ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของคิ้วนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Bauhinia winitii Craib.
ชื่อวงศ์:    LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ:    -
ชื่อพื้นเมือง:    อรพิม
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้เถามีมือเกาะกิ่งอ่อน มีขนสีน้ำตาล
    ใบ    ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ เกิดช่องว่างเป็นระยะห่างระหว่างสองแฉก 0.8-1.6 ซม. ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ เส้นใบมี 4 คู่ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง
    ดอก    ช่อแบบช่อกระจะ ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลางลดหลั่นตามลำดับจากบนลงล่าง ดอกย่อยประกอบด้วย วงกลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ แยกกัน ปลายของแต่ละแฉกแหลม ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง กลีบดอกจำนวน 5 กลีบ แยกกัน แบ่งเป็นกลีบกลาง  สีเหลืองครีมรูปไข่กลับ กลีบคู่ข้างและกลีบคู่ล่าง ขนาดเท่ากัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ
    ฝัก/ผล    แบบฝักถั่ว สีแดง แบนเกลี้ยง มี 2-4 เมล็ด เมื่อแก่เต็มที่ฝักแตก
    เมล็ด    สีขาวแบน ๖-๑๐ เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    สิงหาคม-มกราคม
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอก
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับและสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    ไทย
แหล่งที่พบ:    ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าโปร่งบนภูเขาหินปูนในภาคกลาง และภาคตะวันออก

คำสำคัญ: คิ้วนาง