ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Quisqualis indica L.
ชื่อวงศ์:    Combretaceae
ชื่อสามัญ:    Rangoon creeper, Drunken sailor
ชื่อพื้นเมือง:    จ๊ามั่ง จะมั่ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้เถาเลื้อย  เนื้อแข็ง อายุหลายปี เลื้อยได้ไกลมากกว่า 10 เมตร กิ่งอ่อนนุ่ม กิ่งแก่มีหนาม ทรงพุ่มแน่นทึบ
    ใบ    ใบเดี่ยว    เรียงตรงข้าม   รูปรีถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน  ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ
    ดอก    สีขาว  เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดง  มีกลิ่นหอมแรงในช่วงค่ำถึงเช้า  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงห้อยลงตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 10-20 ดอก ทยอยบานครั้งละ 3-6 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอก 5 กลีบ รูปแถบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-4 ซม.
    ฝัก/ผล    รูปแหลมหัวแหลมท้ายตรงกลางป่อง มีครีบเป็นสันตามความยาวของผล 5 ครีบ สีเขียวแข็ง และเมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล พันธุ์ที่ปลูกเป็นไม้ ประดับ มี 2 พันธุ์ คือ กลีบดอกที่แผ่ 5 แฉก และตรงแฉกจะซ้อน อีกพันธุ์หนึ่งไม่ซ้อน ทั้ง 2 พันธุ์ นี้ใบมีขนน้อยมาก และไม่ ติดผล อีกพันธุ์ใบมีขนมาก ติดผล
    เมล็ด    มี 1 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกได้ตลอดปี ออกดอกดกในช่วงฤดูร้อน
การขยายพันธุ์:    เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ชำราก ทับกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกมีกลิ่นหอมเริ่มในเวลาเย็น แล้วส่งกลิ่นไปตลอดทั้งคืนทั้งวัน
การใช้ประโยชน์:    ปลูกประดับเป็นซุ้มหรือรั้ว  ริมทางเดิน   ริมถนน และสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    เอเชียเขตร้อน
แหล่งที่พบ:    ตามป่า

คำสำคัญ: เล็บมือนาง