ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของดาวเรือง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Tagetes erecta L.
ชื่อวงศ์:  Compositae
ชื่อสามัญ:  Marigold
ชื่อพื้นเมือง:  ดอกคำพู่จู้ คำปูจู้หลวง ดาวเรืองใหญ่ พอทู ดาวเรืองอเมริกัน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ดอกล้มลุก มีทั้งพันธุ์เตี้ยเเละพันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม
    ดอก  มีหลายสี   เข่น  สีขาว เหลือง เหลืองทอง และส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น   โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่เป็นรูปไข่กลับ ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักเป็น 5 ซี่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
    ฝัก/ผล  ผลแห้งไม่แตก มีสีดำ
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกประดับเป็นจุดเด่นในสวนหรือปลูกเป็นกลุ่ม ริมถนน ทางเดิน
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดจัด   สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด, ปักชำยอด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมฉุน
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    สีของดอกใช้เป็นสีย้อมผ้า
    -    ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริม เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น
    -    ป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็นแมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี
    -    เพื่อจำหน่าย  ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ใช้ทำพวงมาลัย ใช้ปักแจกัน
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศเม็กซิโก, อเมริกาใต้
สรรพคุณทางยา:
-    ใบ มีสรรพคุณพอกแผลฝี  ทาแผลเน่าเปื่อย  น้ำคั้นจากใบแก้ปวดหู
-     ดอก แก้ริดสีดวงทวาร  ขับเสมหะแก้เจ็บตา เวียนศีรษะ ไอกรน คางทูม

คำสำคัญ: ดาวเรือง