ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะพ้อหนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Licuala spinosa Thunb.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Fan  Palm
ชื่อพื้นเมือง:  กะพ้อ กะพล้อ เจ้าเมืองตรัง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มลำต้นเตี้ยถึงขนาดกลาง สูง 3-4 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 ซม. ลำต้นแตกหน่อเป็นกอแน่นมีรอยกาบใบที่หล่นไป
    ใบ  มีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ ใบรูปกลม กว้างยาวประมาณ 1 ม. ก้านใบยาว 0.8-1 ม. ก้านใบและกาบใบมีหนามเล็กๆ ห่างๆ ใบประกอบด้วยกลุ่มใบย่อย 17-21 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีใบย่อยติดกัน 2-3 ใบ ใบย่อยรูปแถบ กว้าง 5-6 ซม. ยาวประมาณ 55 ซม. โคนสอบ ปลายตัด บางใบเว้าเป็นหางปลา ใบย่อยไม่มีก้าน ออกเป็นกลุ่มชิดกันที่ปลายก้านใบ ใบย่อยกลางเป็นแฉกลึก 3 แฉก
    ดอก  ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ห้อยลง ยาวประมาณ 2 ม. แยกแขนงเป็นช่อดอกย่อย 3-4 ช่อ ช่อดอกย่อยออกเป็นระยะห่างๆ กัน 15-27 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. มีกาบเป็นหลอดยาว ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ก้านดอกสั้นมาก ใบประดับรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายตัดสั้นมาก ดอกสีขาว กลีบดอกยาวกว่ากลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ 6 อัน เกสรเพศเมียเล็กมาก
    ฝัก/ผล  รูปรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.  ผลแก่สีแดง  มี 1 เมล็ด  ขนาด 10-12 มม.
    เมล็ด  กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.
ฤดูกาลออกดอก:  เกือบตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้กระถางหรือในแปลง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ:  ตอนใต้ของไทยและพม่า ในป่าดงดิบชื้น

คำสำคัญ: กะพ้อ