ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Shorea talura Roxb.
ชื่อวงศ์:  DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ:  White - Meranti
ชื่อพื้นเมือง:  ขะยอม  พยอมทอง ภูริง เชียงเชี่ยว กะยอม แคน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกหนา สีน้ำตาล หรือเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น
    ใบ  ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแคบ ๆ   ขนาดกว้าง 3.5 – 4 เซนติเมตร  ยาว 8 - 10 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายมนหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน  
    ดอก  สีขาว กลิ่นหอมจัด ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบโคนเชื่อมติดกัน  เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกันแบบกังหัน เกสรตัวผู้ 15 อัน
    ฝัก/ผล  รูปกระสวยกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปลีกยาวปลายแหลมมีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ฤดูกาลออกดอก:  ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด   เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    เนื้อไม้มีลักษณะคล้ายไม้ตะเคียนทอง ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องเรือน
แหล่งที่พบ:  ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ตลอดจนป่าดิบแล้งทั่วไปแทบทุกภาค ที่สูงจากระดับน้ำทะเล  60 - 1200 เมตร
สรรพคุณทางยา:
    -    เปลือกมีรสฝาดใช้เป็นยา สมานลำไส้   ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด ใช้ฟอกหนัง
    -    ดอกผสมยาแก้ไข้ และยาหอมแก้ ลม บำรุงหัวใจชันใช ผสมน้ำมันทาไม้ ยาเรือ

คำสำคัญ: พยอม