ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของชมนาด

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Vallaris glabra ktze.
ชื่อวงศ์:    APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ:    Bread Flower
ชื่อพื้นเมือง:    ดอกข้าวใหม่, ดอกขาวใหม่, ชำมะนาด, อ้มส้าย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เถาสีเทาสามารถเลื้อยไปได้ไกลทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นมีร่องแตกทั่วไป
    ใบ    เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม รูปไข่แกมรี ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนมนใบสีเขียวเข้มเป็นมันขนาดกว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม.
    ดอก    ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายยอดช่อละมากกว่า 10 ดอกกลิ่นหอมเหมือนข้าวสุกใหม่ๆ ดอกสีขาว รูปถ้วย โคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นเป็นจีบ 5 แฉก ปลายกลีบแหลม กลีบบอบบางและมักบิดม้วนที่บริเวณปลายกลีบดอกมีขนาดเล็ก 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน ติดกันคล้ายลูกศรบริเวณกลางดอก เกสรเพศเมียอยู่ภายในเหนือฐานรองดอก
    ฝัก/ผล    เมื่อแรกรูปดอกบัวตูมแล้วแบ่งเป็นสองพู โคนผลติดกันรูปร่างคล้ายเขาวัว ปลายผลเรียวแหลม เนื้อผลนุ่ม เมื่อผลแก่แตกออกตามแนวผลที่ผลแต่ละซีกแยกออกจากกัน
    เมล็ด    ใย เป็นระยาง
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกตลอดทั้งปี
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกมีกลิ่นหอมแรง และนานทนอยู่หลายวัน กลิ่นหอมแรงเป็นพิเศษช่วงหัวค่ำ กลิ่นหอมของชมนาดคล้ายกับ กลิ่นใบข้าวอ่อน หรือข้าวหอมหุงใหม่ๆ
การใช้ประโยชน์:    - ปลูกเป็นไม้ซุ้มประดับสวนใช้ดอกเป็นเครื่องอบในแป้งร่ำ เครื่องหอม
                             - สมุนไพร
                             - ใบและกิ่งมีสารดึงดูดแมลงวันทอง  
ถิ่นกำเนิด:    ในทวีปเอเชียเขตร้อน โดยเฉพาะเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย
แหล่งที่พบ:    ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย 
การปรุงอาหาร:    ดอก ใช้อบน้ำทำข้าวแช่

คำสำคัญ: ชมนาด