ค้นหาสินค้า

การติดตายางเขียว (Green Budding)

การติดตาเขียว เป็นวิธีการขยายพันธุ์ยางโดยการติดตาอย่างหนึ่ง ที่มีวิธีการและเทคนิคที่ดีกว่าการติดตาแบบสีน้ำตาล (Brown Budding) สามารถทำได้รวดเร็ว ให้ผลสำเร็จสูงกว่า เพราะมีข้อดีอยู่หลายประการ คือ
-ทำการติดตาได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกให้ผลผลิตสูงถึง 90-95%
-เสียค่าใช้จ่ายหรือลงทุนน้อยกว่า
-กิ่งตาเขียวที่ได้จากต้นกิ่งตา สามารถผลิตได้รวดเร็ว และได้จำนวนมากกว่า การผลิกิ่งตาแบบสีน้ำตาล
-ได้รับผลตอบแทนจากต้นยางได้เร็วกว่า ทั้งนี้ เพราะว่าการติดตาเขียวนั้น ต้นตอที่ใช้ติดตามีอายุประมาณ 4 ? - 5เดือน อย่างสูงไม่เกิน 8 เดือน ส่วนการติดตาสีน้ำตาลต้องใช้ต้นตอที่มีอายุประมาณ 1 – 1 ? ปี

วิธีการติดตา
การเตรียมตนตอ (Stock preparation)
-ใช้เศษผ้าทำความสะอาดบริเวณโคนต้นตอก่อนที่จะเปิดรอยแผลบนต้นตอ
-ใช้ปลายมีดกรีดเปลือกของต้นตอพอถึงเนื้อไม้ ในแนวดิ่ง 2 รอย มีความยาวประมาณ 5 ซ.ม. ห่างกันประมาณ 1 ซ.ม. แล้วใช้ปลายมีดกรีดตัดในแนวขวาง เพื่อเชื่อมปลายของรอยกรีดทั้งสองข้าง
-ใช้ส่วนที่เป็นด้ามงาของอีกทางหนึ่ง แงะเปลือกออกเล็กน้อยแล้วใช้มือทั้งสองค่อยๆ ดึงเปลือกออก
-ใช้ปลายมีดตัดเปลือกออกให้เหลือเป็นลิ้นยาวประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อใช้เป็นที่สำหรับสอดและบังคับแผ่นตาให้อยู่บนรอยของต้นตอ เพื่อสะดวกแก่การติดตา ลิ้นควรอยู่ข้างล่างรอยแผลซึ่งเป็นส่วนโค้งของต้นตอ
-การเปิดรอยแผลบนต้นตอ ควรให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติการติดตาไว้สะดวก

การเตรียมแผ่นตา (Budpatch preparation)
-ทำความสะอาดกิ่งตาเขียวโดยใช้เศษผ้าเช็ดเบาๆ เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกก่อน
-ใช้ใบมีดคมเฉือนแผ่นตาให้มีเนื้อไม้ติดอยู่ด้วย ยาวประมาณ 6-7 ซ.ม. คือให้ยาวกว่ารอยแผลต้นตอ โดยมีตาอยู่ตรงกลางของแผ่นตา
-แต่งริมแผ่นตาทั้งสองข้างให้เรียบร้อย และให้เล็กกว่ารอยแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอเล็กน้อย เพื่อให้สอดเข้ากับรอยแผลได้ง่าย
-ค่อยๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากแผ่นตา จับแผ่นตาให้แน่น พยายามอย่าให้แผ่นตาโค้งหรืองอเพราะจะทำให้แผ่นตาช้ำ
-จับปลายแผ่นตาหงายลงบนกล่องไม้ ใช้มีดตัดบริเวณส่วนโคนของแผ่นตาทิ้งไปเล็กน้อย
-ค่อยๆ สอดแผ่นตาลงในรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้ โดยสอดลงในลิ้น ลิ้นจะบังคับแผ่นตาไม่ให้ตกหรือหลุด ตรวจดูด้วยว่าแผ่นตาที่สอดลงไปนั้น ตาจะต้องอยู่เหนือรอยแผลก้านใบเสมอไป
-ใช้ผ้าพลาสติกพันให้ทับกันขึ้นไปจากข้างล่างขึ้นข้างบน ให้แน่นพอสมควรจนเกือบสุดรอยแผลใช้มีดตัดแผ่นตาส่วนที่เกินจากรอยแผลบนต้นตอออกทิ้งไป จากนั้นพันต่อไปจนพ้นรอยแผลประมาณ 1 นิ้ว ม้วนปลายพลาสติกที่เหลือมัดกับต้นตอให้แน่น
การที่ต้องพันทับกันจากข้างล่างขึ้นบนนี้ก็เพราะว่า จะช่วยป้องกันน้ำฝนไม่ให้เข้ารอยแผล ซึ่งอาจจะทำให้ผลการติดตาเสียหายได้

การเปิดตาเพื่อสำรวจผลสำเร็จ (Unwraping)
เมื่อได้ทำการติดตาไปแล้วประมาณ 3 อาทิตย์ ต่อมาให้ทำการตรวจดูผลสำเร็จได้ ถ้าเห็นว่าแผ่นตายังมีสีเจียวอยู่ก็แสดงว่าการติดตาเป็นผลสำเร็จ ให้ใช้ปลายมีดคมกรีดลงบนผ้าพลาสติกด้านหลังของต้นตอตรงกันข้ามแผ่นตา เมื่อพลาสติกขาดออกจากกันแล้วแกะผ้าพลาสติกออก ส่วนต้นไหนที่เห็นว่าแผ่นตาเป็นสีดำ ซึ่งแสดงว่าการติดตาไม่เป็นผลสำเร็จ ให้ใช้ปลายมีดกรีดลงบนผ้าพลาสติกด้านหน้าของแผ่นตานั้นอีกด้านหนึ่งของต้นตอก็จะใช้ติดตาซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง

การติดตาเขียวที่ให้ได้ผลสำเร็จสูงนั้น นอกจากการปฏิบัติตามที่กล่าวมา บวกกับความชำนาญของคนติดตาแล้ว ยังต้องอาศัยแสงแดดช่วยด้วย ดังนั้น การติดตาเขียวจึงจำเป็นต้องใช้ผ้าพลาสติกใส เพื่อให้แสงแดดผ่านถึงแผ่นตาได้ ในแปลงต้นตอที่ทึบเกินไป ผลสำเร้๗ที่ได้จากการติดตาเขียวจะต่ำ

คำสำคัญ: ยางพารา