ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระโดน

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Careya sphaerica
ชื่อวงศ์:  Lecythidaceae
ชื่อสามัญ:  Tummy-wood, Patana oak
ชื่อพื้นเมือง:  กะนอน  ขุย  แซงจิแหน่  ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว  พุย  ผ้าฮาด  แส่เจ๊อะบะ  หูกวาง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดกลางสูง 6-10 เมตร  ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบโดยมากลำต้นมักเตี้ย กิ่งก้านสาขามาก เปลือกหนาแตกล่อนเป็นแผ่นๆ  ปกติเปลือกสีเทา แต่มีไฟป่าเผาทุกปีจึงออกสีดำคล้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยว  ออกเรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร  ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบบางและเหนียว ขอบใบหยักเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 9-15 เส้น ก้านใบยาว  0.3-2.5 เซนติเมตร ใบแก่ก่อนร่วงสีแสด
    ดอก  สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเดี่ยวๆหรือเป็นกระจุกๆละ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ  สีขาวหลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่ 4 ช่อง สีแดงปลายขาว เรียงเป็นชั้นๆ โคนเชื่อมติดกัน มีดอกพร้อมใบอ่อน ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดเเบบมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลม อวบน้ำ ขนาด 5-7 เซนติเมตร ที่ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
    เมล็ด  เมล็ดจำนวนมาก มีเยื่อหุ้ม แบน สีน้ำตาลอ่อน รูปขอบขนาน ผิวเรียบ
ฤดูกาลออกดอก:  ธ.ค.-ก.พ.
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน เครื่องมือเครื่องใช้
    -    เป็นหมอนรองรางรถไฟ
    -    เส้นใยที่ได้จากเปลือก หยาบ ใช้ทำเชือก ทำเบาะรองหลังช้าง ทำกระดาษสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ:  ป่าเบญจพรรณชื้น ป่าแดงและป่าหญ้า
สรรพคุณทางยา: 
    -    เปลือก ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษงู แก้เมื่อยเคล็ด เป็นยาฝาดสมาน ใช้เบื่อปลา และใช้เป็นสีย้อม
    -    ใบ รักษาแผล ใบอ่อนรับประทานได้
    -    ดอกและยอดกินเป็นผัก
    -    ดอกและน้ำจากเปลือกสดใช้ผสมกับน้ำผึ้งจิบแล้วชุ่มคอ แก้ไอและแก้หวัด เป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร
    -    ผลกินได้ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาฝาดสมาน

คำสำคัญ: กระโดน