ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของข้าวสารดอกใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Raphistemma pulchellum (Roxb.)
ชื่อวงศ์:    ASCLEPIAPACEAE
ชื่อสามัญ:    -
ชื่อพื้นเมือง:    ข้าวสาร(กลาง) เครือเขาหนัง(เหนือ) ข้าวสารดอกใหญ่(กรุงเทพฯ)เคือคิก(สกลนคร) โอเคือ(ลาว) ไคร้เครือ(สระบุรี) เซงคุยมังอูมื่อมังอุยเหมื่อเซงครึย(กะเหรี่ยง-ลำปาง) เมืองสาร(ชุมพร)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    จะมีขนาดเล็กและมีผิวเกลี้ยง และหากลำต้นหรือเถาได้รับบาดแผล ก็จะมียางสีขาวไหลออกมา
    ใบ    ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบคล้ายรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบจะแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ โคนใบเว้า  เนื้อในบางบริเวณด้านบนตรงกลางใบจะมีขนขึ้นเป็นกระจุก ก้านใบเล็กและเรียว
    ดอก    มีดอกสีขาวขนาดใหญ่  ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 4-10 ดอก และก้านดอกจะมีขนาดเล็กมาก มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะคล้ายรูปไข่ หรือรูปขนาน ตรงปลายจะกลม ขอบกลีบบาง ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีสีขาว โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกจะหนา และสั้นกว่าท่อดอก
    ฝัก/ผล    มีลักษณะเป็นฝัก และโค้ง
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆในเวลากลางคืน
การใช้ประโยชน์:    เป็นไม้ดอกไม้ประดับ บริโภค และสมุนไพร   
แหล่งที่พบ:    เกิดตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่ว ๆ ไป
ส่วนที่ใช้บริโภค:    ดอก เถา โคน
การปรุงอาหาร:    นิยมนำมาแกงส้ม ต้มทานกับน้ำพริก หรือทอดกับไข่ เถา ลอกเปลือกจิ้มน้ำพริก โคนต้นที่หมกดิน ล้างแล้วต้มลอกเปลือกนำมา เป็นผักจิ้มน้ำพริก


คำสำคัญ: ข้าวสารดอกใหญ่