ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเต่าร้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Common fishtail palm, Clustering Fishtail Palm, Jaggery Palm
ชื่อพื้นเมือง:  เต่ารั้ง เต่ารั้งแดง มะเด็ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มชนิดแตกกอ  สูง 3-12  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้นประมาณ 10 ซม. รากแบบระบบรากฝอย (fibrous root system) รากเป็นรากเกิดใหม่ที่โคนต้น ลำต้นสามารถแตกหน่อด้านข้างในตำแหน่งใต้ดินหรือใกล้ผิวดินเป็นกอ เป็นกอขนาดเล็ก ลำต้นมีสีแดงเข้มปนน้ำตาลจนเกือบดำ
    ใบ  เรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น  เป็นรูปหางปลา ปลายใบเว้า มีหยัก ฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวเข้มทั้งหลังใบและใต้ใบ กว้างประมาณ 120 ซม. ยาวประมาณ 200 ซม.  ใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยม
    ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามลำต้น ช่อดอกจะผลิดอกย่อยออกมาจากภายใต้กาบใบ ช่อดอกประกอบด้วย ดอกเพศผู้สีเหลืองนวล ดอกเพศเมียสีเหลือง เป็นพวงยาวประมาณ 60 - 90 ซม. แขนงช่อดอกจะมี ดอกออก 2 ข้าง รูป spike รวมเป็นกระจุก กระจุกๆละ 3 ดอก
    ฝัก/ผล  ค่อนข้างกลม  เรียงเป็นแถว ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีแดงคล้ำถึงดำ ผิวของผลมีขนละเอียดเล็ก ๆ ถ้าได้สัมผัสจะ ทำให้คันมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    บริโภค
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร:  แกงหรือต้มเป็นอาหาร
สรรพคุณทางยา:  
    -    ราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด
    -    หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ

คำสำคัญ: เต่าร้าง