ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของลำดวน

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อวงศ์:  Annonaceae
ชื่อพื้นเมือง:  หอมนวล
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวลำต้น
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  ใบรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี  กว้าง 2-3 เซนติเมตร  ยาว 5-12 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม   โคนใบแหลมหรือเบี้ยว  ขอบใบเรียบ  ใบเกลี้ยง   ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน  ด้านล่างสีเขียวนวล
    ดอก  สีเหลืองนวล   มีกลิ่นหอม  ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบหรือตอนปลายกิ่ง  กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 3 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 6 กลีบ หนามีขนนุ่ม ชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ  ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2..5 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ ออกเป็นกลุ่มมีมากถึง 27 ผล ผลย่อยทรงกลมหรือไข่ ขนาด 1-1.2 เซนติเมตรผลสุกสีดำปนม่วง มีคราบขาว ก้านผลยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มี 1-2 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ธันวาคม - มีนาคม
การปลูก:  ปลูกประดับสวน
การขยายพันธุ์:  เมล็ด หรือตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
    -    ลำต้นใช้ทำฟืน
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีน
แหล่งที่พบ:  พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก และภาคกลางของ ประเทศไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ผลมีรสหวานรับประทานได้
สรรพคุณทางยา:  ดอกแก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต

คำสำคัญ: ลำดวน