ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus odoratissimus L.f.
ชื่อวงศ์:  Pandanaceae
ชื่อสามัญ:  Screw Pine
ชื่อพื้นเมือง:  ลำเจียก การะเกด ปะหนัน, ปาแนะ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีรากอากาศงอกออกมาจากลำต้น ลำต้นกลมเป็นข้อถี่ๆ
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับกระจุกอยู่ที่ปลายยอด รูปขอบขนานเรียวยาวผิวเรียบมัน ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นร่องตามยาว ขอบมีหนามแหลมคม ถี่ ๆ ตลอดใบ ใบประดับสีขาวเรียวยาว เป็นกาบหุ้ม
    ดอก  ช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล มีเฉพาะดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอกห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาวมีกลิ่นหอม  ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก สำหรับต้นที่เรียกว่าลำเจียกต้นจะมีเฉพาะดอกตัวผู้ไม่มีกลีบดอกเหมือนกัน
    ฝัก/ผล  ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุก มองดูคล้ายสับปะรดรูปรี เมื่อแก่ผลจะเป็นสีแสด
การปลูก:  ขึ้นตามที่ชุ่มน้ำหรือมีน้ำขัง
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ใบใช้ในการทำสาด (เสื่อ) ใช้ผสมอาหารหรือขนมให้น่ารับประทาน (สีเขียว) และมีกลิ่นหอม
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    รากอากาศ แก้กษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับนิ่ว แก้หนองใน แก้หมาดขาว(ระดูขาว) ขับเสมหะ ราก แก้พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ   
    -    ดอก แก้ลม บำรุงหัวใจ แก้ไข้
    -    ต้น ใช้เป็นยาแก้กษัยน้ำเบาพิการ หรือเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน
    -    ใบ มีรสเย็นสบาย เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น รักษาโรคผิวหนัง โรคหัด

คำสำคัญ: เตย