ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของชะลูดช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Stephanotis floribunda Brongn.
ชื่อวงศ์:    Apocynaceae
ชื่อสามัญ:    Madagascar jasmine, Doftranka, Duftranke, Bridal wreath, Creeping Tuberose
ชื่อพื้นเมือง:    ช่อนกลิ่นเถา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้เถาเลื้อย เถามีขนาดเล็กสีขาว กลม และทุกส่วนของชะลูดช้างมียางสีขาว
    ใบ    เป็นไม้ใบเดี่ยว ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อของลำต้นหรือเถาใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบกว้างและหนา เป็นมัน คล้ายแผ่นหนัง โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบยกขึ้นทางด้านบนทำให้ใบมีลักษณะเป็นราง
    ดอก    ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอด ปลายดอกแยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวสะอาดเช่นเดียวกับดอกมะลิ และมีกลิ่นหอม กลีบดอกหนา เนื้อดอกละเอียด ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ติดอยู่ 5 อัน ตรง บริเวณโคนหลอดดอก มีอับเรณูเป็นแผ่นเหนียว
    ฝัก/ผล    ผลคล้ายมะม่วงกะล่อน เป็นฝักคู่  ฝักแตกด้านเดียว
    เมล็ด    เมล็ดมีขนฟู สามารถปลิวลอยตามลมไปได้ไกล ๆ
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด-การทาบกิ่ง และการปักชำ 
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอก
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับใส่กระถาง และสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    เกาะมาดากัสการ์

คำสำคัญ: ชะลูดช้าง