ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของรำเพย

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Thevetia peruviana (Pers.) K.  Schum.
ชื่อวงศ์:  Apocynaceae
ชื่อสามัญ:  Yellow oleander, Lucky bean, Trumpet flower, Lucky nut
ชื่อพื้นเมือง:  กะทอก กระบอก บานบุรี ยี่โถฝรั่ง แซน่าวา แซะศาลา รำพน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น
    ดอก  สีเหลือง ส้มและขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง  ช่อละ 3-4 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวสั้น 5 กลีบ เป็นแฉกคล้ายรูปดาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 5-7.5 เซนติเมตรปลายแยกเป็น 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสด รูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม ปลายผลแบน มีรอยหยักเป็น 2 แฉก  ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร  มีสันนูนเป็นแนวยาว  สีเขียว เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดเดียว เป็นพิษทั้งผล
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การขยายพันธุ์:  ปักชำ เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาเขตใต้
สรรพคุณทางยา:
    -    เปลือก ใช้รักษาไข้มาเลเรีย แก้ไข้ เป็นยาถ่าย ใช้เพิ่มความดันโลหิตสูง
    -    ใบและเมล็ด ใช้เป็นยาถ่าย ยาทำแท้ง

คำสำคัญ: รำเพย