ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของคูน

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cassia fistula Linn.
ชื่อวงศ์:  LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ:  Golden Shower, Indian Laburnum,  Pudding-pine Tree
ชื่อพื้นเมือง:  ลมแล้ง (ภาคเหนือ) ลักเคยลักเกลือ (ภาคใต้) กุเพยะ(กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ปึยยะปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 9-15 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ ลำต้น ค่อนข้างเปลาตรง เปลือก สีเทาขาว หรือน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดหนาในต้นขนาดใหญ่
    ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แกนยาว 20-30 เซนติเมตร ใบย่อย เกลี้ยงออกตรงกันข้าม 3-8 คู่ แผ่นใบย่อย รูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 7-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบ กว้างหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยยาว 5-10 เซนติเมตร หูใบขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย
    ดอก  ออกเป็นช่อ 8-10 มิลลิเมตร  แต่ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง รูปกระจะห้อยลงออกตามกิ่งยาว 20-40 เซนติเมตร  แกนเกลี้ยงก้านดอกย่อยยาว 1.1-3.5 เซนติเมตร  ใบประดับยาวรีแกมไข่ ยาว 7-10 มิลลิเมตร มีขนละเอียดด้านนอกส่วนด้านในเกลี้ยง  กลีบดอก สีเหลืองสดรูปไข่ถึง    ไข่กลับเบี้ยวเล็กน้อย กว้าง 10-15 มิลลิเมตร ยาว 25-35 มิลลิเมตร  โคนเบี้ยวสอบเข้าเป็นก้านสั้นๆ เกสรเพศผู้ 10 อัน ขนาดไม่เท่ากันโดย 3 อันที่ยาวที่สุด 3 เซนติเมตร อับเรณูยาว 5 มิลลิเมตร เปิดด้านบนและด้านล่าง อีก 4 อันสั้นกว่ามีก้านยาว 8-10 มิลลิเมตร  อับเรณูเปิดเฉพาะส่วนฐาน และอีก 3 อันที่ลดรูปลงมีขนาดเล็กยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร  รังไข่ รูปแถบหรือขอบขนานแคบ ยาว 1.5-2 เซนติเมตร  มีขนปกคลุมตลอดรวมทั้งก้านชูรังไข่ และก้านเกสร
    ฝัก/ผล  หลังจากที่ดอกได้รับการผสมแล้ว จะมีการเจริญเติบโตของผล อย่างรวดเร็ว เป็นฝักกลมยาวถึง 60 เซนติเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร  ฝักสดสีเขียว ฝักแห้งสีน้ำตาลดำเลี้ยง
    เมล็ด  มีจำนวนมากเรียงขวางโดยแต่ละเมล็ดจะมีเยื่อกันเป็นห้องๆ เมล็ดรูปรีแบน สีน้ำตาลเกลี้ยงเป็น
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
การปลูก:  ปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่พอสมควร
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตบนดินได้เกือบทุกชนิด ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    - เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง
    - เนื้อไม้สีแดงแกมเหลือง ทนทาน ใช้ทำเสา ล้อเกวียน
    - ไม้ประดับ
    - สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  แถบเอเชียเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ศรีลังกา และมาเลเซีย
แหล่งที่พบ:  ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
สรรพคุณทางยา:
    - รากและแก่น เป็นยาขับพยาธิ 
    - ใบ ต้มกินเป็นยาระบาย
    - ดอก แก้ไข้
    - ฝัก เนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ

คำสำคัญ: คูณ