ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของคัดเค้า

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Oxyceros horridus (Lour.)
ชื่อวงศ์:    Rubiaceae
ชื่อสามัญ:    -
ชื่อพื้นเมือง:    คัดเค้าหมู,คัดเค้าหนู ,ตังขุย ,ตังผี ,ตังหยู ,มะกั่งหผี ,หูชะลวง,ลิเถือน,หนามลิดเค้า,จีเค๊า,พระยาเท้าเอา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มรอเลื้อย ไม่ผลัดใบ บริเวณข้อมีหนามโค้งแหลมเกิดเป็นคู่ๆ อยู่ตรงกันข้ามกัน เรือนยอดไม่เป็นระเบียบ กิ่งก้านหนาแน่นแตกตั้งฉากกันออกตรงข้าม อาจตัดแต่งรูปทรงได้ เปลือกนอกสีเทา มีรูระบายอาอากาศมาก แตกร่องตื้นๆ ตามยาวลำต้น เปลือกในสีขาว
    ใบ    ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปใบกลมรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมทู่ๆ โคนใบมนโค้ง เนื้อใบหนาเกลี้ยง เป็นมัน ขอบใบเรียบ  เส้นแขนงใบย่อยไม่ชัดเจน
    ดอก    เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกเชิงหลั่น ออกบริเวณซอกใบ กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วยคล้ายลูกข่างรีๆ ส่วนปลายแยกเป็นอิสระ 5 กลีบ แต่ละกลีบปลายแหลม กลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวเมื่อแรกบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ มีกลิ่นหอมแรง รูปกลีบรูปหอกหรือแกมขอบขนาน
    ฝัก/ผล    ผลทรงกลมหรือรี ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงก้นผลมีแผลเป็นวงกลมสีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวน 1 เมล็ด
    เมล็ด    โตเท่าหัวไม้ขีดไฟ
ฤดูกาลออกดอก:    เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด  การปักชำ และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกมีกลิ่นหอมแรงโชยไปได้ไกลทั้งกลางวันและกลางคืน
การใช้ประโยชน์:    เป็นไม้ประดับ  เลื้อยเป็นซุ้ม หรือเลื้อยตามรั้ว ใช้ป้องกันขโมยได้ดี เพราะมีหนามแหลม เป็นอาหาร และเป็นพืชสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    ในเอเชียเขตร้อน
แหล่งที่พบ :   พบบริเวณป่าดิบชื้นโปร่งบริเวณภาคกลางและภาคเหนือ
ส่วนที่ใช้บริโภค:    ยอดอ่อน ผลอ่อน
การปรุงอาหาร:    - ยอดอ่อน นำมาปรุงอาหาร เช่น ยำใส่มะพร้าวคั่ว
                          - ผลอ่อนและลูกแก่ใช้รับประทานเป็นผักเหนาะหรือผักสดร่วมกับน้ำพริก โดยรับประทานสดหรือนำมาลวกให้สุก

คำสำคัญ: คัดเค้า