ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกันเกรา

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Fragraea fragrans Roxd
ชื่อวงศ์:  LOGANIACEAE
ชื่อพื้นเมือง:  ตำเสา(ไทย เกาะพงัน ตรัง) ทำเสา (นราธิวาส) มันปลา (กบินทร์บุรี)  มะซู
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็น ไม้ที่มีรูปทรงต้นเปลาตรง เรือนยอกเป็นรูปเจดีย์  มีใบเขียวตลอดปีให้ร่มเงาได้ดี เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบสูง 8-30 ม.
    ใบ  เดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน
    ดอก  ออกเป็นช่อกระจะแยกแขนงตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 5 - 10 ซม. ก้านดอกสั้นๆ มีดอกออกหนาแน่นเป็นกระจุกบนช่อสั้นๆที่ปลายกิ่ง ดอกกลิ่นหอมเย็นๆ เมื่อดอกเริ่มบานจะสีขาวต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้จะร่วงสีเหลืองเข้มขึ้น
    ฝัก/ผล  ผล กลมมีเนื้อขนาดเล็กรวมกันเป็นช่อดอก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มม. มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลายสุด เมื่อกแผลังไม่แยกออกจากกัน ผมอ่อน สีเขียว ผมแก่ไม่แตก เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดนก
    เมล็ด  ขนาดเล็กเป็น จำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  เมษายน - มิถุนายน
การขยายพันธุ์:  เพาะกล้าจากเมล็ด การปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    แก่น มีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก
    -    เปลือก ใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง
ความมงคล:  บ้านใดปลูก ต้นกันเกราไว้ประจำบ้านจะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ และ กันเกราเป็น 1ใน 9ชนิดที่คนไทยใช้สร้างบ้านเวลาลงเสาเอก

คำสำคัญ: กันเกรา