้าบ้าน ซึ่งใช้ป้ายที่ทำจากต้นท้อ เพราะเชื่อกันว่าเมื่อนำมาติดบ้านเรือน ภูติผีปีศาจจะไม่รบกวน ไม่มีเสนียดจัญไรแผ้วพาน เช่นเดียวกับ “ทับทิม” และ “เซียงเช่า” ที่เชื่อว่าสามารถไล่ผีปีศาจได้ จึงนิยมนำมาผสมน้ำล้างหน้า ล้างตัว กัน หลังจากกลับจากงานศพด้วยสำหรับ “ทับทิม” เนื่องจากมีรูปลักษณะที่มีเมล็ดข้างในแน่น จึงถือว่าจะทำให้มีลูกหลานเต็มบ้าน เป็นการอวยพรในงานมงคลได้อีกด้วย5.ไม้มงคลตามความเชื่อทางการแพทย์สมุนไพรจีน ที่เด่นชัดได้แก่ “เห็ดหลินจือ” ที่มักวาดอยู่ในภาพมงคลต่างๆ มีความหมายถึงการมีอายุมั่นขวัญยืน,อายุวัฒนะทั้งนี้นอกจากความเชื่อที่นิยมกันทั่วประเทศจีนแล้ว ยังมีความนิยมแพร่หลายไปตามกลุ่มย่อยๆ อีก เช่น ชนชาติจ๊วงกว่างสี ที่มีต้นไม้ประจำชนชาติ 2 ต้น คือ “ไทร” และ “งิ้ว” ซึ่งไม่ว่าชนชาตินี้จะไปตั้งหมู่บ้านที่ไหน จะมีการปลูกต้นไทรกับต้นงิ้วนี้หน้าหมู่บ้านทุกครั้ง ด้วยความเชื่อที่ว่า จะทำให้มีความมั่นคง เจริญรุ่งเรืองขณะที่ ดำรงศักดิ์ มนัสวานิช ผู้จัดการบริษัท ไชน่า ซิตี้ ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ จำกัด กล่าวว่า มีต้นไม้จีนอีก 3 ประเภทที่คนจีนถือว่าเป็นมงคลมาก ได้แก่“กวนอิมเงิน-กวนอิมทอง” เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีชื่อใกล้เคียงกับเจ้าแม่กวน อิม จึงได้รับความนิยมในการปลูก ถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่สมัยโบราณจะใช้ในการประ กอบพิธีบูชาเทพเจ้า มีความเชื่อว่าครอบครัวใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ในบ้าน จะทำให้มีโชคลาภเพิ่มพูน ทรัพย์สินเงินทองมากมาย ค้าขายได้กำไร โดยกวนอิมควรปลูกวันอังคาร เสริมศิริมงคลให้เจ้าของและครอบครัว“ไผ่” เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนาน คนนิยมปลูกทุกยุคสมัย เพราะมีประโยชน์ทุกส่วน ตามความเชื่อโบราณ ไผ่ถือเป็นต้นไม้ที่ลู่ลมได้ดี จึงโอนอ่อนผ่อนตามกระแสต่อต้าน ทำให้สามารถเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ รวมทั้งยังใช้ในพิธีมงคล อีกทั้งคนจีนถือว่าไผ่คือไม้กวาดจากสวรรค์ ใช้ใบมาทำความสะอาดบ้านเรือนวันตรุษจีน โดยเชื่อว่าจะปัดกวาดความชั่วร้ายออกไปด้วย“โป๊ยเซียน” เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม เป็นต้นไม้เสี่ยงทายที่เชื่อกันว่าหากปลูกได้ครบ 8 ดอกจะมีโชคลาภ เชื่อว่าคนปลูกอาจถูกหวย ร่ำรวยเงินทอง แถมอาจได้รับการเลื่อนยศ ตำแหน่งให้สูงขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นหัวหน้าครอบครัว เพราะจะทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข ช่วยนำโชคลาภให้สมาชิก เพื่อเสริมสิริมงคลควรปลูกทิศตะวันออกเฉียงใต้ และควรปลูกวันพุธทั้งนี้บางตำราระบุว่าในสมัยโบราณ ผู้ที่จะปลูกโป๊ยเซียนต้องเป็นฮ่องเต้ พระบรมวงศานุวงศ์ หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ปลูกเพื่อไว้ใช้เสี่ยงทายบุญวาสนาของผู้ปลูก โดยปกติต้นโป๊ยเซียนจะมีดอกแค่ 1 ถึง 4 ดอก แต่เชื่อกันว่าผู้มีบารมีจะสามารถปลูกได้ช่อหนึ่งได้ ตั้งแต่ 8 ดอก 16 ดอก และ 32 ดอกข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์