ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มเต่ารั้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm,Tufted Fishtail Palm
ชื่อพื้นเมือง:  เขืองหมู่ (ภาคเหนือ) เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง) เต่ารังแดง (นครศรีธรรมราช) มะเด็ง (ยะลา)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มชนิดแตกกอ สูง 3-12 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-15 ซม. มีลักษณะกลมเป็นปล้อง กาบใบมีใยคล้ายตาข่ายหุ้มลำต้น
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเวียนสลับ กว้าง 100-150 ซม. ยาว 150-27ซม ใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยมและกว้าง 8-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. สีเขียวสดและมัน แต่ตรงใต้ใบเป็นสีเขียว
    ดอก  สีขาวครีม ออกเป็นช่อ ตามลำต้น ยาวประมาณ 2-3 ฟุต จะออกที่ละยอด
    ฝัก/ผล  ค่อนข้างกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. เมื่อยังอ้อนจะเป็นสีเขียว แต่พอผลแก่จะเป็นสีแดงอมดำ ตามผิวของผลนั้นจะมีขนละเอียด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   
แหล่งที่พบ:  เกิดตามป่าดงดิบ ริมแม่น้ำลำธาร ป่าแล้งโดยทั่วไป
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ยอดอ่อน แกงหรือต้มเป็นอาหาร
สรรพคุณทางยา:  ราก,หัว ดับพิษตับปอด แก้กาฬขึ้นปวด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน
ความมงคล:  ต้นไม้ที่คนไทยเชื่อกันว่าจะส่งผลที่ไม่ดีแก่ผู้ปลูกนั้น มักจะมีชื่อที่ค่อนไปในทางที่ไม่ดีนัก ถือว่าเป็นอัปมงคลนาม เชื่อ กันวาหากสามีภรรยาคู่ใด ปลูกต้นเต่าร้างเอาไว้ในบ้าน ก็อาจจะต้องเลิกราหย่าร้างกันไปก็เป็นได้ เพราะชื่อเต่าร้างนั้น ก็แสดงไปในความหมาย ของ การเลิกร้าง-ร้างรา หรือหย่าร้างอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่เหมาะที่จะปลูกต้นไม้ชนิดนี้ ไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อครอบครัวของคุณคุณ จะได้มีแต่ความสงบสุขตลอดไป

คำสำคัญ: ปาล์ม