ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของการเวก

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Artabotrys siamensis Mig.
ชื่อวงศ์:    ANNONACEAE
ชื่อสามัญ:    Bhandari
ชื่อพื้นเมือง:    กระดังงาป่า,กระดังงาเถา, กระดังงัว, หนามควายนอน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลางถึงใหญ่ มีหนามแข็งและยาวตามลำต้น เปลือกต้นสีเทาอมดำค่อนข้างเรียบ ลอกดูมีกลิ่นเหม็นเขียว เพราะมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ ยอดอ่อนมีขน
    ใบ    เป็นใบเดี่ยวเรียงแบบสลับกัน ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่าและมีขนประปรายตามเส้นกลางใบ
    ดอก    ออกดอกเป็นช่อ 1 -5 ดอก ก้านช่อดอกแบนและโค้งคล้ายขอ ออกตรงข้ามกับก้านใบ ดอกอ่อนสีเขียว มีขนมาก ดอกแก่สีเหลือง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กสีเขียว ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกหนา กลีบดอกรูปไข่หรือรียาว เรียงเป็น 2 ชั้นๆละ 3 กลีบ
    ฝัก/ผล    ผลออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 20 ผล ผลแก่สีเหลือง แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ กลิ่นหอมแรงมากและเริ่มหอมเวลาเย็น
    เมล็ด    แต่ละผลมี 2 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกมีกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงเช้า และหยุดหอมในช่วงกลางวัน
การใช้ประโยชน์:    -เป็นไม้ประดับเป็นซุ้มหน้าบ้าน หรือปลูกเป็นรั้ว และสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    ประเทศอินเดียตอนใต้ ศรีลังกา จีน

คำสำคัญ: การเวก