ค้นหาสินค้า

ารขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รุ่นที่ 37 วันที่ 16-19 พฤษภาคม 2556

การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รุ่นที่ 37
   
   
ปัจจุบันเราทราบกันดีว่าเทคนิคทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นเราสามารถใช้ประโยชน์ในด้านการขยายพันธุ์พืชเพื่อให้ได้ปริมาณมากและรวดเร็ว รวมทั้งสามารถนำเทคนิคไปใช้ในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้พันธุ์ใหม่หรือผลิตพืชปราศจากโรค นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมและเก็บรักษาพันธุ์พืชต่างๆ ได้ในเนื้อที่จำกัดปลอดจากโรคและแมลง รวมทั้งเป็นวิชาการขั้นพื้นฐานสำหรับงานวิจัยทางด้านพันธุวิศวกรรมของพืชในอนาคต    
จากประโยชน์ดังกล่าว เราสามารถนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง สำหรับการอบรมครั้งนี้จะเน้นเฉพาะเทคนิคที่ใช้กับไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดที่น่าสนใจและมีแนวโน้มว่าสามารถผลิตได้ มีคุณภาพดี และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น กล้วยไม้ หน้าวัว เฟิร์น บอนสี วาสนา กุหลาบ เป็นต้น เนื่องจากพืชแต่ละชนิดจะมีเทคนิคการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไปบ้าง การอบรมจะเน้นเฉพาะเทคนิคในแต่ละพื้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นอกจากนี้ก็สามารถดัดแปลงเทคนิคเฉพาะนี้ไปปรับใช้กับไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชชนิดอื่นๆ ได้    
   
วัตถุประสงค์    
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ    
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปปฏิบัติได้เอง และรู้จักปรับใช้ให้เหมาะสมกับพืชที่ต้องการแต่ละชนิด    
3. เพื่อใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาการขั้นสูงทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมด้านพืชต่อไป    
   
ระยะเวลาในการอบรม    
วันที่ 16-19 พฤษภาคม 2556 (4 วัน)    
   
ค่าลงทะเบียน    
3,500 บาท (รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง แต่ไม่รวมค่าที่พัก)    
   
ติดต่อสอบถาม
   
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง  สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กำแพงแสน จ.นครปฐม โทร. 034-281092 ต่อ 485/440  มือถือ 083-3155018  โทรสาร 034-351392  E-mail: [email protected]    
   
สถานที่ฝึกอบรม
   
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช    
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ม.เกษตรศาสตร์ กําแพงแสน จ.นครปฐม    
   
วิธีการฝึกอบรม    
การบรรยายและการฝึกปฏิบัติ (ท่านสามารถนําพืชที่สนใจมาฝึกหัดฟอกฆ่าเชื้อได้)    
   
ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ: