ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Streblus asper   Lour.
ชื่อวงศ์:  MORACEAE
ชื่อสามัญ:  Siamese   Rough  Bush
ชื่อพื้นเมือง:  ข่อยน้ำ  กระแตไม้  กักไม้ฝอย สนนาย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างคดงอ   เป็นปุ่มปม   หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป   อาจขึ้นเป็นต้นเดียว หรือเป็นกลุ่ม   แตกกิ่งต่ำ   บางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน   เรือนยอดเป็นรูปวงกลม   กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆ   มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก   รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ  กว้าง 2 - 3.5  ซ.ม.  ยาว  4 - 7 ซ.ม.  เนื้อใบค่อนข้างหนา  ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน
    ดอก  ออกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน  ออกตามปลายกิ่ง   ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก  ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน
    ฝัก/ผล  ลักษณะของผลจะกลมมีสีเหลือง คล้ายกับเม็ดพริกไทยสีขาว ผลสุกมีสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกนิ่มและฉ่ำน้ำ ซึ่งมีรสหวาน  นกจะชอบกินผลข่อย
    เมล็ด  มีเมล็ดเดียว ลักษณะกลมคล้ายเมล็ดพริกไทย
ฤดูกาลออกดอก:  มกราคม - กุมภาพันธ
การปลูก:  ปลูกลงดิน หรือ ปลูกใส่กระถาง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    - ไม้ประดับ
    - ยางใช้กำจัดแมลง
    - ไม้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดเรียกว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย เชียงใหม่ใช้มวนยาสูบ 
    - กิ่งชาวอินเดียใช้สีฟัน ทำให้ฟันทน
    - เมล็ด  เข้ายาอายุวัฒนะ  บำรุงธาตุ  และเจริญอาหาร
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ:  พบทั่วไปในที่ราบ  ในป่าเบญจพรรณแล้งจนถึงป่าดิบแล้งทั่วไป  ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 20-600 เมตร

คำสำคัญ: ข่อย