ค้นหาสินค้า

การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล

1) ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 ชัยนาท 1 และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหวางพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง    
   
2) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับนำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะชวยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล    
   
3) เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ระหว่าง 6 :1- 8 :1 หรือตัวอ่อนระยะ่ 1-2 เมื่อข้าวอายุ 30-45 วัน จำนวนมากกว่า่10 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน (แอปพลอด 10% ดับบลิวพี) อัตรา 25 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นหรือใช้สา่ร อีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน/ไอโซโปรคาร์บ (แอปพลอด/มิพซิน 5%/20% ดับบลิวพี) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากกว่่่่า่1 ตัวต่อต้น ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวงใช้สาร อิมิดาโคลฟริด (คอนฟิดอร์ 10% เอสแอล) อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร    
   
4) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล( resurgence ) หรือสารกลุมไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เชน แอลฟาไซเพอร์มิทริน ไซเพอร์มิทริน่่ ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์มิทริน ไตรอะโซฟอส ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และ เตตระคลอร์วินฟอส เป็นต้น    
   
ข้อมูลจากกรมการข้าว : http://www.ricethailand.go.th

คำสำคัญ: