ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของแก้วมุกดา

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Fagraea racemosa Javanica, Fagraea blumeana
ชื่อวงศ์:    Loganiaceae
ชื่อสามัญ:    Perfume flower tree, Pua Keni Keni, Trai Tichlan, Lau binh, Gia
ชื่อพื้นเมือง:    นางสวรรค์ นิ้วนางสวรรค์ (ภาคใต้), ฝ่ามือผี (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), โพดา (ปัตตานี), เทียนฤาษี (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้พุ่มรอเลื้อย เมื่ออยู่กลางแจ้งจะเป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก แก้วมุกดาสายพันธุ์ดอกหอม ลักษณะลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนพันธุ์ดอกหอมออกสีเขียวอย่างเดียว
    ใบ    แก้วมุกดาสายพันธุ์ดอกไม้หอม พื้นใบโดยรวมมีลักษณะงุ้มลงเหมือนหลังเต่า ส่วนพันธุ์ดอกหอมมีลักษณะห่อตัวขึ้น เหมือนลักษณะใบไม้ทั่วไป
    ดอก    มีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะรูปร่าง หน้าตา ลักษณะของเกสรตัวผู้ตัวเมีย แต่ที่ต่างกันกัน แก้วมุกดาพันธุ์ดอกไม่หอมมีสีดอกขาวอมเหลือง มีริ้วสีเหลืองบริเวณโคนดอกทั้งด้านนอกและด้านใน ส่วนพันธุ์ดอกหอมจะมีสีขาวอมเขียวในบริเวณดังกล่าว
ฤดูกาลออกดอก:    ฤดูฝน
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง  
การดูแลรักษา:  เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต หากขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโตจะแสดงอาการใบเหี่ยวให้เห็นทันที ในช่วงหน้าร้อนควรรดน้ำอย่างน้อยวันเว้นวัน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกหอมนานมากถึงแม้ดอกจะโรยและร่วงหลุดจากต้นก็ยังคงความหอมอยู่ หอมมากช่วงที่อากาศเย็น
การใช้ประโยชน์:    ปลูกเป็นไม้ประดับใบได้ดี
ถิ่นกำเนิด:    แถบเอเชีย  

คำสำคัญ: แก้วมุกดา