ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะพ้อแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Licuala paludosa Griff.
ชื่อวงศ์:  ARECACEAE (PALMAE)
ชื่อพื้นเมือง:  พ้อพรุ ขวน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็น ปาล์ม ลำต้นเตี้ย เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 4-6 เซนติเมตร สูง 4-6 เมตร ลำต้นแตกหน่อเป็นกอ
    ใบ  เป็นใบประกอบรูปฝ่ามือ กาบใบสีส้ม ขอบกาบใบ มี รกเป็นเส้นใยสี น้ำตาลดำหุ้มลำต้น และมีลิ้นใบสี น้ำตาลแดงยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ก้านใบสีเหลืองส้ม ยาว 1-3 เมตร ที่ขอบมีหนามสั้นๆ แผ่นใบสีเขียวค่อนข้างกลม ขนาด 1 x 1เมตร มีใบย่อย 8-12 ใบ จักเว้าลึกถึงสะดือ ใบย่อยตรงกลางใหญ่สุด ปลายแยกเป็น 2 ส่วนบนฐานเดียวกัน ปลายใบหยักเป็นซี่ส่วนของกาบใบ ก้านใบ แกนกลางใบและกาบหุ้มช่อดอก มีขนละเอียดสีน้ำตาลปกคลุม
    ดอก  ช่อดอก ออกบริเวณซอกกาบใบเป็นช่อแยกแขนง ยาว 1-2 เมตร มี 6-10 แขนง แต่ละแขนง มี 5-7 ช่อย่อย
    ฝัก/ผล  ผลรูปไข่กลับ ขนาด 8-10 x 6-8 มิลลิเมตร มี 1 เมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง
    เมล็ด  กลม
ฤดูกาลออกดอก:  มกราคม – พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    บริโภค
    -    ก้านใบ เอาหนามออกผ่าเป็นตอกใช้มัดข้าวกล้า
แหล่งที่พบ:  พบในป่าพรุและบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ทั้งในที่ร่มและที่โล่ง
ส่วนที่ใช้บริโภค:
    -    ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก
    -    ใบที่เป็นยอดอ่อนใช้ห่อข้าวเหนียวต้มจนสุกเป็น "ต้ม" ใช้เป็นขนมเดือนสิบ

คำสำคัญ: กะพ้อ