ค้นหาสินค้า

อบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี วันที่ 22-24 มกราคม 2557

โครงการอบรม    
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการค้า    
   
1. หลักการและเหตุผล    
   ปัจจุบันความต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีในผลผลิต ทำให้เกษตรกรสนใจปลูกพืชตามระบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งในการผลิตพืชระบบนี้ที่สำคัญคือปุ๋ยอินทรีย์ และจากสภาพพื้นที่เพาะปลูกโดยทั่วไปของประเทศไทยมีประมาณอินทรียวัตถุต่ำ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองเพื่อปรับปรุงดิน อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนและใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้ง    
ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แบบพึ่งพาตนเอง  แต่เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ไม่นิยมผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้มีผู้ประกอบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำหน่ายจำนวนมากในชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น  ปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ   ปุ๋ยชีวภาพ  ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น และมีการโฆษณาสรรพคุณต่างๆ นานา ขาดการควบคุมมาตรฐานและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในชื่อที่เรียกและสมบัติของปุ๋ย รัฐบาลจึงประกาศพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กำหนดความหมาย มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ บทลงโทษ เพื่อคุ้มครองเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ย โดยมีกรมวิชาเกษตรเป็นหน่วยงานที่ดูแลให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ และจากการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผู้ผลิตส่งตรวจโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์วิจัยดินพืชและวัสดุเกษตร ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่นำส่งตรวจยังไม่ได้มาตรฐานตามที่กรมวิชาการกำหนดเป็นจำนวนมาก และพบว่าผู้ผลิตยังขาดความเข้าใจเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพ ผู้ผลิตเข้าใจว่าปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน ผู้ผลิตบางรายต้องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แต่เติมปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหาร ส่วนผู้ผลิตปุ๋ยชีวภาพก็มีปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคการผลิต ทำให้ไม่สามารถผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร  ดังนั้นหากผู้ผลิตมีความเข้าใจในความหมาย ความแตกต่าง ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพ ที่ถูกต้อง เข้าใจการผลิต คุณสมบัติ และการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพ ย่อมทำให้ผู้ผลิตผลิตปุ๋ยได้ตามเกณฑ์กำหนดของกรมวิชาการเกษตร และจะสามารถส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและเกิดผลดีต่อการเพิ่มผลิตภาพของดิน ช่วยลดปริมาณขยะวัสดุอินทรีย์ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในการผลิตภาคเกษตรกรรม ผู้บริโภค    
ได้บริโภคผลผลิตที่มีคุณภาพ และยังเป็นการลดการนำเข้าปุ๋ยเคมี    
   ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  เห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ ประกอบกับเห็นความสำคัญประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการอบรม การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการค้า  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย การผลิต มาตรฐาน คุณสมบัติ การเก็บรักษา การใช้ และประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ตลอดจนพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า ให้แก่ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และเกษตรกร    
   
2. วัตถุประสงค์
   
   1. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจประกอบการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้าได้ทราบว่าต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามพ.ร.บ. ปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ. โรงงาน    
   2. เพื่อให้ความรู้เรื่องวัสดุอินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต คุณสมบัติ ประโยชน์ และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพแก่ผู้ประกอบการ    
   3. เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพที่ถูกต้องแก่เกษตรกรผู้ซื้อ    
   
   
3. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม    
   ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ เช่น เอกชน ร้านค้า ห้างหุ้นส่วน บริษัท กลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป    
   
4. ระยะเวลาในการฝึกอบรม    
วันที่  22 –24 มกราคม พ.ศ. 2557    
   
5. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม    
รุ่นละประมาณ  25 คน    
   
6. สถานที่อบรม    
   ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140    
   
7. วิธีการฝึกอบรม    
   การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และการเยี่ยมชมโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์    
   
8. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม    
   ค่าลงทะเบียนท่านละ 2,600 บาท หากสมัครภายในวันที่ 5 มกราคม 2557 แต่ถ้าสมัครหลังวันดังกล่าวเสียค่าลงทะเบียน 2,700 บาท ค่าใช้จ่ายนี้ รวมเอกสารประกอบการอบรม อาหารกลางวัน อาหารว่าง และบริการรถนำเยี่ยมชมโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์  โดยผู้สมัครเข้ารับการอบรมสามารถชำระเงิน โดย    
   1)  ส่งเป็นธนาณัติในนามของ นางสาวอตินุช แซ่จิว (เคาน์เตอร์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน 00034)  ที่อยู่ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตำบลกำแพงแสน  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม 73140   หรือ      
   2)  โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขากำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ชื่อบัญชี หน่วยวิเคราะห์วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร  เลขที่บัญชี 769-226887-0    
   หลังจากชำระเงินแล้ว  กรุณาแจ้งการชำระเงินทางโทรศัพท์หรือส่งสำเนาการโอนเงินทางแฟกซ์ อีเมล์หรือทางไปรษณีย์ก่อนการอบรม  พร้อมใบสมัคร ท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม    
   *กรณีที่ท่านไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้  กรุณาโทรแจ้งให้ทางเราทราบก่อน วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557  ทางเราขอหักเงินค่าธรรมเนียม 50% ของค่าลงทะเบียน  และหากแจ้งหลัง วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557 ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ ไม่คืนเงินค่าลงทะเบียน    
   
9. การสมัครเข้ารับการอบรม    
   ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่    
   นางสาวคณิตฐา ชินวงษ์เขียว  หรือ  นางสาวอตินุช แซ่จิว    
   ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง    
   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน    
   อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม 73140    
   โทรศัพท์  034-281-092, 034-351-399, 081-8243165, 089-457-4014  โทรสาร 034-351-392    
   E-mail: [email protected], [email protected]    
   ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://clgc.rdi.ku.ac.th    
   
10. รายละเอียดในการฝึกอบรม    
   การบรรยาย    
       - การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ    
           - วัสดุอินทรีย์ตั้งต้น    
           - กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมัก)    
           - การเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์    
           - การใช้ประโยชน์และข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์    
       - การผลิตปุ๋ยชีวภาพเชิงการค้า    
           - ชนิดของจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพ    
           - การเลือกวัสดุรองรับ    
           - กระบวนการผลิต    
           - การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์    
       - ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติปุ๋ย    
- ความหมายและประเภทของปุ๋ย    
- หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียน    
- คุณสมบัติปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพตามเกณฑ์กำหนดของกรมวิชาการเกษตร    
- บทลงโทษ    
       - ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติโรงงาน    
           - การดำเนินกิจการโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน    
       - การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี    
           - วัตถุดิบ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการผลิต    
           - ขั้นตอนกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีแบบปั้นเม็ด/อัดเม็ด    
           - ต้นทุนในการผลิต    
           - การคำนวณสูตรปุ๋ยอินทรีย์เคมี    
การปฏิบัติ    
       - การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ    
การเยี่ยมชม  โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบปั้นเม็ด แบบอัดเม็ดและแบบผง    
   
11. คณะผู้ดำเนินงาน    
   1.  นางสาวอตินุช      แซ่จิว        หัวหน้าโครงการ        
       2.  นายวุฒิชัย             ทองดอนแอ    ฝ่ายวิชาการ    
       3.  นายชำนาญ         คงทัพ        ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์และสถานที่    
   4.  นางสาวคณิตฐา     ชินวงษ์เขียว    ฝ่ายรับสมัครและเอกสาร    
   5.  นางชื่นสุมณ           ไกรวิจิตร        ฝ่ายรับลงทะเบียนและการเงิน        
       6.  นางน้ำอ้อย          เหลืองน้ำเพ็ชร    ฝ่ายรับลงทะเบียนและธุรการ    
   7.  นางสาวบรรจง      ทองดอนเหมือน    ฝ่ายอาหารและอาหารว่าง    
   
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
   
   ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140    
   
13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ    
   1.  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถดำเนินการผลิตปุ๋ยได้ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย และ พ.ร.บ. โรงงาน    
   2.  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และความเข้าใจเรื่องประโยชน์และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพแนะนำแก่เกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ย    
   
14. การประเมินผลการฝึกอบรม
   
   ประเมินความเหมาะสมของเนื้อหา การจัดฝึกอบรม และวิทยากร โดยใช้แบบสอบถามเมื่อสิ้นสุดการอบรม และประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีเวลาอบรมรวมไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์  จึงจะได้รับใบประกาศนียบัตร    
       
15. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ    
   เชิงปริมาณ    จำนวนผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80    
   เชิงคุณภาพ    ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ 3.51    
           จากคะแนนเต็ม 5    
   
ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    

คำสำคัญ: